Total Pageviews

Sponsored Ads

Monday 8 June 2020

สรุปการใช้ Conjunctions คำสันธาน อย่างเข้าใจง่ายสุด


สืบเนื่องมาจากบทความที่แล้ว  Conjunctions  คำสันธาน ทำหน้าที่เชื่อมประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคเข้าด้วยกัน  เพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และมีอยู่ด้วยกัน ประเภท

บทความนี้.. จึงได้สรุป Conjunctions ทั้ง 3 ประเภท ว่าใช้ต่างกันอย่างไร..?  จะได้จดจำได้ง่ายๆขึ้น

สามารถอ่านเพิ่มเติม Conjunctions คำสันธานแต่ละประเภท ได้ที่นี่..





Sunday 7 June 2020

Adverb ที่มาจาก Adjective มีหลักการเปลี่ยนอย่างไร..?

Adverb คำกริยาวิเศษณ์ ก็คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) คำคุณศัพท์ (Adjective) หรือขยายคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเอง เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ซึ่งคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ส่วนใหญ่นั้น มาจากคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยการนำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) มาเติม ly

ทีนี้.. เรามาดูหลักการเปลี่ยน (Adjective) คำคุณศัพท์ เป็น (Adverb) คำกริยาวิเศษณ์ว่า มีหลักการอย่างไรบ้าง..?

1. คำคุณศัพท์ (Adjective) โดยทั่วไป เติม ly  เช่น

  • quiet-quietly (อย่างเงียบ)
  • quick-quickly (อย่างเร็ว)
  • beautiful-beautifully (อย่างสวยงาม)
  • great-greatly (อย่างยิ่งใหญ่)
  • fabulous-fabulously (อย่างที่สุด)

รวมทั้งคำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ลงท้ายด้วย e ก็ให้เติม ly ได้เลย

  • immediate-immediately (อย่างทันที)
  • complete-completely (อย่างเสร็จสิ้น)
  • brave-bravely (อย่างกล้า)
  • wise-wisely (อย่างฉลาด)
  • polite-politely (อย่างสุภาพ)

ยกเว้น Adjective ที่ลงท้ายด้วย ue ให้ตัด e แล้วเติม ly เช่น

  • true-truly (อย่างแท้จริง)
  • due-duly (อย่างหมาะสม)
  • undue-unduly (อย่างมากเกินไป)

ยกเว้น      

  • vague-vaguely (อย่างคลุมเครือ)
  • oblique-obliquely (อย่างอ้อมๆ) ให้เติม ly ได้เลย

2. คำคุณศัทพ์ (Adjective) ที่ลงท้ายด้วย y แล้วหน้า y เป็นพยัญชนะให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม ly เช่น

  • angry-angrily (อย่างโกรธ)
  • happy-happily (อย่างมีความสุข)
  • ready-readily (อย่างเต็มใจ)
  • noisy-noisily (อย่างเสียงดัง)
  • easy-easily (อย่างง่ายดาย)

แต่ถ้าหน้า y เป็นสระ ให้เติม ly ได้เลย เช่น

  • shy-shyly (อย่างอาย)
  • sly-slyly (อย่างมีเลศนัย)
  • coy-coyly (อย่างขี้อาย)
  • ยกเว้น gay-gayly หรือ gaily (อย่างร่าเริง)

3. คำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ลงท้ายด้วย ic ให้เติม ally เช่น

  • economic-economically (ทางเศรษฐกิจ)
  • automatic-automatically (อัตโนมัติ)
  • magic-magically (อย่างมีเวทมนตร์)
  • energetic-energetically (อย่างมีพลัง)
  • majestic-majestically (อย่างสง่าผ่าเผย)

4. คำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ลงท้ายด้วย le แล้วหน้า le เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน e เป็น y เช่น

  • simple-simply (อย่างง่าย)
  • possible-possibly (เป็นไปได้)
  • terrible-terribly (อย่างเลวร้าย)
  • responsible-responsibly (อย่างรับผิดชอบ)
  • gentle-gently (อย่างอ่อนโยน)

แต่ถ้าหน้า le เป็นสระ ให้เติม ly ได้เลย เช่น

  • sole-solely (โดยลำพัง)
  • vile-vilely  (อย่างเลวทราม)
  • agile-agilely (อย่างว่องไว)
  • ยกเว้น whole-wholly (ทั้งหมด)

หมายเหตุ คำคุณศัพท์เมื่อเติม ly เป็นคำกริยาวิเศษณ์แล้ว มีความหมายไม่แตกต่าง เพียงแต่แปลเพิ่มเป็น " อย่าง "  แต่บางคำก็มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น

  • hard (ยากลำบาก) – hardly (ไม่ค่อยมี)
  • high (สูง) – highly (อย่างมาก)
  • late (สาย) – lately (เมื่อเร็วๆนี้)
  • near (ใกล้) – nearly (เกือบจะ)
  • wide (กว้าง) – widely (โดยทั่วไป) 

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เป็นหลักการเปลี่ยนคำคุณศัพท์ (Adjective) ให้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) และยังช่วยให้เรานำมาใช้สังเกตว่า คำไหนเป็นคำคุณศัพท์ คำไหนเป็นกริยาวิเศษณ์ ทำให้เราสามารถนำคำศัพท์มาใช้ได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์









Saturday 6 June 2020

Adverb คือ..? คำกริยาวิเศษณ์ มีอะไรบ้าง..?


Adverb คำกริยาวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) คำคุณศัพท์ (Adjective) หรือขยายคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเอง เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ทีนี้.. เรามารู้จักคำกริยาวิเศษณ์กันต่อว่า Adverb นั้น มีคำลักษณะไหนบ้าง..?

1. คำกริยาวิเศษณ์ Adverb ที่มีลักษณะเป็นกริยาวิเศษณ์โดยตรง เช่น fast, well, hard, now, soon, still, very, too, quite, often, never, always, ever, here, there, abroad, far, ago, tomorrow, yesterday ฯลฯ ตัวอย่างประโยคเช่น

  • Jim speaks Thai well. (จิมพูดภาษาไทยได้ดี)
  • She never walk to school. (เธอไม่เคยเดินไปโรงเรียน)
  • He'll go to Paris tomorrow. (เขาจะไปปารีสพรุ่งนี้)
  • Leave your bag here. (วางกระเป๋าคุณไว้ที่นี่)

2. คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มาจากคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยการเติม ly เช่น  

  • bad-badly (อย่างเลว)
  • careful-carefully (อย่างระวัง)
  • slow-slowly (อย่างช้า)
  • excited-excitedly (อย่างตื่นเต้น)
  • horrible-horribly (อย่างน่ากลัว)
  • sole-solely (แต่ผู้เดียว)
  • hungry-hungrily (อย่างหิว)
  • shy-shyly (อย่างเอียงอาย)
  • dramatic-dramatically (อย่างละคร)

3. Adverb คำกริยาวิเศษณ์บางคำอาจมาจากคำนาม Noun เช่น 

  • week-weekly (รายสัปดาห์)
  • quarter-quarterly (ทุก 3 เดือน)
  • day-daily (รายวัน)
  • wriggle-wriggly (อย่างคดเคี้ยว)

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็จะเป็นลักษณะคำกริยาวิเศษณ์โดยตรง โดยตัวของคำศัพท์เองที่เป็น Adverb รวมทั้งการสร้างคำกริยาวิเศษณ์ (Formation of Adverb) ที่มาจากคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือคำนาม (Noun) ทำให้เรารู้ที่มาของคำกริยาวิเศษณ์ ว่ามีที่มาจากไหนบ้าง 

ทีนี้..เมื่อรู้ที่มาและการสร้างคำ Formation of Adverb แล้ว ก็มาดูกันต่อว่า หน้าที่ของคำกริยาวิเศษณ์ (Function of Adverb) มีอะไรบ้าง..? แล้ว ชนิดของคำกริยาวิเศษณ์ (Type of Adverb) นั้น มีกี่ชนิด กี่ประเภท..? อีกทั้งการวางกริยาวิเศษณ์ในประโยค (Positions of Adverbs) จะวางตำแหน่งใดได้บ้าง..? และถ้ามีกริยาวิเศษณ์หลายประเภท ในประโยคเดียวกัน จะเรียงลำดับการวาง Adverbs อย่างไร..?







Friday 5 June 2020

Interjections คือ..? คำอุทาน มีอะไรบ้าง..?

Interjections  คำอุทาน คือ คำ (Words) กลุ่มคำหรือวลี (Phrases) หรือประโยค (Sentences) ที่ใช้แสดงถึงอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น ประหลาดใจ ดีใจ เสียใจ ตื่นเต้น ตกใจ โกรธ เจ็บหรือไม่ชอบ และมักจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ! (Exclamation mark) หลังคำนั้นๆ 

Interjections คำอุทาน ที่เป็นคำเดียวโดดๆ  เช่น

  • Wow! That jump was terrific!  (ว้าว!  การกระโดดนั่นยอดเยี่ยมมาก)
  • Whoa! This city view is amazing! (โว! วิวเมืองนี้ช่างน่าทึ่ง)
  • Alas! I failed the driving license exam!  (อะลาส! โถ! ผมสอบใบขับขี่ไม่ผ่าน)
  • Oh! I forgot to bring my wallet!  (โอ! ฉันลืมเอากระเป๋าเงินมา)
  • Hurrah! I won the lottery!  (ฮะรา! ฮูรา! ผมถูกล๊อตเตอรี่)
  • Bravo! I got a job! (บราโว! ไชโย! ผมได้งานทำ)
  • Ahh! That feels wonderful!  (อ่า! มันรู้สึกเยี่ยมมาก)
  • Eww! This soup tastes so bad!  (อี๊! ซุปนี้รสชาติแย่มาก)
  • Huh! I don’t care!  (เฮอะ! ผมไม่สน)
  • Ouch! It hurts! (เอาช! โอ๊ย! มันเจ็บ)
  • Whew! That was very close! (วิว! นั่นเฉียดฉิวมาก)
  • Ugh! I’m never eating that again! (อี๊! ฉันจะไม่กินมันอีกเลย)
  • Well! What did you say? (เออ! คุณพูดว่าอะไรนะ)

Interjections คำอุทาน ที่เป็นกลุ่มคำหรือวลี (Phrase) เช่น

  • Oh dear! I’m short of money. (ตายจริง! ผมไม่มีเงิน)
  • Well done! Your design is beautiful. (ดีมาก! การออกแบบของคุณสวยงาม)
  • Holy cow! I forgot my glasses! (ให้ตายเถอะ! ฉันลืมแว่นตา)
  • Holy shit! Did he just say that? (ให้ตายซิ! เขาเพิ่งพูดอย่างนั้นหรือ)
  • Holy crap! How old this car is! (แม่เจ้าโว้ย! รถคันนี้กี่ปีนี่)

Interjection คำอุทาน ที่เป็นประโยค (Sentences) มักขึ้นต้นประโยคด้วย What หรือ How เช่น 

What+a (an)+noun!

  • What a pity!  (ช่างน่าสงสารอะไรเช่นนี้)
  • What a shame!  (ช่างน่าอายอะไรอย่างนี้)
  • What a bummer!  (ช่างน่าเศร้าอะไรเช่นนี้)
  • What a let-down!  (ช่างน่าผิดหวังจัง)
  • What a mess!  (ช่างสกปรกอะไรเช่นนี้)
  • What a nuisance!  (ช่างน่ารำคาญจิงๆ)

What+a (an)+adj.+noun!

  • What a pretty girl!  (เธอช่างสวยน่ารักอะไรเช่นนี้)
  • What a kind man!  (เขาช่างเป็นผู้ชายที่ใจดีอะไรเช่นนี้)
  • What a beautiful day! (ช่างเป็นวันที่สดใสอะไรเช่นนี้)

What+a (an)+adj.+noun+subject+verb!

  • What an interesting man he is! (เขาช่างเป็นผู้ชายที่น่าสนใจอะไรเช่นนี้)
  • What a lovely voice she has! (เธอช่างมีเสียงที่ไพเราะอะไรเช่นนี้)

What+adj.+noun+subject+verb!

  • What stupid things you did!  (คุณช่างทำอะไรโง่ๆเช่นนี้)
  • What naughty kids they are!  (พวกเขาช่างเป็นเด็กที่ซนอะไรเช่นนี้)

What+adj.+noun

  • What bad luck!  (ช่างโชคร้ายอะไรเช่นนี้)
  • What pleasant weather! (อากาศช่างแจ่มใสอะไรเช่นนี้)

How+adj.

  • How disappointing! (ช่างน่าผิดหวังจริงๆ)
  • How wonderful! (ช่างยอดเยี่ยมมากๆ)
  • How terrible! (ช่างน่ากลัวจริงๆ)

How+adj.+subject+verb

  • How cold he is! (เขาช่างเย็นชาอะไรเช่นนี้)
  • How weak she is!  (เธอช่างอ่อนแออะไรเช่นนี้)
  • How heavy it snows! (หิมะช่างตกหนักอะไรเช่นนี้)
  • How spooky this house is! (บ้านหลังนี้ช่างน่ากลัวจริงๆ)
  • How fast my age goes! (อายุฉันช่างไปเร็วจริงๆ)

How+adj.+verb+subject

  • How crazy am I! (ผมช่างบ้าอะไรเช่นนี้)
  • How clumsy is she!  (เธอช่างซุ่มซ่ามอะไรเช่นนี้)

นี่คือ ตัวอย่างคำอุทาน Interjections ว่าใช้กันอย่างไร..?  และเรายังสามารถนำโครงสร้างแต่ละโครงสร้างไปประยุกต์ใช้ โดยปรับเปลี่ยนคำศัพท์ให้ได้หลากหลายความหมายยิ่งขึ้น  อีกทั้งคำอุทาน (Interjections) นี้ ก็เป็นคำชนิดหนึ่งในชนิดของคำ (Parts of speech) และเป็นชนิดของคำที่สามารถนำมาใช้ได้ง่ายที่สุด