Total Pageviews

Sponsored Ads

Friday 25 January 2019

Direct object กรรมตรง Indirect object กรรมรอง คืออะไร


สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว Functions of Nouns หน้าที่ของคำนาม  ในส่วนที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (Object of a verb) ซึ่งแบ่งออกเป็น Direct object (กรรมตรง) และ Indirect object (กรรมรอง) นั้น ทำหน้าที่อย่างไรบ้าง..?

วันนี้.. เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Direct object กรรมตรง และ Indirect object กรรมรอง นั้น คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร..?


Direct object กรรมตรง หมายถึง คน สัตว์ สิ่งของที่ถูกกระทำโดยตรง เป็นผู้รับการกระทำโดยตรงจากกริยา เช่น
  • Jim repaired his car. (his car คือกรรมตรงของกริยา repaired)
  • Mother punished her son.  (her son คือกรรมตรงของกริยา punished)
  • Paul built a sandcastle on the beach. (sandcastle คือกรรมตรงของกริยา built)

คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง Direct object จะวางอยู่หลังกริยาเสมอ และรับการกระทำโดยตรงจากกริยา และที่สำคัญ เราจะต้องรู้ว่า ใครหรือสิ่งใด ถูกทำอะไร..?


Indirect object กรรมรอง เป็นผู้ถูกกระทำทางอ้อม และมักจะได้รับผลประโยชน์จากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งจากประธาน เช่น
  • John bought his mother a new car. (a new car คือกรรมตรงของกริยา bought ส่วน his mother เป็นกรรมรอง ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากกริยา bought ของประธาน John)
  • Jim gave Jane his laptop. (his laptop คือกรรมตรงของกริยา gave ส่วน Jane เป็นกรรมรอง)
  • Ben told Jack the truth. (the truth คือกรรมตรงของกริยา told ส่วน Jack เป็นกรรมรอง)
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง Indirect object จะวางอยู่ระหว่างคำกริยากับกรรมตรง Direct object  นั่นก็คือ อยู่หลังคำกริยาอยู่หน้ากรรมตรง นั่นเอง

ข้อสังเกต  ในประโยคที่มีกรรมรอง Indirect object จะต้องมีกรรมตรง Direct object เสมอ จะมีแต่กรรมรองอย่างเดียวไม่ได้ และส่วนมากกรรมรอง Indirect object จะเป็นคน กรรมตรง Direct object จะเป็นสิ่งของเสมอ

รูปประโยคอีกแบบของ Indirect object กรรมรอง ซึ่งสามารถตามหลังคำบุพบท Preposition ได้ เช่น
  • John bought a new car for his mother. (his mother เป็นกรรมรอง Indirect object และกรรมของบุพบท for ส่วน a new car เป็นกรรมตรง Direct object)
  • Jim gave his laptop to Jane.
  • Ben told the truth to Jack.

จะเห็นได้ว่า คำนามที่ตามหลัง Preposition คำบุพบท for, to นั้น เป็นทั้งกรรมรอง Indirect object และกรรมของคำบุพบท Object of preposition ในขณะเดียวกัน

ข้อสังเกต  ถ้ากรรมตรง Direct object อยู่หลังคำกริยา จะต้องมีคำบุพบท for, to อยู่หน้ากรรมรอง Indirect object (หรือกรรมของบุพบท Object of preposition)



Tuesday 22 January 2019

หน้าที่ของคำนาม Functions of Nouns มีอะไรบ้าง..?


สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว Nouns คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ความคิด เช่น teacher, cat, pen, hospital, hate  เป็นต้น

ทีนี้.. เราก็มาเรียนรู้กันต่อว่า Nouns คำนาม นั้น มีหน้าที่อย่างไรบ้าง..?


