Total Pageviews

Sponsored Ads

Sunday 30 September 2018

คำกริยาที่เป็นได้ทั้ง stative verbs และ dynamic verbs





สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว  เราทราบกันแล้วว่า stative verbs และ dynamic verbs นั้น คืออะไร และต่างกันอย่างไร..?  

Dynamic verbs หรือ Action verbs  ก็คือคำกริยาที่แสดงอาการกระทำออกมา มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย  ซึ่งคำกริยาในกลุ่มนี้มีเยอะแยะมากมาย  สามารถนำไปใช้ในรูปของ Simple, Continuous และ Perfect ได้ โดยผันคำกริยาไปตามรูปแบบโครงสร้าง Tenses ของประโยค 

ส่วน Stative verbs หรือ State verbs นั้น เป็นคำกริยาที่ไม่ได้แสดงอาการกระทำออกมา  แต่แสดงสภาวะต่างๆ  เช่น การรับรู้ การแสดงความคิดเห็น ความเชื่อ การแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ รวมไปถึงการวัด การประมาณค่า การแสดงความเป็นเจ้าของ  ซึ่งคำกริยาในกลุ่มนี้จะใช้กับ Simple Tense  จะไม่นำมาใช้ในรูปเติม –ing ใน Continuous Tense  ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นกำลังกระทำหรือดำเนินอยู่ก็ตาม

ทีนี้ เรามาเรียนรู้กันต่อว่า มีคำกริยาบางคำที่เป็นได้ทั้ง stative verbs (กริยาแสดงสภาวะ) และ dynamic verbs (กริยาแสดงอาการ) คำกริยาในกลุ่มนี้ เราสามารถใช้ได้ทั้ง Simple Tense และ Continuous Tense  แต่จะมีความหมายที่แตกต่างกัน  เช่น

  •  I think it’s wrong to hit children. (ฉันคิดว่ามันไม่ถูกต้องที่ตีเด็กๆ) think ในประโยคนี้เป็น stative verb คือเป็นความเชื่อ ความคิดเห็น
  • I’m thinking about my new house. (ผมกำลังคิดถึงบ้านใหม่ของผม) think ในประโยคนี้เป็น action verb คือใช้สมองในการคิดพิจารณา

  • I see what your point is. (ฉันเข้าใจจุดมุ่งหมายของคุณว่าคืออะไร)  see ในประโยคนี้เป็น stative verb คือเป็นความรู้สึกในการรับรู้ 
  • I am seeing someone. (ผมกำลังคบหากับใครบางคน) see ในประโยคนี้เป็น active verb คือเป็นอาการกระทำกำลังคบหา

  • That cake looks delicious. (เค้กนั่นดูอร่อยน่าทานจัง) look ในประโยคนี้เป็น stative verb คือเป็นความรู้สึก
  • Paul’s looking for me. (พอลกำลังมองหาฉัน) look ในประโยคนี้เป็น active verb คือเป็นการกระทำกำลังมองหา

  • I smell something burned. (ฉันได้กลิ่นบางอย่างไหม้) see ในประโยคนี้เป็น stative verb คือเป็นความรู้สึกในการรับรู้ 
  • That little girl’s smelling the flowers. (เด็กผู้หญิงคนนั้นกำลังดมกลิ่นดอกไม้) see ในประโยคนี้เป็น active verb คือเป็นอาการกระทำกำลังดม

  • This meat tastes like lamb(เนื้อนี้รสชาติเหมือนแกะ) taste ในประโยคนี้เป็น stative verb คือเป็นความรู้สึกในการรับรู้รสชาติ
  • My mother’s tasting the curry to see if it needs more fish sauce. (แม่ของฉันกำลังชิมแกงเพื่อดูว่าจำเป็นต้องเติมน้ำปลาเพิ่มอีกมั้ย) taste ในประโยคนี้เป็น active verb คือเป็นการกระทำกำลังชิม

  • This room feels so hot. (ห้องนี้รู้สึกร้อนจัง) feel ในประโยคนี้เป็น stative verb คือเป็นความรู้สึกในการรับรู้
  • Jim’s feeling much better now. (สุขภาพของจิมกำลังดีขึ้นมากตอนนี้) feel ในประโยคนี้เป็น active verb คือเกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่กำลังดีขึ้นมาก

  • Jai has a new computer. (ใจมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่) has ในประโยคนี้เป็น stative verb คือการแสดงความเป็นเจ้าของ
  • I’m having dinner right now. (ฉันกำลังทานอาหารเย็นอยู่ตอนนี้) have ในประโยคนี้เป็น active verb คือการกระทำกำลังทาน

** เพราะฉะนั้น คำกริยาในกลุ่มนี้ ที่เป็นทั้ง dynamic verbs และ stative verbs เราก็ต้องพยายามแยกแยะให้ออกว่าคำกริยาใดเป็น stative verbs แสดงสภาวะ ความรู้สึก การรับรู้ หรือแสดงความเป็นเจ้าของ และคำกริยาใดเป็น dynamic verbs ที่แสดงอาการกระทำออกมา เราจะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง


**ภาษาอังกฤษ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าเราตั้งใจที่จะเรียนรู้**


Thursday 27 September 2018

Stative verbs และ Dynamic verbs นั้น คืออะไร..?





Dynamic verbs และ Stative verbs นั้น ต่างกันอย่างไร..?

คำกริยาในภาษาอังกฤษนั้น เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า คือ อาการกระทำ ซึ่งมีอยู่เยอะแยะมากมาย  แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มหลายประเภท เช่น regular verbs, irregular verbs, infinitive verbs, past verbs, past participle verbs, helping verbs หรือ auxiliary verbs  แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำกริยาอีกกลุ่มหนึ่ง   ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ

     1. Dynamic verbs หรือ Action verbs   (คำกริยาแสดงอาการ)
     2. Stative verbs หรือ State verbs   (คำกริยาแสดงสภาวะ)


Dynamic verbs หรือ Action verbs  เป็นคำกริยาที่แสดงอาการกระทำออกมา มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งคำกริยาในกลุ่มนี้มีเยอะแยะมากมาย  เช่น  play, rain, watch, buy, work, meet, drink, run, speak, start, pay, study ฯลฯ
  • She plays tennis every Friday. (เธอเล่นเทนนิสทุกวันศุกร์)
  • It’s raining at this moment. (ฝนกำลังตกอยู่ในตอนนี้)
  • Last night, he got angry at me because I changed the channel while he was watching his favorite show. (เมื่อคืนนี้ เขาโกรธฉัน เพราะว่าฉันเปลี่ยนช่องขณะที่เขากำลังดูรายการโปรด)
  • My mother bought a new car last week. (แม่ของผมซื้อรถคันใหม่อาทิตย์ที่แล้ว)
  • They have worked since 6 o’clock this morning. (พวกเขาทำงานตั้งแต่ 6 โมงเช้านี้)
  • Jake has been studying Thai since 2001. (แจคเรียนภาษาไทยมาตั้งแต่ปี 2001)
** เราจะเห็นได้ว่า คำกริยาในกลุ่ม Dynamic verbs (คำกริยาแสดงอาการ) นี้ สามารถนำไปใช้ในรูปของ Simple, Continuous และ Perfect ได้ โดยผันคำกริยาไปตามรูปแบบโครงสร้าง Tenses ของประโยค  


Stative verbs หรือ State verbs (กริยาแสดงสภาวะ)  เป็นคำกริยาที่ไม่ได้แสดงอาการกระทำออกมา  แต่แสดงสภาวะต่างๆ  เช่น การรับรู้ การแสดงความคิดเห็น ความเชื่อ การแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ รวมไปถึงการวัด การประมาณค่า การแสดงความเป็นเจ้าของ

Stative verbs (คำกริยาแสดงสภาวะ) นี้ เราไม่สามารถนำไปใช้ในรูปของ Continuous Tense ได้  ซึ่งคำกริยาในกลุ่มนี้  เราจะใช้กับ   Simple Tense  จะไม่นำมาใช้ในรูปเติม –ing ใน Continuous Tense   ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นกำลังกระทำหรือดำเนินอยู่ก็ตาม  เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เราแบ่งคำกริยากลุ่มนี้ออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้ ดังนี้

1. กริยาที่แสดงประสาทสัมผัสการรับรู้
  
  • I hear some music playing. (ฉันได้ยินเสียงเพลงบรรเลง)
  • I’m hearing some music playing.
  • This perfume smells like rose.  (น้ำหอมนี้กลิ่นคล้ายดอกกุหลาบ)
  • This perfume is smelling like rose.
  • He seems upset right now. (เขาดูเหมือนว่าอารมณ์เสียอยู่ตอนนี้)  
  • He’s seeming upset right now.                                             
2. กริยาที่แสดงสภาพจิตใจ ความรู้สึกหรืออารมณ์

  • They like Durian ice cream. (ฉันชอบไอศครีมทุเรียน)
  • They’re liking Durian ice cream.
  • I hope I can do it. (ผมหวังว่าผมสามารถทำมันได้)
  • I’m hoping I can do it.
  • She wants money now. (เธอต้องการเงินตอนนี้)
  • She’s wanting money now.

3. กริยาที่แสดงสภาวะทางความคิด

  • I’ve known my best friend since childhood. (ผมรู้จักเพื่อนที่ดีที่สุดของผมมาตั้งแต่เด็กๆ)
  • I’ve been knowing my best friend since childhood.
  • We agree with you. (เราเห็นด้วยกับคุณ)
  • We’re agreeing with you.
  • He understands the lesson.  (เขาเข้าใจบทเรียน)
  • He’s understanding the lesson.

4. คำกริยาแสดงความเป็นเจ้าของ   
    * belong (เป็นของ)  have/has (มี)  own (เป็นเจ้าของ)  possess (ครอบครอง,ครอบงำ,เป็นเจ้าของ)
  • This book belongs to me. (หนังสือนี้เป็นของฉัน)
  • This book’s belonging to me.
  • They have a luxury car. (พวกเขามีรถคันหรู)
  • They’re having a luxury car.

5. คำกริยาแสดงการวัดหรือประเมินค่า    
    * weigh (ชั่งน้ำหนัก)  measure (วัด)  cost (มีราคา)  contain (บรรจุ)
  • This piece of meat weighs 2 kilograms. (เนื้อชิ้นนี้หนัก 2 กิโลกรัม)
  • This piece of meat’s weighing 2 kilograms.
  • It cost 250 baht. (มันราคา 250 บาท)
  • It’s costing 250 baht.

6. คำกริยาแสดงสภาวะอื่นๆ
  • This box contains a pair of earrings. (กล่องนี้บรรจุต่างหู 1 คู่)
  • This box‘s containing a pair of earrings.
  • Success depends on your efforts. (ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความพยายามของคุณ)
  • Success’s depending on your efforts.
  • This class will involve lots of research. (ชั้นเรียนนี้จะเกี่ยวข้องกับการวิจัยมากมาย)
  • This class will be involving lots of research.

หมายเหตุ    ** คำกริยา stative verbs บางคำมี 2 ความหมาย เป็นได้ทั้ง stative verbs (กริยาแสดงสภาวะ) และ dynamic verbs (กริยาแสดงอาการ)  ทีนี้ เรามาเรียนรู้กันต่อว่า คำกริยาที่เป็นได้ทั้ง dynamic verbs และ stative verbs นั้น มีอะไรบ้าง..?

Wednesday 26 September 2018

Stative verbs คำกริยาที่ไม่เติม -ing ในรูปของ Continuous Tense



คำกริยาที่ไม่เติม -ing ในรูปของ Continuous Tense

โดยทั่วไปแล้ว Continuous Tense หรือ Progressive Tense ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังกระทำหรือดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง  

เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายหลักของ Continuous Tense ก็คือจะต้องเป็นกริยาที่กำลังกระทำหรือดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง  แต่ในกรณีนี้ จะมีกริยาบางคำที่ไม่เคยนำมาใช้หรือไม่ค่อยได้ใช้กับ Continuous Tense  เราเรียกคำกริยานี้ว่า Stative verbs (คำกริยาแสดงสภาวะ) ซึ่งคำกริยาในกลุ่มนี้จะใช้กับ Simple Tense  จะไม่นำมาใช้ในรูปเติม –ing ใน Continuous Tense  ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นกำลังกระทำหรือดำเนินอยู่ก็ตาม


Stative verbs (คำกริยาแสดงสภาวะ) ที่เราไม่นำมาใช้เติม –ing ใน Continuous Tense  แบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้

1. กริยาที่แสดงประสาทสัมผัสการรับรู้
  • feel (รู้สึก, รับรู้)
  • hear (ได้ยิน)
  • see  (เห็น, เข้าใจ,พบ,คบหา)
  • smell  (ได้กลิ่น)
  • sound  (เกิดเสียง, ดูเหมือนว่า)
  • taste (ได้รส, รู้รส)
  • seem   (ดูเหมือนว่า)
  • appear  (ปรากฏ, ดูเหมือน)
เช่น  I'm smelling smoke.  
        I smell smoke.  (ฉันได้กลิ่นควัน)
        This meat's tasting like chicken
        This meat tastes like chicken. (เนื้อนี้รสชาติเหมือนไก่)
        I'm hearing the beautiful music.  
        I hear the beautiful music.  (ฉันได้ยินเสียงเพลงเพราะมาก)
    
2. กริยาที่แสดงสภาพจิตใจ ความรู้สึกหรืออารมณ์                                              

เช่น  She's loving you so much. 
        She loves you so much. (เธอรักคุณมาก)
        I'm hating worms.  
        I hate worms.   (ฉันเกลียดหนอน)
        They're wanting some money.
        They want some money. (พวกเขาต้องการเงิน)
3. กริยาที่แสดงสภาวะทางความคิด                                                                     

เช่น  I'm understanding the lessons. 
        I understand the lessons.  (ผมเข้าใจบทเรียน)
        S้he's knowing my mother.
        She knows my mother.  (เธอรู้จักแม่ของฉัน)
        Jim's remembering me.
        Jim remembers me. (จิมจำฉันได้)

4. คำกริยาแสดงความเป็นเจ้าของ
  • belong  (เป็นของ)
  • have/has (มี)
  • own  (เป็นเจ้าของ)
  • possess  (ครอบครอง, ครอบงำ,เป็นเจ้าของ)
เช่น  This car's belonging to Jane. 
        This car belongs to Jane. (รถคันนี้เป็นของเจน) 
        They're having a modern house. 
        They have a modern house. (พวกเขามีบ้านทันสมัย)

5. คำกริยาแสดงการวัดหรือประเมินค่า
  • weigh (ชั่งน้ำหนัก)
  • measure  (วัด)
  • cost  (มีราคา)
  • contain  (บรรจุ)
เช่น  This meat's weighing 2 kilogram. 
        This meat weighs 2 kilogram. (เนื้อชิ้นนี้หนัก 2 กิโลกรัม) 
        It's costing 300 baht.
        It costs 300 baht.  (มันราคา 300 บาท)

6. คำกริยาแสดงสภาวะอื่นๆ                                                                                  
เช่น  I'm owing you 1,000 baht.
        I owe you 1,000 baht. (ฉันเป็นหนี้คุณ 1,000 บาท)
        She's involving with you.
        She involves with you. (เธอเกี่ยวพันกับคุณ)

มาถึงตรงนี้ เราก็รู้แล้วว่า คำกริยาที่ไม่นำมาเติม ing นั้น เขาเรียกว่าอะไร มีอะไรบ้าง..? ทีนี้ เรามาเรียนรู้เพิ่มเติม คำกริยาอีกกลุ่มหนึ่ง นั่นก็คือ dynamic verbs (คำกริยาแสดงอาการ) ว่า คืออะไร และแตกต่างกับกริยาแสดงสภาวะ stative verbs อย่างไร..? 


          

Tuesday 25 September 2018

หลักการเติม ing ท้ายคำกริยาใน Continuous Tense





คำกริยาแท้ Verb1 (infinitive) ในโครงสร้าง Continuous Tense นั้น มีหลักการเติม -ing ดังนี้


1. คำกริยาโดยทั่วไปเติม -ing ท้ายคำกริยาได้เลย
  • cook-cooking  (ทำอาหาร)
  • draw-drawing  (วาด)
  • do-doing  (ทำ)
  • eat-eating  (กิน)
  • treat-treating  (เลี้ยง, รักษา, ปฏิบัติต่อ)
  • pour-pouring  (ริน)
  • speak-speaking  (พูด)
  • start-starting   (เริ่ม)
  • answer-answering  (ตอบ)
  • listen-listening  (ฟัง)
  • visit-visiting  (เยี่ยมเยียน)
2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้ตัด e ออกแล้วเติม –ing
  • hope-hoping  (หวัง)
  • ride-riding   (ขี่)
  • make-making  (ทำ)
  • write-writing   (เขียน)
  • bake-baking  (อบ)
  • smile-smiling  (ยิ้ม)
3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ee, ye และ oe ให้เติม –ing ได้เลย
  • agree-agreeing (เห็นด้วย)
  • see-seeing  (เห็น)
  • flee-fleeing  (หนี)
  • dye-dyeing  (ย้อมสี)
  •  tiptoe-tiptoeing  (เดินย่อง, เดินด้วยปลายเท้า)
4. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม –ing
  • die-dying  (ตาย)
  •  tie-tying  (ผูก, มัดให้แน่น)
  •  lie-lying  (โกหก)
5. คำกริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระเสียงสั้นตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัว แล้วเติม –ing
  • stop-stopping  (หยุด)
  • plan-planning (วางแผน)
  • fit-fitting  (พอดี,ติดตั้ง)
  • beg-begging  (ขอ)
  • swim-swimming (ว่ายน้ำ)
  • shut-shutting  (ปิด)
  • cut-cutting  (ตัด)
  • sit-sitting  (นั่ง)
  • run-running  (วิ่ง)
  •  jog-jogging  (วิ่งเหยาะๆ)
6. คำกริยา 2 พยางค์ที่ลงท้ายด้วยสระตัวเดียว และออกเสียงเน้นหนักพยางค์หลัง ให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัว แล้วเติม ing
  • prefer-preferring  (ชอบมากกว่า)
  •  refer-referring  (อ้างอิง)
  • admit-admitting  (ยอมรับ, รับเข้าไว้)
  • commit-committing  (ทำความผิด, มอบหมายให้)
  • permit-permitting  (อนุญาต)
  • occur-occurring  (เกิดขึ้น)
  • begin-beginning  (เริ่มต้น)
** แต่ถ้าออกเสียงเน้นหนักพยางค์หน้า ไม่ต้องเพิ่มตัวสะกดตัวท้าย ให้เติม -ing ได้เลย
  • inherit-inheriting (รับมรดก)
  • target-targeting  (ตั้งเป้าหมาย)
  • cover-covering  (คลุม, ปิดบัง)
  • open-opening  (เปิด)
ซึ่งก็คือคำกริยาโดยทั่วไปที่เติม –ing นั่นเอง  แต่มีคำกริยาบางคำที่ไม่สามารถนำมาใช้เติม ing ในรูปของ Continuous Tense ได้ ซึ่งเราเรียกคำกริยากลุ่มนี้ว่า Stative verbs คำกริยาแสดงสภาวะ

Monday 24 September 2018

อธิบาย Present Continuous Tense อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย..



Present Continuous Tense หรือ Present Progressive Tense ก็คือ ปัจจุบันกาลที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันในขณะที่พูด โดยมีโครงสร้างของประโยค ดังนี้


            is ใช้กับประธานเอกพจน์ (he is, she's, it is, Jane's)
            am ใช้กับ I (I am, I'm)
            are ใช้กับประธานพหูพนจ์ (we are, they're, birds are)
        รูปแบบอย่างย่อ  is not/isn’t, I’m not  และ  are not/aren’t

หมายเหตุ  is,am,are ในโครงสร้าง Continuous Tenses นี้ ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย (Auxiliary หรือ helping verbs)

ส่วน Infinitive หรือ Verb1 ในโครงสร้าง Continuous Tense นั้น มีหลักการเติม ing ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติม)  และมีคำกริยาบางคำที่ไม่สามารถนำมาใช้เติม ing ในรูปของ Continuous Tense ได้ ซึ่งเราเรียกคำกริยากลุ่มนี้ว่า Stative verbs คำกริยาแสดงสภาวะ (อ่านเพิ่มเติม)


หลักการใช้ Present Continuous Tense มีดังนี้ คือ

1. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะที่พูด และดำเนินต่อเนื่องต่อไปจนจบในอนาคต  


มักจะมีกริยาวิเศษณ์บอกเวลา (Adverbs of Time) เหล่านี้มาช่วยในประโยค
  • They are having lunch right now. (พวกเขากำลังรับประทานอาหารกลางวันอยู่ตอนนี้
  • Jim is talking on the phone at the moment. (จิมกำลังคุยโทรศัพท์อยู่ในขณะนี้)
  • We’re making pizza at this moment. (พวกเรากำลังทำพิซซ่าอยู่ ณตอนนี้)
  • They are not waiting for you. (พวกเขาไม่ได้กำลังรอคุณ)
  • Jack and Jane are going to school. (แจคและเจนกำลังไปโรงเรียน)
  • Is baby drinking his bottle? (เด็กทารกกำลังดื่มนมอยู่มั้ย)
  • He’s fighting with his brother. (เขากำลังต่อสู้กับพี่ชายของเขา)
  • She’s not cooking right now. (เธอไม่ได้กำลังทำอาหารอยู่ตอนนี้)
  • Are you listening to me? (คุณกำลังฟันฉันอยู่มั้ย)

2. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดในช่วงที่พูด แต่ไม่ได้กำลังเกิดในขณะที่พูด

  • The stocks are dropping constantly due to bad economy. (หุ้นกำลังตกลงเรื่อยๆเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี)
  • John’s studying Thai at Thai language school. (จอห์นกำลังเรียนภาษาไทยที่โรงเรียนสอนภาษาไทย)
  •  I’m reading a really interesting book now. (ฉันกำลังอ่านหนังสือที่น่าสนใจจริงๆอยู่ตอนนี้)
  • Prem’s studying hard to become a petroleum engineer. (เปรมกำลังเรียนอย่างหนักเพื่อเป็นวิศวกรปิโตรเลี่ยม)

3. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ คือเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  (มักจะมีคำบ่งบอกเวลาในอนาคต เช่นเดียวกับ Future Simple Tense)

  • Paul’s coming for dinner tonight. (พอลกำลังจะมาทานข้าวเย็นคืนนี้)
  • Are you studying tomorrow? (คุณจะเรียนในวันพรุ่งนี้มั้ย)
  • She’s teaching this topic now. (เธอกำลังจะสอนหัวข้อนี้ตอนนี้)
  • I’m seeing my dentist this evening. (ฉันจะพบหมอฟันตอนเย็นนี้)
  • He’s visiting his parents this weekend. (เขากำลังจะไปเยี่ยมพ่อแม่ของเขาวันหยุดสุดสัปดาห์นี้)
  • I’m having a birthday party tomorrow. (ผมกำลังจะมีงานเลี้ยงวันเกิดพรุ่งนี้)
  • We’re playing golf this afternoon. (พวกเรากำลังจะเล่นกอล์ฟบ่ายนี้)

หมายเหตุ   ** จะเห็นได้ว่าการใช้ Present Continuous Tense ในข้อนี้ จะคล้ายๆกับ Future Simple Tense แต่จะแปลเป็น กำลังจะ “ หรือจะแปลว่า " จะ " ก็ได้ และจะต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้  ถ้าไม่แน่นอนจะใช้  Future Simple Tense

ถ้าเข้าใจในหลักการใช้ของแต่ละ Tense ก็จะไม่เกิดความสับสน สามารถที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง..


Friday 21 September 2018

สรุปหลักการใช้ will and be going to อย่างย่อ แบบเข้าใจง่ายสุด





will และ going to มีหลักการใช้ต่างกันอย่างไร  

เราใช้ will+V1 (infinitive) และ be going to+V1 (infinitive) ในความหมายว่า จะ ในรูป Future Simple Tense เหมือนกัน แต่มีหลักการใช้ที่แตกต่างกันนิดหน่อย ทีนี้ เรามาดูกันว่า ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ will and be going to นั้น มีอะไรบ้าง

เปรียบเทียบการใช้ will and be going to

1. เราใช้ will เมื่อเราได้ตัดสินใจว่าจะกระทำบางสิ่งบางอย่างในขณะที่เราพูด  (มีการตัดสินใจในขณะที่กำลังพูดนั่นเอง)

Julie: There's no milk. (นมหมด)            John:  Really? In that case, I’ll go and buy some. (จริงรึ? ถ้าอย่างนั้น ฉันจะออกไปซื้อ) นั่นก็คือ จอห์นได้ตัดสินใจที่จะออกไปซื้อนมในขณะที่เขาพูด



เมื่อเราไปร้านอาหาร
Waitress: What would you like to have? คุณจะทานอะไร
Jane: I’ll have Noodles fried in soy sauce. (ฉันจะทานผัดซีอิ้ว) คือตัดสินใจว่าจะทานผัดซีอิ้วในขณะที่สั่งอาหาร







 1. เราใช้ be going to เมื่อเราพูดถึงสิ่งที่เราได้ตัดสินใจหรือเตรียมการเอาไว้ก่อนแล้วว่าเราจะทำ                     

Julie:  There’s no milk.  (นมหมด)            John:  I know. I’m gonna go and buy some when this T.V program finishes.  (ผมรู้  ผมจะออกไปซื้อหลังจากจบรายการนี้)
ในกรณีนี้ จอห์นรู้ว่านมหมด และได้ตัดสินใจที่จะออกไปซื้อก่อนที่จะพูดกับจูเลีย
** gonna ใช้พูดแทน going to

Waitress: What would you like to have?
Jane: I’m going to have Noodles fried in soy sauce.  ในกรณีนี้เจนได้ตัดสินใจไว้ก่อนแล้วว่าฉันจะทานผัดซีอิ้ว คืออยากจะทานมานานหละ..

หรือใช้ถามถึงการตัดสินใจหรือเตรียมการ
    -When are you going to Spain? (คุณจะไปสเปนเมื่อไหร่)
ในกรณีนี้ รู้อยู่แล้วว่า เขาจะไปสเปน แต่ไม่รู้ว่าจะไปเมื่อไหร่

2. เราใช้ will เมื่อเราพูดถึงสิ่งที่เราคิด คาดเดา คาดการณ์หรือเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยมักจะมีคำเหล่านี้
   **  Think (คิดว่า) sure (แน่ใจว่า) expect (คาดว่า) know (รู้ว่า) probably (อาจจะ) guess (เดาว่า) believe (เชื่อว่า) hope (หวังว่า) **

   -I think he will pass the exam. (ฉันคิดว่าเขาจะสอบผ่าน)
   -I’m not sure I’ll call you tonight. (ผมไม่แน่ใจว่าผมจะโทรหาคุณคืนนื้)
   -I believe she’ll do it. (ฉันเชื่อว่าเธอจะทำ)


2. เราใช้ be going to เมื่อเราพูดถึงสิ่งที่เราคาดว่า เชื่อว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนจากสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าจะเกิดขึ้น


  -Get back..! it’s going to explode. (ถอยกลับไป มันจะระเบิด)
   -I feel nauseous. I think I’m going to throw up. (ฉันรู้สึกคลื่นไส้ ฉันคิดว่าฉันจะอ๊วก)
   -Watch out..! that dog’s going to bite you. (ระวัง..! หมาตัวนั้นจะกัดคุณ)
3. ใช้กล่าวถึงความรู้สึก ความตั้งใจ การสัญญา และข้อเสนอ

   -I’m thirsty I’ll buy something to drink. (ฉันหิวน้ำ ฉันจะซื้ออะไรดื่มสักหน่อย)
   -I feel lazy I won’t do anything today. (ฉันรู้สึกขึ้เกียจ วันนี้ฉันจะไม่ทำอะไรทั้งนั้น)
   -Don’t worry, I won’t tell anyone. (ไม่ต้องกังวล ผมจะไม่บอกใคร)
   -I promise I’ll behave next time. (หนูสัญญาว่า หนูจะทำตัวดีๆคราวหน้า)
   -I’ll take you to the airport tomorrow. (ผมจะพาคุณไปสนามบินพรุ่งนี้)







เมื่อรู้ถึงหลักการใช้ ทั้งของ will และ be going to แล้ว เราก็สามารถที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง  ว่าเหตุการณ์ไหนใช้ will เหตุการณ์ไหนใช้ be going to  เมื่อเข้าใจ ภาษาอังกฤษก็ไม่อยากอย่างที่คิดใช่มั้ยค่ะ..?