Total Pageviews

Sponsored Ads

Friday 26 July 2019

Causative forms หรือ Causative verbs คืออะไร..?


Causative forms คือ รูปแบบของคำกริยาในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ที่นำมาใช้ในประโยค เพื่อแสดงให้เห็นว่า ประธานไม่ได้กระทำสิ่งนั้นด้วยตนเอง แต่ให้คนอื่นกระทำสิ่งนั้นให้

กริยาในกลุ่ม Causative verbs ที่เราเห็นหรือใช้กันบ่อยๆ มี..


กริยาในกลุ่ม Causative verbs นี้ (have, make, get, let) เป็นคำกริยาที่ก่อให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้น ซึ่ง causative ก็มาจาก cause “ ก่อให้เกิด “ นั่นเอง

ทีนี้.. เรามาดูโครงสร้างของ Causative verbs แต่ละตัวกันว่า มีอย่างไรบ้าง..?

Have โครงสร้างที่ 1  “ have someone do something “   ให้ใครทำอะไรให้ ตัวอย่างเช่น 

  • Tim will have his lawyer look into it. (ทิมจะให้ทนายของเขาดูให้)
  • I’ll have John check my car. (ฉันจะให้จอนตรวจเช็ครถให้)
  • She had her assistant type the report. (เธอให้ผู้ช่วยของเธอพิมพ์ให้)

โครงสร้างที่ 2  “ have something doneเอาอะไรไปให้ใครทำให้ เช่น
  • Bill will have his car repaired.  (บิลจะให้ช่างซ่อมรถให้)
  • Bob had his teeth whitened. (บ๊อบทำให้ฟันของเขาขาวขึ้น)
หมายเหตุ  โครงสร้างนี้คล้ายๆกับ Passive voice คือมีแต่สิ่งที่ถูกกระทำ (something) โดยที่เราต้องการเน้นแต่เพียงว่า เราเอาอะไรไปให้ใครทำ โดยไม่บอกว่าใครเป็นผู้กระทำ โดยเน้นแต่ว่าสิ่งนั้นทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว 

แต่ถ้าต้องการบอกว่าใครเป็นคนกระทำ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นโครงสร้างที่ 1 ได้ เช่น
  • Bill will have the mechanic repair his car.
  • Bob had the dentist whiten his teeth.

Make โครงสร้าง make someone do somethingบังคับหรือต้องการให้ใครทำอะไรให้ นั่นก็คือ ให้ใครทำอะไรให้โดยที่เขาไม่เต็มใจเช่น

  • The teacher makes all the students rewrite their papers. (คุณครูต้องการให้นักเรียนทุกคนเขียนรายงานใหม่)
  • My mom made me study Japanese last month. (แม่บังคับให้ผมเรียนภาษาญี่ปุ่นเดือนที่แล้ว)
  • No one will make me change my mind. (ไม่มีใครทำให้ผมเปลี่ยนใจ)
ข้อสังเกต  เราสามารถใช้  force/require ในความหมายเดียวกัน  แต่เป็นทางการมากกว่า force/require someone to do something  ที่ต่างกัน คือ หลัง force/require ต้องตามด้วย to+v1  เช่น
  • The school requires the students to wear uniforms. (โรงเรียนกำหนดให้นักเรียนสวมเครื่องแบบนักเรียน)
  • The hijacker forced the pilots to take the plane to another destination. (สลัดอากาศบังคับให้นักบินนำเครื่องบินไปยังจุดหมายปลายทางอื่น)

Get โครงสร้าง get someone to do something ให้ใครทำอะไรให้  เช่น

  • I’ll get Somsir to teach international students Thai. (ผมจะให้สมศรีสอนภาษาไทยนักเรียนต่างชาติ)
  • I will get Prim to pick me up at the airport. (ผมจะให้พริมไปรับที่สนามบิน)
  • My brother got me to try sushi at a Japanese restaurant. (น้องชายของฉันให้ฉันลองทานซูชิที่ร้านอาหารญี่ปุ่น)
ข้อสังเกต  get ใช้เหมือนกันกับ  have  โดย get ใช้ในภาษาพูด ส่วน have ใช้ได้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน แต่ที่ต่างกันคือ หลัง get ต้องตามด้วย to+v1 


Let โครงสร้าง let someone do something “  ปล่อยหรือยอมให้ใครทำอะไรให้ เช่น

  • I don’t let my kids watch violent movies. (ฉันจะไม่ปล่อยให้ลูกๆของฉันดูหนังที่มีความรุนแรง)
  • My father lets me adopt a puppy. (พ่อของฉันยอมให้ฉันรับลูกสุนัขมาเลี้ยง)
  • Jane’ll let me borrow her car. (เจนจะยอมให้ฉันยืมรถของเธอ)
ข้อสังเกต เราสามารถใช้ allow/permit ในความหมายเดียวกัน แต่เป็นทางการมากกว่า allow/permit someone to do somethingที่ต่างกันคือ หลัง allow/permit ต้องตามด้วย to+v1  เช่น
  • Our boss doesn’t permit us to have lunch at our desks. (เจ้านายของเราไม่อนุญาตให้เราทานอาหารเที่ยงที่โต๊ะทำงาน)
  • Will you allow me to use your computer? (คุณจะอนุญาตให้ผมใช้คอมพิวเตอร์ของคุณหรือไม่)

เพิ่มเติม Help โครงสร้าง help someone do somethingหรือ help someone to do something เราช่วยใครทำอะไร หรือใครช่วยทำอะไรให้เรา  คือ กลายเป็นเราคนทำอะไรให้คนอื่นด้วย เช่น

  • I will help my mom cook dinner. (ฉันจะช่วยแม่ทำอาหารเย็น)
  • I’ll help my mom to cook dinner.
  • Sri helps her mother do housework. (ศรีช่วยแม่ของเธอทำงานบ้าน)
  • Sri helps her mother to do housework.
  • Tim helped me carry the boxes.  (ทิมช่วยฉันถือกล่อง)
  • Tim helped me to carry the boxes.
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า โครงสร้างใน Causative verbs นี้ จะมีกริยา 2 ตัว โดยตัวแรกเป็น Causative (have, make, get, let) และกริยาตัวที่ 2 เป็นตัวบ่งบอกว่าทำอะไร

โดยกริยาตัวแรกที่เป็น Causative นี้ จะผันตามประธาน (Subject) และ Tenses ส่วนกริยาตัวที่ 2 จะอยู่ในรูป v1 (infinitive) หรือ v3 (Past participle)

ดังนั้น เราต้องพยายามจดจำโครงสร้างของ Causative verbs แต่ละตัวให้ได้ โดยการจำเป็นประโยค 
  • have someone do something
  • have something done
  • make someone do something
  • let someone do something
  • get someone to do something
  • help someone do something
  • help someone to do something
เพื่อที่เราจะได้นำไปใช้ได้อย่างไม่สับสน และสามารถเข้าใจ Causative forms ได้อย่างชัดเจน...





Thursday 25 July 2019

Verb to have มีหลักการใช้อย่างไร..?


Verb to have คือ กริยากลุ่มหนึ่งที่เป็นได้ทั้งกริยาหลัก (Main verbs) และกริยาช่วย (Prime auxiliary verbs) 


โดยมีหลักการใช้ Verb to have ดังนี้

Verb to have ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (Main Verbs) ถ้าใช้ในความหมายว่า มี จะเป็น Stative verbs แสดงความเป็นเจ้าของ จะใช้ใน Continuous Tenses (v-ing) ไม่ได้  แต่ถ้าใช้ในความหมายว่า ทาน/รับประทาน/ดื่ม ถือว่าเป็น Dynamic verbs สามารถใช้ใน Continuous Tenses (v-ing) ได้  ยกตัวอย่างเช่น
  • I have an idea. (ผมมีความคิด)
  • The baby has blue eyes. (เด็กทารกมีดวงตาสีฟ้า)
  • They have 2 kids. (พวกเขามีลูก 2 คน)
  • He had a motorcycle last year. (เขามีรถมอเตอร์ไซค์ปีที่แล้ว)
  • Chai and Joy are having dinner right now. (ชัยและจอยกำลังทานอาหารเย็นตอนนี้)
  • Nid will be having breakfast at 7 am. tomorrow. (นิดจะกำลังทานอาหารเช้าเวลา 07.00 น. พรุ่งนี้)
  • He had coffee for breakfast last month. (ผมดื่มกาแฟเป็นอาหารเช้าเมื่อเดือนที่แล้ว)

เมื่อ verb to have ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (Main verb) จะต้องนำ verb to do มาช่วยในประโยคคำถามและปฎิเสธ เช่น

  • She doesn’t have a car. (เธอไม่มีรถ)
  • I don’t have time to do it. (ผมไม่มีเวลาทำมันเลย)
  • Where do you have lunch? (คุณทานอาหารเที่ยงที่ไหน)
  • Does he have a clue? (เขามีเบาะแสมั้ย)
  • Did Jai have a terrible dream last night? (ใจฝันร้ายเมื่อคืนที่แล้วใช่มั้ย)

หมายเหตุ  Verb to have (Main verb) ในประโยคคำถาม/ปฎิเสธนี้ จะต้องไม่ผันตามประธาน (Subject) หรือ Tenses คือจะต้องอยู่ในรูป infinitive คือ have เสมอ เพราะในรูปคำถาม/ปฏิเสธนี้ เราผัน do/does/did ตามประธาน Subject หรือ Tenses แล้ว

verb to have ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย โดยมีหลักการใช้ ดังนี้ คือ 

1. ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้าง Perfect Tense  เช่น

  • Pim has lived here all her life. (พิมอาศัยอยู่ที่นี่มาตลอดชีวิตของเธอ)
  • We haven’t forgotten our Korean friends. (พวกเรายังไม่ลืมเพื่อนชาวเกาหลีของพวกเรา)
  • Have they tried to help you? (พวกเขาพยายามช่วยคุณหรือเปล่า)
  • Where has she gone? (เธอไปไหน)
  • Had Jack met her before the party. (แจคได้พบเธอก่อนงานปาร์ตี้มั้ย)
  • If he had not been lazy, he would have passed the exam. (ถ้าเขาไม่ขี้เกียจ เขาจะสอบผ่าน)

หมายเหตุ  have/has/had ตามโครงสร้าง Perfect Tenses นี้ จะทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยในประโยค ซึ่งไม่ต้องแปลความหมาย และผันไปตามประธาน Subject และ Tenses และจะต้องตามด้วย V3 (Past Participle) หรือกริยาเติม ed ซึ่งทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (Main verb) ของประโยค

2. ใช้ has/have/had to ในความหมายว่า ต้อง เช่น
  • Children have to go to school. (เด็กๆต้องไปโรงเรียน)
  • She doesn’t have to see the doctor. (เธอไม่ต้องไปหาหมอ)
  • John has to wear a tie at work. (จอนต้องผูกเนคไทที่ทำงาน)
  •  I had to work yesterday. (ผมต้องทำงานเมื่อวาน)

ข้อสังเกต Have/has/had to ในความหมายว่า ต้อง นี้มีความหมายคล้ายกันกับ must “ ต้อง ที่เป็น Modal auxiliary verb ซึ่งกริยาที่จะตามหลัง to นั้น จะต้องเป็น v1 (infinitive) ที่ไม่ผันตามประธาน (Subject) หรือ Tenses

นอกจากนี้ verb to have ยังใช้ในประโยค Causative forms ที่แสดงถึงการกระทำที่ผู้พูดไม่ได้เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง ซึ่งมีอยู 2 กรณี คือ

1. ให้ใครทำบางอย่างให้กับผู้พูด have someone do something โดยมีโครงสร้างดังนี้  Subject+have/has/had+someone+v1+something   เช่น
  • The teacher has the students write a test. (ครูให้นักเรียนเขียนข้อสอบ)
  • He’ll have his assistant call you with the details. (เขาจะให้ผู้ช่วยของเขาโทรหาคุณพร้อมรายละเอียด)
  • Did she have the electrician repair the TV. (เธอให้ช่างซ่อมทีวีแล้วยัง)
  • I had my son clean the house yesterday. (ฉันให้ลูกชายทำความสะอาดบ้านเมื่อวาน)

2. ให้ใครทำบางอย่างให้ โดยไม่พูดถึงผู้กระทำ  have something done โดยมีโครงสร้างดังนี้  Subject+have/has/had+something+v3 เช่น

  • The students have their essays checked. (บทความของนักเรียนได้รับการตรวจ-มีคนตรวจให้)
  • I had my house cleaned.  (บ้านของฉันสะอาด-มีคนทำให้)
  • John will have his house painted. (จอนจะทาสีบ้าน-มีคนจะทาให้)
  • I’ll have my hair cut tomorrow. (ฉันจะตัดผมพรุ่งนี้-มีคนจะตัดให้)

เรายังใช้ Have ในสำนวนบางสำนวน เช่น Have a nice day, Have fun, Have a good time, Have a safe trip เป็นต้น






Wednesday 24 July 2019

Verb to do มีหลักการใช้อย่างไรบ้าง..?

Verb to do คือ กริยากลุ่มหนึ่งที่เป็นได้ทั้งกริยาหลัก (Main verbs) และกริยาช่วย (Prime auxiliary verbs) 


โดยมีหลักการใช้ Verb to do ดังนี้

Verb to do ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (Main Verbs) แปลว่า ทำ “  เช่น
  • Volunteers do a lot of work around the town. (อาสาสมัครทำงานมากมายรอบเมือง)
  • No one does housework for me. (ไม่มีใครทำงานบ้านให้ฉัน)
  • Yesterday they did nothing all day. (เมื่อวานพวกเขาไม่ทำอะไรเลยทั้งวัน)
  • Tom is doing his homework right now. (ทอมกำลังทำการบ้านของเขาอยู่ตอนนี้)
  • Paul will do a good job.  (พอลจะทำงานได้ดี)
  • He has done his work diligently. (เขาทำงานอย่างขยันขันแข็งมาตลอด)

บางครั้งเราสามารถใช้ verb to do แทนที่คำกริยาอื่นที่มีความหมายชัดเจน เช่น

  • She does her laundry on Saturdays. (เธอซักรีดเสื้อผ้าของเธอทุกวันเสาร์) does แทนที่ wash และ iron (ซักรีดผ้า)
  • He does the dishes every night after dinner. (เขาล้างจานทุกคืนหลังอาหารเย็น) does แทนที่ wash (ล้าง)
  • We do the taxes on time. (เราจ่ายภาษีตรงเวลา) do แทนที่ pay (จ่าย)

verb to do ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย  (Prime auxiliary verb) โดยใช้ร่วมกับกริยาหลัก (Main verb) เพื่อสร้างประโยคคำถาม หรือปฎิเสธ  

1. โครงสร้างประโยคคำถาม
                
          Do/Does/Did+subject+V1       เช่น

  • Does Jane speak Spanish? (เจนพูดภาษาสเปนมั้ย)
  • Do we have time for breakfast? (เรามีเวลาทานอาหารเช้ามั้ย)
  • Where does she live? (เธออาศัยอยู่ที่ไหน)
  • How do you spell your name? (คุณสะกดชื่อคุณอย่างไร)
  • Did they watch the news last night? (พวกเขาดูข่าวเมื่อคืนหรือเปล่า)
  • Did Jack visit his parents last week? (แจคไปเยี่ยมพ่อแม่สัปดาห์ที่แล้วหรือเปล่า)
  • What did she does yesterday. (เธอทำอะไรเมื่อวานนี้)

2. โครงสร้างประโยคปฎิเสธ

          Subject+do/does/did+not+V1     เช่น 

  • I don’t know how to do it. (ผมไม่รู้ว่าทำอย่างไร)
  • Jim doesn’t like Jack. (จิมไม่ชอบแจค)
  • The bus didn’t arrive late last night. (รถเมล์ไม่ได้มาถึงช้าเมื่อคืนนี้)

บางครั้งเราสามารถใช้ verb to do เพื่อเน้นย้ำความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น
  • John does have a lot of friends. (จอนมีเพื่อนมากมาย)
  • I do want a new car. (ฉันต้องการรถใหม่)
  • He did lock a car. (เขาล๊อครถ)

หมายเหตุ  Verb1 (Main verb) นี้ จะไม่ผันตามประธาน (Subject) หรือ Tenses ซึ่งจะต้องอยู่ในรูป V1 (infinitive) เสมอ เพราะในรูปคำถาม/ปฏิเสธ หรือเพื่อเน้นย้ำความสำคัญนี้ เราผัน do/does/did ตามประธาน Subject หรือ Tenses แล้ว




Tuesday 23 July 2019

Verb to be คืออะไร..? และมีหลักการใช้อย่างไร..?



Verb to be คือ กริยากลุ่มหนึ่งที่เป็นได้ทั้งกริยาหลัก (Main verbs) และกริยาช่วย (Prime auxiliary verbs) 


โดยมีหลักการใช้ Verb to be ดังนี้ 

Verb to be ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (Main Verbs) ใช้แสดงสถานะ เป็น อยู่ คือ จะทำหน้าที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำที่เป็นประธานเข้ากับคำหรือกลุ่มคำที่อยู่หลัง verb to be เช่น
  • Sarah is an English teacher. (ซาร่าเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ)
  • They were at school last night. (พวกเขาอยู่ที่โรงเรียนเมื่อคืน)
  • He must be very handsome. (เขาต้องหล่อมากๆ)
  • Are you Sam? (ใช่คุณแซมหรือเปล่า)
  • Jane will be a doctor. (เจนจะเป็นหมอ)
  • We are not soldiers. (พวกเราไม่ใช่ทหาร)
ข้อสังเกต Verb to be มักจะตามด้วยคำเหล่านี้ คือ
  • Verb to be (เป็น/คือ) ตามหลังด้วยคำนาม (Noun)
  • Verb to be (เป็น/คือ/ไม่แปล) ตามหลังด้วยคำคุณศัพท์ (Adjective)
  • Verb to be (อยู่) ตามหลังด้วยคำบุพบท (Preposition)
หมายเหตุ verb to be ที่ทำหน้าที่เป็นกริยาหลักนี้ (Main verb) จะต้องผันตามประธาน (Subject) และ Tenses

Verb to be ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย (Prime auxiliary verbs) คือ ช่วยกริยาแท้ให้เป็นไปตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยมีหลักการใช้ ดังนี้
1. ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้าง Continuous Tenses เพื่อแสดงให้เห็นว่า กำลังทำเช่น 
  • They are singing at church at this time. (พวกเขากำลังร้องเพลงที่โบสถ์ในเวลานี้)
  • Is the baby sleeping in his crib? (ทารกกำลังนอนหลับอยู่ในเปลของเขาหรือเปล่า)
  • We were visiting the museum at 1 pm. yesterday.  (พวกเรากำลังเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เวลา 13.00 น. เมื่อวาน)
  • You’re not reading newspaper right now. (คุณไม่ได้กำลังอ่านหนังสือพิมพ์ในตอนนี้)
  • I’ll be leaving for the airport in 10 minutes. (ผมจะกำลังออกเดินทางไปสนามบินภายใน 10 นาที) 
จะเห็นได้ว่า verb to be กริยาแท้ (Finite verb) ในรูปกริยาช่วย ได้ผันเปลี่ยนไปตามประธาน (Subject) และกาลเวลา (Tenses) 

ส่วนกริยาเติม ing ซึ่งเป็นกริยาไม่แท้ (Non-finite verb) ในรูปกริยาแท้เติม ing ซึ่งเราเรียกว่า Present Participle จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม Tenses หรือประธาน (Subject) จะคงอยู่ในรูปเดิม

2. ใช้ในโครงสร้างประโยค Passive voice  ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ  มีโครงสร้างหลัก ดังนี้   Verb to be+V3  เช่น
  • Is English class taught by Jane today?
  • The street is being repaired now.
  • A big prize wasn’t won by Siri.
  • A script will be made by him.
  • At 7 pm. tonight, the dinner will be being cooked by my mother.
โดย verb to be ตามโครงสร้างนี้ จะผันเปลี่ยนไปตามประธาน (Subject) และ Tenses  และจะต้องตามด้วย V3 (Past Participle) หรือกริยาเติม ed