Functions of Nouns หน้าที่ของคำนาม มีดังนี้ คือ

1. ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยค (Subject of a verb) และยังทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคอีกด้วย  ซึ่งคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานนี้ จะเป็นผู้กระทำกริยา และวางไว้หน้ากริยาเสมอ
  • Paul teaches English in Thailand. (พอลสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย)
  • Children play football. (เด็กๆเล่นฟุตบอล)
  • Jane likes Thai food. (เจนชอบอาหารไทย)

2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (Object of a verb) คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม จะวางอยู่หลังกริยาและเป็นผู้รับการกระทำจากประธาน  โดยแบ่งกรรมของกริยาออกเป็น 2 แบบ คือ
  • Direct object (กรรมตรง) ซึ่งรับการกระทำจากประธานโดยตรง
    • The teacher punished the students. (คุณครูทำโทษนักเรียน)
  • Indirect object (กรรมรอง) เป็นผู้ถูกกระทำทางอ้อม
    • John gave Joy the watch. (จอห์นมอบนาฬิกาข้อมือให้จอย)

3. ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท (Object of preposition) คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบทคำไหน ก็จะวางอยู่หลังคำบุพบทคำนั้นเสมอ

o   Kim bought the new car for Nid. (คิมซื้อรถคันใหม่ให้นิด)
o   Jane looked at John. (เจนมองจอห์น)
o   I believe in God. (ผมเชื่อในพระเจ้า)
o   Jim gave the laptop to Jai. (จิมให้แล็ปท็อปแก่ใจ)
หมายเหตุ ตามตัวอย่างที่ 1 และ 4 คำนามทำหน้าที่เป็นทั้งกรรมของบุพบทและกรรมรอง

4. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยา (Complement of a verb) เพื่อขยายประธานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น  คำนามที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยานี้ มักจะตามหลัง verb to be, become 
  • Tom is a dentist. (ทอมเป็นทันตแพทย์)
  • Jane becomes a star. (เจนกลายเป็นดารา)
  • John was the winner last year. (จอห์นเป็นผู้ชนะปีที่แล้ว)

5. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกรรม (Complement of an object) เพื่อขยายกรรมให้มีความหมายชัดเจนขึ้น คำนามที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกรรม ก็จะอยู่หลังกรรมที่มันขยาย
  • We chose Jack the leader. (เราเลือกแจคเป็นหัวหน้า)
  • My mom named her dog Thong-Phun. (แม่ของฉันตั้งชื่อสุนัขว่าทองพูน)

6. ทำหน้าที่เป็นคำนามซ้อนคำนามที่อยู่ข้างหน้า ( In apposition to another noun) เพื่ออธิบายหรือขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า โดยมีเครื่องหมาย , คั่นระหว่างนามที่อยู่ข้างหน้ากับคำนามที่ซ้อน  โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
  • ซ้อนตามหลังประธานของประโยค
    • The nurse, Janet has retired. (นางพยาบาล, เจเน็ทเกษียณแล้ว)
    • My country, Thailand is the land of smiles. (ประเทศของฉัน, ประเทศไทย ดินแดนแห่งรอยยิ้ม)
  • ซ้อนตามหลังกรรมของประโยค
    • We respect our boss, Mr. Tom. (เราเคารพนายจ้างของเรา, มิสเตอร์ทอม)
    • I want to see John, my brother. (ผมต้องการพบจอห์น, น้องชายของผม)

7. ทำหน้าที่เป็นนามเรียกขาน (An address) ในประโยค
  • Chai, please close the window. (ชัย, ช่วยปิดหน้าต่างให้หน่อย)
  • Jack, please speak slowly. (แจค, ช่วยพูดช้าๆหน่อย)
  • You’re right, Nong. (คุณถูกแล้วหล่ะ, น้อง)
นามเรียกขานจะวางไว้ตรงไหนของประโยคก็ได้ แต่ให้สังเกตการณ์ใช้เครื่องหมาย ,

8. ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของของนามทั่วไป (Possessive case) โดยใช้เครื่องหมาย Apostrophe‘s  เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ
  • Tom’s dog is so cute. (สุนัขของทอมน่ารักมาก)
  • Do you know the hotel’s name? (คุณรู้จักชื่อโรงแรมมั้ย)

เมื่อเรารู้หน้าที่ของคำนาม Function of Nouns ว่าใช้ทำหน้าที่อะไรบ้าง เราก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง



Monday 21 January 2019

อธิบาย การสร้างคำนาม Formation of Nouns อย่างย่อ เข้าใจง่าย



สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว Nouns  คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ความคิด เช่น teacher, cat, pen, hospital, hate  เป็นต้น

ทีนี้.. เราก็มาเรียนรู้กันต่อว่า Nouns คำนาม นั้น มีรูปแบบอย่างไร..?


Forms of Nouns รูปของคำนาม มีอยู่ 2 แบบ คือ

1. Nouns คำนามที่เป็นคำเดียวโดดๆ เช่น dog, hat, cup, man, boy, pen, book, table, ruler เป็นต้น

2. Nouns คำนามที่เป็นคำประสม (compound nouns) เป็นคำนามที่เกิดจากคำหลายๆคำมารวมกัน กลายเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ ซึ่งมีวิธีทำโดย
  • นำคำนาม 2 คำมาประสมกัน
  • นำคำนามหรือคำอื่นมาประสมกัน
นั่นก็คือ การสร้างคำนาม (Formation of Nouns หรือ Creating Nouns) นั่นเอง

ทีนี้.. เรามาดูกันว่า วิธีการสร้างคำนาม นั้น มีอย่างไรบ้าง..?


Formation of Nouns หรือ Creating Nouns การสร้างคำนาม  มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน  เช่น

1. การนำคำนาม 2 คำมาผสมกัน กลายเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ เช่น
  • landlady มาจาก land + lady (เจ้าของที่ดินหรือบ้านเช่าที่เป็นผู้หญิง)
  • girlfriend มาจาก girl + friend (แฟนสาว)
  • roommate มาจาก room + mate (เพื่อนร่วมห้อง)
  • postman มาจาก post + man (บุรุษไปรษณีย์)
  • tablespoon มาจาก table + spoon (ช้อนโต๊ะ)
2. การนำ Verbs คำกริยาบางคำมาเติม r หรือ er มีความหมายเป็น ผู้กระทำ เช่น
  • teach (สอน) เป็น teacher (ครู, ผู้สอน)
  • work (ทำงาน) เป็น worker (คนงาน)
  • sell (ขาย) เป็น seller (คนขาย)
  • sing (ร้องเพลง) เป็น singer (นักร้อง)
  • read (อ่าน) เป็น reader (ผู้อ่าน, คนอ่าน)
  • run (วิ่ง) เป็น runner (นักวิ่งแข่ง)
  • write (เขียน) เป็น writer (ผู้เขียน)
  • drive (ขับ) เป็น driver (คนขับรถ)
  •  rule (ปกครอง) เป็น ruler (ผู้ปกครอง)
3. การนำ verbs คำกริยาบางคำมาเติม or มีความหมายเป็น ผู้กระทำเช่น
  • visit (เยี่ยม) เป็น visitor (ผู้มาเยี่ยม)
  • collect (รวบรวม) เป็น collector (ผู้รวบรวม)
  • sail (แล่นเรือ) เป็น sailor (กลาสี)
  • govern (ปกครอง) เป็น governor (ผู้ปกครอง)
  • conquer (ชนะ) เป็น conqueror (ผู้ชนะ)
4. การนำ verbs คำกริยาบางคำมาเติม tion (ion) มีความหมายเป็น การกระทำเช่น
  • act (แสดง) เป็น action (การกระทำ)
  • collect (รวบรวม) เป็น collection (การรวบรวม, การสะสม)
  • correct (แก้ไข) เป็น correction (การแก้ไข)
  • direct (ชี้แนะ) เป็น direction (แนวทาง, ทิศทาง)
  • protect (คุ้มครอง) เป็น protection (การคุ้มครอง)
5. การนำ verbs คำกริยาบางคำมาเติม ment มีความหมายเป็น การกระทำ
  • agree (ตกลง) เป็น agreement (การตกลง, ข้อตกลง)
  • pay (จ่ายเงิน) เป็น payment (การจ่ายเงิน)
  • punish (ลงโทษ) เป็น punishment (การลงโทษ)
  • move (เคลื่อนย้าย) เป็น movement (การเคลื่อนย้าย)
  • develop (พัฒนา) เป็น development (การพัฒนา)
6. การนำ verbs คำกริยาบางคำมาเติม ing มีความหมายเป็น การกระทำ
  • eat (กิน) เป็น eating (การกิน)
  • greet (ทักทาย) เป็น greeting (การทักทาย)
  • swim (ว่ายน้ำ) เป็น swimming (การว่ายน้ำ)
  • run (วิ่ง) เป็น running (การวิ่ง)
  • walk (เดิน) เป็น walking (การเดิน)
7. การนำ adjective คำคุณศัพท์บางคำมาเติม ness 
  • cold (หนาว) เป็น coldness (ความหนาว)
  • good (ดี) เป็น goodness (ความดี)
  • clever (ฉลาด) เป็น cleverness (ความฉลาด)
  • sweet (หวาน) เป็น sweetness (ความหวาน)
  • happy (มีความสุข) เป็น happiness (ความสุข)
8. คำนามที่มาจาก adjective คำคุณศัพท์อื่นๆ
  • long (ยาว) เป็น length (ความยาว)
  • deep (ลึก) เป็น depth (ความลึก)
  • wide (กว้าง) เป็น width (ความกว้าง)
  • high (สูง) เป็น height (ความสูง)
  • hot (ร้อน) เป็น heat (ความร้อน)
หมายเหตุ   คำ ment, tion, ness ที่นำมาต่อท้ายคำต่างๆนั้น เราเรียกว่า suffixes คำเสริมท้าย หรือคำต่อท้าย



Saturday 12 January 2019

Nouns คำนาม คืออะไร มีหน้าที่อย่างไรบ้าง..?


Nouns  คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ความคิด เช่น teacher, cat, pen, hospital, hate  เป็นต้น

ทีนี้.. เราก็มาเรียนรู้กันต่อว่า Nouns คำนาม นั้น เป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง ใช้ทำหน้าที่อะไร..?



1. Nouns คำนาม ที่เป็นคำเดียวโดดๆ เช่น dog, table, hat, cup, man, girl, book เป็นต้น
2. Nouns คำนาม ที่เป็นคำประสม (compound noun) เป็นคำนามที่เกิดจากคำนามหลายๆคำมารวมกัน กลายเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ เช่น 
  • bedroom (ห้องนอน) มาจาก bed(เตียงนอน)+room(ห้อง)
  • toothbrush (แปรงสีฟัน) มาจาก tooth(ฟัน)+brush(แปรง)
  • teaspoon (ช้อนชา) มาจาก tea (ชา) + spoon (ช้อน)
  • classroom (ห้องเรียน) มาจาก class (ชั้นเรียน) + room (ห้อง)

Formation of Nouns การสร้างคำนาม  ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การเติม er, or, ion, tion, ment, ness และ ing  เช่น
  • dance เป็น dancer
  • act       “    actor
  • direct  “    direction

1. Subject ประธาน ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค ซึ่งจะเป็นผู้แสดงกริยาอาการในประโยคนั้น ๆ
2. Object กรรม ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำจากประธาน
3. Complement ส่วนเติมเต็ม เป็นคำที่ทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Types of Nouns ประเภทของคำนาม แบ่งแยกย่อยออกเป็น ดังนี้

1. Proper nouns และ Common nouns
  • Proper nouns คำนามเฉพาะ คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคนหนึ่งคนใด สิ่งของหนึ่งสิ่งของใด สถานที่หนึ่งสถานที่ใด โดยเฉพาะเจาะจง  คำนามชนิดนี้ จะขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ
  • Common nouns คำนามทั่วไป คือ คำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่โดยทั่วๆไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง   เช่น 
    • man นามทั่วไป Paul นามเฉพาะ (ชื่อผู้ชาย)
    • dog         "       Jimmy    "         (ชื่อสุนัข)
    • country  "       Thailand "      (ชื่อประเทศ)
    • day         "       Friday     "         (ชื่อวัน)
    • month    "       March     "        (ชื่อเดือน)         
2. Countable Nouns และ Uncountable nouns 
  • Countable nouns คำนามนับได้ เป็นคำนามที่มีจำนวน สามารถนับจำนวนได้เป็นชิ้น เป็นอัน เป็นสิ่ง เป็นคน และนอกจากนี้ ยังแบ่งออกเป็น
o   Concrete noun (รูปธรรม)  
§  คำนามเอกพจน์ (Singular form)
§  คำนามพหูพจน์ (Plural form)
o   Collective noun (สมุหนาม)
  • Uncountable nouns คำนามนับไม่ได้  เป็นคำนามที่ไม่สามารถนับจำนวนได้ จะปรากฏในรูปของ singular form (รูปเอกพจน์) เสมอ และยังแบ่งแยกย่อยออกเป็น
o   Concrete noun (รูปธรรม)
o   Mass noun (นามมวลสาร)
o   Material noun (วัตถุนาม)
o   Abstract noun (นามธรรม)

หมายเหตุ  Nouns คำนาม คืออะไรนั้น..?  มีเนื้อหามากมาย เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ได้อธิบายแยกย่อยในแต่ละหัวข้ออย่างละเอียด..

นอกจากนี้ ยังมีคำนามแสดงเพศ (Gender of nouns) อีกประเภทหนึ่งที่เราจะต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง..?


Wednesday 9 January 2019

Part of speech ชนิดของคำ คืออะไร..? มีหน้าที่อย่างไร..?



Part of speech ก็คือ ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ  ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ชนิด เช่น คำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ฯลฯ  เป็นไวยากรณ์หรือแกรมม่าพื้นฐาน ที่เราทุกคน เมื่อเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษ ก็ต้องเรียน Part of speech (ชนิดของคำ) กันทุกคน เพียงแต่เราไม่รู้ว่ามันคือคำใน Part of speech ชนิดของคำทั้ง 8 ชนิด

ทีนี้.. เรามาเรียนรู้กันต่อว่า คำภาษาอังกฤษทั้ง 8 ชนิดนั้น มีอะไรบ้างและมีหน้าที่อย่างไร..?


Part of Speech (ชนิดของคำ) แบ่งออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้

1. Noun คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น Jim, dog, car, river, Thailand ฯลฯ 

2. Pronoun คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม เช่น I, you, she, they, we, someone, something ฯลฯ 

3. Verb คำกริยา คือ คำที่ใช้บอกอาการหรือการกระทำ เช่น walk, swim, speak, drive, fly ฯลฯ 

4. Adjective คำคุณศัพท์ คือ คำที่ใช้ขยายคำนามหรือสรรพนาม เช่น beautiful, small, pink, fat, stupid, smart ฯลฯ 

5. Adverbs คำกริยาวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์  เช่น well, quickly, slowly, easily, quietly ฯลฯ 

6. Preposition คำบุพบท คือ คำที่ใช้เชื่อมคำต่างๆในประโยคเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น in, on, at, under, before, after, inside, outside ฯลฯ 

7. Conjunctions คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน เช่น and, but, or, because ฯลฯ 

8. Interjections คำอุทาน คือ คำที่เปล่งเสียงออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึก เช่น Arg! Oops!  Ow!  Oh!  Wow!  ฯลฯ

Part of speech  ชนิดของคำแต่ละชนิดนั้น  มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ไม่เหมือนกัน อีกทั้ง คำบางชนิด ยังแบ่งแยกย่อยออกไปอีกหลายกลุ่ม หลายประเภท และคำบางคำก็ยังทำหน้าที่มากกว่า 1 ชนิด  เราจำเป็นต้องรู้และจำให้ได้ว่า คำแต่ละคำนั้น เป็นคำชนิดใด มีหน้าที่อย่างไร  มิฉะนั้น เราก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  ซึ่งตรงนี้ ก็ได้แยกอธิบายเพิ่มเติมไว้อย่างละเอียด ในแต่ละชนิดของคำ.. 



Monday 7 January 2019

สรุป โครงสร้าง Active voice และ Passive voice ทั้ง 24 Tenses จำง่าย เข้าใจง่าย



เราได้เรียนรู้หลักการใช้และโครงสร้างประโยคของ Active voice และ Passive voice ทั้ง 24 Tenses กันมาแล้วว่า มีโครงสร้างและหลักการใช้อย่างไร..? 

วันนี้.. เราก็จะมาสรุปโครงสร้างทั้ง 24  Tenses ว่าในแต่ละ Tense มีโครงสร้างแตกต่างกันอย่างไร..? 


ตามโครงสร้าง Tenses ทั้ง 24 Tenses  ในตารางข้างบนนั้น  จะเป็นการสรุปเปรียบเทียบโครงสร้างประโยค Active voice และ Passive voice ให้เห็นในแต่ละ Tense ว่า มีโครงสร้างประโยคอย่างไร  ซึ่งตรงนี้ เราก็ต้องพยายามจำโครงสร้าง Tenses แต่ละ Tense ให้ได้  เพื่อจะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง