Total Pageviews

Sponsored Ads

Tuesday 7 January 2020

Adverbs คำกริยาวิเศษณ์คู่กับคำคุณศัพท์ Adjectives รวมกันเป็น Collocation


ในภาษาอังกฤษ มักจะนำคำนาม (Nouns) คำกริยา (Verbs) คำคุณศัพท์ (Adjectives) คำบุพบท (Prepositions) คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) มาใช้ร่วมกัน ซึ่งเราเรียกกลุ่มคำที่ใช้ร่วมกันนี้ว่า Collocation  คำปรากฏร่วม เป็นการเชื่อมคำหรือกลุ่มคำ วลี (Phrase) รวมทั้งสำนวน (Idiom) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันในประโยค  ซึ่งคำที่ใช้ร่วมกันนี้ ได้กำหนดไว้แน่ชัดว่าจะใช้คู่กับคำอะไร จะใช้คำอื่นแทนหรือสลับตำแหน่งกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าคำที่จะใช้แทนนั้น จะมีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันก็ตาม

ทีนี้.. มาดูกันว่า ถ้าเรานำคำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) มาใช้คู่กับคำคุณศัพท์ (Adjectives) จะมีคำอะไรบ้าง..?  

ตัวอย่างเช่น
  • She’s not just anti-social; he’s utterly alone. (เธอไม่เพียงแต่ต่อต้านสังคม เธอยังโดดเดียวอย่างแท้จริง)
  •  Jane always looks utterly beautiful. (เจนดูสวยที่สุดเสมอ)
  • He wasn’t utterly wrong. (เขาไม่ผิดอย่างสิ้นเชิง)
  • I’m deeply sorry for your loss. (ผมเสียใจอย่างสุดซึ้งกับการสูญเสียของคุณ)
  • Her family’s deeply worried about her. (ครอบครัวของเธอเป็นห่วงเธออย่างมาก)
  • It’s a deeply committed performance.  (มันเป็นการแสดงที่มุ่งมั่นอย่างที่สุด)
  • Jim is deeply ashamed of what he has done. (จิมรู้สึกละอายใจอย่างยิ่งกับสิ่งที่เขาทำ)

นี่คือ ตัวอย่างคำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) คู่กับคำคุณศัพท์ (Adjectives) บางส่วนที่นำมาใช้ร่วมกัน กลายเป็นคำปรากฎร่วม Collocation ซึ่งมีอยู่จำนวนมากมายหลายคำ เราจะต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และพยายามจดจำให้ได้  ว่าคำไหนใช้คู่กับคำอะไร มีความหมายเช่นไร จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง.. 


Monday 6 January 2020

Adjectives คำคุณศัพท์คู่กับคำนาม Nouns ที่ใช้กันบ่อยๆ


ในภาษาอังกฤษ มักจะนำคำนาม (Nouns) คำกริยา (Verbs) คำคุณศัพท์ (Adjective) คำบุพบท (Prepositions) มาใช้ร่วมกัน ซึ่งเราเรียกกลุ่มคำที่ใช้ร่วมกันนี้ว่า Collocation  คำปรากฏร่วม เป็นการเชื่อมคำหรือกลุ่มคำ วลี (Phrase) รวมทั้งสำนวน (Idiom) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันในประโยค  ซึ่งคำที่ใช้ร่วมกันนี้ ได้กำหนดไว้แน่ชัดว่าจะใช้คู่กับคำอะไร จะใช้คำอื่นแทนหรือสลับตำแหน่งกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าคำที่จะใช้แทนนั้น จะมีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันก็ตาม

ทีนี้.. มาดูกันว่า ถ้าเรานำคำคุณศัพท์ (Adjectives) มาใช้คู่กับคำนาม (Nouns) จะมีคำอะไรบ้าง..? ที่ใช้กันบ่อยๆ


ตัวอย่างเช่น
  • Take a deep breath in and out, please. (กรุณาหายใจเข้าออกลึกๆ)
  • My new boyfriend has deep pockets. (แฟนใหม่ฉันกระเป๋าหนัก คือ รวยมีเงินใช้จ่ายมากมาย)
  • Paul is a very heavy drinker. (พอลดื่มเหล้าหนักมาก) 
  • She couldn’t come because of the heavy rain. (เธอมาไม่ได้เพราะฝนตกหนัก)
  • Licking your fingers is a nasty habit. (การเลียนิ้วเป็นนิสัยที่น่ารังเกียจ)
  • She died last month of old age. (เธอเสียชีวิตเดือนที่แล้วด้วยวัยชรา)
  • Jim showed great skill in cooking. (จิมแสดงทักษะการทำอาหารที่ยอดเยี่ยม)
  • Smoking gives you bad breath. (การสูบบุหรี่ทำให้คุณมีกลิ่นปากเหม็น)
  • English is his weak point. (ภาษาอังกฤษเป็นจุดอ่อนของเขา)
  • Something I should have told you long time ago. (บางสิ่งที่ผมควรบอกคุณนานมาแล้ว)

ตัวอย่างเช่น
  •  She has a runny nose(เธอมีอาการน้ำมูกไหล)
  • It’s such a big mistake(มันเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่)
  • She’s interested in his private life. (เธอสนใจในชีวิตส่วนตัวของเขา)
  • He must have dialed the wrong number. (เขาต้องโทรผิดเบอร์)
  • Each new generation makes use of knowledge. (คนรุ่นใหม่แต่ละรุ่นใช้ประโยชน์จากความรู้)
  • Jane has a very tight schedule. (เจนมีคิวงานที่แน่นมาก)
  • I know you have a steady job. (ฉันรู้ว่าคุณมีงานที่มั่นคง)

นี่คือ ตัวอย่างคำคุณศัพท์ Adjectives คู่กับคำนาม (Nouns) บางส่วนที่นำมาใช้ร่วมกัน กลายเป็นคำปรากฎร่วม Collocation ซึ่งมีอยู่จำนวนมากมายหลายคำ เราจะต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และพยายามจดจำให้ได้  ว่าคำไหนใช้คู่กับคำอะไร มีความหมายเช่นไร จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง.. 






Sunday 5 January 2020

Nouns คำนามคู่กับคำนาม Nouns รวมกันเป็น Collocation


ในภาษาอังกฤษ มักจะนำคำนาม (Nouns) คำกริยา (Verbs) คำคุณศัพท์ (Adjective) คำบุพบท (Prepositions) มาใช้ร่วมกัน ซึ่งเราเรียกกลุ่มคำที่ใช้ร่วมกันนี้ว่า Collocation  คำปรากฏร่วม เป็นการเชื่อมคำหรือกลุ่มคำ วลี (Phrase) รวมทั้งสำนวน (Idiom) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันในประโยค  ซึ่งคำที่ใช้ร่วมกันนี้ ได้กำหนดไว้แน่ชัดว่าจะใช้คู่กับคำอะไร จะใช้คำอื่นแทนหรือสลับตำแหน่งกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าคำที่จะใช้แทนนั้น จะมีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันก็ตาม

ทีนี้.. มาดูกันว่า ถ้าเรานำคำนาม (Nouns) มาใช้คู่กับคำนาม (Nouns) จะมีคำอะไรบ้าง..? 


ตัวอย่างเช่น
  • I really love sports car. (ผมรักรถสปอร์ตจริงๆ)
  • The return flight was so boring. (เที่ยวบินขากลับน่าเบื่อมากๆ)
  • The speed limit on this road is 80 km/h. (จำกัดความเร็วบนถนนนี้ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • Everyone has equal voting rights. (ทุกคนมีสิทธิออกเสียงเท่ากัน)
  • Jim’s new visa is single entry and valid for 30 days. (วีซ่าใหม่ของจิมเข้าออกได้ครั้งเดียวและมีอายุ 30 วัน)
  • He was very happy in his school days. (เขามีความสุขมากๆในสมัยที่เป็นเด็กนักเรียน)
  • Is there post office near here? (มีที่ทำการไปรษณีย์ใกล้ๆที่นี่มั้ย)
  • Jane was rejected by his peer group. (เจนถูกปฎิเสธโดยกลุ่มเพื่อนของเธอ)
  • I’m looking for a car park. (ผมกำลังมองหาที่จอดรถ)
  • This cheese cake is very delicious.  (ชีสเค้กนี้อร่อยมาก)
  • I don’t like action movies. (ฉันไม่ชอบหนังบู๊)
  • She goes to beauty shop every Monday. (เธอไปร้านเสริมสวยทุกวันจันทร์)
  • The company’s office hours on Saturdays are from 8.30 am. to 12.00 pm. (เวลาทำการของบริษัทในวันเสาร์คือ 8.30 น. ถึง 12.00 น.)
  • Paul works out 3 days a week in a health club. (พอลออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 วันในสโมสรสุขภาพ)
  • We interviewed the head teacher of Ban Mai school. (เราสัมภาษณ์ครูใหญ่โรงเรียนบ้านใหม่)
  • He is an estate agent. (เขาเป็นตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์)

นี่คือ ตัวอย่างคำนาม (Nouns) คู่กับคำนาม (Nouns) ที่นำมาใช้ร่วมกันบางส่วน แล้วกลายเป็นคำปรากฎร่วม Collocation  ซึ่งมีจำนวนมากมายหลายคำ เราจะต้องพยายามจดจำให้ได้  ว่าคำไหนใช้คู่กับคำอะไร มีความหมายเช่นไร จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง..