Total Pageviews

Sponsored Ads

Wednesday 16 October 2019

สรุปหลักการใช้ in on at อย่างเข้าใจง่ายสุด


สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว..  in on at เป็นคำบุพบท Prepositions ที่ใช้ทำหน้าที่เชื่อมคำ วลี เข้ากับคำอื่นๆในประโยค เพื่อบ่งบอกถึงเวลา (Prepositions of time) หรือสถานที่ ตำแหน่ง (Prepositions of place) เพื่อให้ประโยคได้ใจความสละสลวยสมบูรณ์ขึ้น

บทความนี้.. จึงได้สรุปหลักการใช้ in on at ทั้งที่เป็นบุพบทบอกเวลาและบุพบทบอกสถาน ว่าใช้ต่างกันอย่างไร..?  จะได้จดจำได้ง่ายๆขึ้น

ภาพผังสรุปหลักการใช้ in on at


                       Can enlarge the image to read





Tuesday 15 October 2019

in on at บอกเวลาและสถานที่ มีหลักการใช้อย่างไร..?


in on at เป็นคำบุพบท Prepositions ที่ใช้ทำหน้าที่เชื่อมคำ วลี เข้ากับคำอื่นๆในประโยค เพื่อบ่งบอกถึงเวลา (Prepositions of time) หรือสถานที่ ตำแหน่ง (Prepositions of place) เพื่อให้ประโยคได้ใจความสละสลวยสมบูรณ์ขึ้น

ที่นี้.. มาดูกันว่า in on at ที่เป็นทั้งคำบุพบทบอกเวลาและสถานที่นั้น จะมีวิธีการใช้แตกต่างกันอย่างไร..?

in on at ที่ใช้เป็นคำบุพบทบอกเวลา (Prepositions of time) มีหลักการใช้ ดังนี้

in ใช้กับเวลาโดยทั่วไป เช่น
  • ศตวรรษ > in 1700’s
  • ทศวรรษ > in 70’s
  • ปี > in 2009
  • เดือน > in January
  • สัปดาห์ > in 2 weeks
  • ฤดู > in summer, in hot season
  • ช่วงเวลาของวัน > in the evening
    • I was born in 1979 (ผมเกิดปี พ.ศ.2522)
    • The shop will be closed in April. (ร้านจะปิดในเดือนเมษายน)
    •  It’s very hot in summer. (มันร้อนมากในฤดูร้อน)

on ใช้กับเวลาที่เจาะจงมากขึ้น เช่น
  • วัน > on Monday
  • วันที่ > on 1st
  • วันต่างๆ > on my birthday, on Christmas, on Loy KraTong, on the weekend, on holiday ฯลฯ
    • I won’t go to school on Monday. (ผมจะไม่ไปโรงเรียนวันจันทร์)
    • I’ll go on holiday next week. (ผมจะหยุดพักผ่อนในอาทิตย์หน้า)

at เวลาที่ระบุเฉพาะ เช่น
  • เวลา > at 9 pm., at 10 o’clock
  • สำนวนที่เกี่ยวกับเวลา > at noon, at night, at lunchtime, at the same time ฯลฯ
    • He will meet me at 2 pm. (เขาจะพบฉันตอน 14.00 น.)
    • She always goes to bed at midnight. (เธอมักจะเข้านอนตอนเที่ยงคืนเสมอ)

in on at เมื่อใช้เป็นคำบุพบทบอกสถานที่ (Prepositions of place) มีหลักการใช้ ดังนี้

in ใช้กับสถานที่ที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น
  • ทวีป ประเทศ > in Asia, in Thailand
  • รัฐ เมือง จังหวัด อำเภอ ตำบล > in Sydney, in Bangkok, in the city, in BanRai subdistrict
  • บริเวณ สถานที่ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร > in the park, in the hospital, in the sea, in the sky
  • ห้อง ตึก อาคาร บรรจุภัณฑ์ > in the toilet, in the building, in a taxi, in a car, in the bottle
    • Jane lives in London. (เจนอาศัยอยู่ในลอนดอน)
    • I was in the park last night. (เมื่อคืนนี้ผมอยู่ในสวนสาธารณะ)
    • Tom forgot his phone in the taxi. (ทอมลืมโทรศัพท์ในรถแท็กซี่)

on ใช้กับสถานที่ที่เป็นที่แคบลง เช่น
  • ชื่อถนน > on Rama 2 road, on Ratchadamnoen road
  • ชั้นของตึกอาคาร > on the 1st  floor, on the second floor
  • บนสิ่งของ บนพื้นผิว > on the plane, on the table, on the ground, on the bus
    • I got on a wrong bus yesterday. (ฉันขึ้นรถผิดเมื่อวาน)
    • Prem lives on the 4th floor. (เปรมอาศัยอยู่ชั้น 4)
    • The pictures are hung on the wall. (รูปภาพแขวนอยู่บนฝาผนัง)

at ใช้ระบุสถานที่อยู่ สถานที่เฉพาะเจาะจง เช่น
  • ที่อยู่ > at 261 Phet Kasem rd. Bangkhae, Bangkok.
  • สถานที่เฉพาะเจาะจง > at the train station, at the bus stop, at the school office, at work
    • My address at 16 Nakhon Chaisi rd. Dusit, Bangkok.
    • He is at home. (เขาอยู่ที่บ้าน)
    • I waited at the airport for 2 hours. (ผมรอที่สนามบิน 2 ชม.)

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็จะเป็นหลักการใช้ in on at ทั้งที่ใช้เป็นคำบุพบทบอกเวลา (Prepositions of time) และคำบุพบทบอกสถานที่ (Prepositions of place)  ซึ่งเราก็ต้องพยายามจดจำหลักการใช้ ว่าแต่ละคำใช้อย่างไร เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

>>.. ภาพผังสรุปการใช้  in on at   





Monday 14 October 2019

Prepositions of place คือ..? คำบุพบทบอกสถานที่ มีหลักการใช้อย่างไร..?


Prepositions of place คำบุพบทบอกสถานที่ ใช้เพื่อระบุตำแหน่ง สถานที่ บริเวณ หรือจุดย่อยของสถานที่ นั่นก็คือ ใช้ระบุสถานที่ของบุคคล วัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั่นเอง

ทีนี้.. มาดูกันต่อว่า Preposition of place คำบุพบทบอกสถานที่นั้น มีคำอะไรบ้างที่พบเห็นและใช้กันบ่อยๆ..? และมีวิธีการใช้อย่างไร..?


1. over/above, under/below, between, among

เราใช้ over/above เพื่อบ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่สูงกว่าหรืออยู่เหนือกว่าสิ่งหนึ่งขึ้นไป ตัวอย่างเช่น
  • There’s a helicopter hovering above my house.  (มีเฮลิคอปเตอร์บินลอยอยู่เหนือบ้านของฉัน)
  • The temperature is above 50 degrees in summer. (อุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาในฤดูร้อน)
  • The dog jumped over the fence. (สุนัขกระโดดข้ามเหนือรั้ว)
  • Today’s temperature is over 45 degrees. (อุณหภูมิวันนี้สูงกว่า 45 องศา)

เราใช้ under/below เพื่อบ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่ข้างล่าง ข้างใต้ หรือต่ำกว่าสิ่งหนึ่งลงมา ตัวอย่างเช่น
  • The cat is under the table.  (แมวอยู่ใต้โต๊ะ)
  • The wreck of Titanic still remains under the sea. (ซากของเรือไททานิกยังคงอยู่ใต้ทะเล)
  • The liquid must be kept below 5 degrees. (ของเหลวจะต้องถูกเก็บไว้ต่ำกว่า 5 องศา)
  • The college will not accept candidates with test scores below 60. (วิทยาลัยจะไม่รับผู้สมัครที่มีคะแนนสอบต่ำกว่า 60)

เราใช้ between เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ระหว่างสิ่ง 2 สิ่งว่าสิ่งใดอยู่ระหว่างอะไร ตัวอย่างเช่น
  • The border between Sweden and Norway. (ชายแดนระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์)
  • We fly between Rome and Paris twice daily. (เราบินระหว่างโรมและปารีส 2 ครั้งต่อวัน)
  • Our house is between the supermarket and the school. (บ้านของเราอยู่ระหว่างซูเปอร์มาร์เก็ตและโรงเรียน)

เราใช้ among เพื่อบ่งบอกว่าสิ่งใดอยู่ท่ามกลางอะไร ตัวอย่างเช่น
  • Prim likes being among people. (พริมชอบอยู่ท่ามกลางผู้คน)
  • I found the letter among his papers. (ฉันพบจดหมายท่ามกลางเอกสารของเขา)
  • A house among the trees. (บ้านท่ามกลางต้นไม้)

2.  inside, outside, behind, in front of, opposite

เราใช้ inside เพื่อบอกว่าสิ่งใดอยู่ภายในหรือข้างในอะไร ตัวอย่างเช่น
  • The melon was still green inside.  (แตงโมยังคงเป็นสีเขียวอยู่ข้างใน)
  • You shouldn’t stay inside the castle. (คุณไม่ควรอยู่ข้างในปราสาท)
  • We’re inside the coffee shop.  (เราอยู่ในร้านกาแฟ)

ข้อสังเกต เราสามารถใช้ in แทน inside ได้ โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง

เราใช้ outside เพื่อบอกว่าสิ่งใดอยู่ภายนอกหรือข้างนอก ตัวอย่างเช่น
  • You must wait outside. (คุณต้องรอข้างนอก)
  • We sat at a table outside the café. (เรานั่งที่โต๊ะข้างนอกร้านกาแฟ)
  • There’s a chair just outside the room. (มีเก้าอี้อยู่ภายนอกห้อง)

เราใช้ behind เพื่อบอกว่าสิ่งใดอยู่ข้างหลังหรือด้านหลัง ตัวอย่างเช่น
  • He slammed the gate shut behind him. (เขากระแทกประตูปิดตามหลังเขา)
  • There’s a little man behind the counter. (มีผู้ชายตัวเล็กอยู่ด้านหลังเคาน์เตอร์)
  • The car behind us is flashing its lights. (รถด้านหลังเรากำลังกระพริบไฟ)

เราใช้ in front of เพื่อบอกว่าสิ่งใดอยู่ด้านหน้าหรือข้างหน้า ตัวอย่างเช่น
  • We parked our car in front of the hotel. (เราจอดรถด้านหน้าโรงแรม)
  • This dragon statue is in front of a temple. (รูปปั้นมังกรนี้อยู่หน้าวัด)
  • He sits in front of his computer at work every day. (เขานั่งหน้าคอมพิวเตอร์ที่ทำงานทุกวัน)

เราใช้ opposite เพื่อใช้บอกว่าสิ่งใดอยู่ตรงข้าม ตรงกันข้ามกับอะไร ตัวอย่างเช่น 
  • John lives in the house opposite ours. (จอห์นอาศัยอยู่ในบ้านตรงข้ามกับบ้านเรา)
  • A condo will be built opposite the temple. (คอนโดจะถูกสร้างตรงข้ามกันกับวัด)
  • The bus stop is opposite the cinema. (ป้ายรถเมล์อยู่ตรงข้ามโรงหนัง)

3. near, next to/beside/by, against

เราใช้ near เพื่อบอกว่าสิ่งใดอยู่ใกล้กับสิ่งใด ตัวอย่างเช่น
  • She lives near her mother. (เธออาศัยอยู่ใกล้กับแม่ของเธอ)
  • The car is parked near the train station. (รถจอดอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ)
  • Is there an Indian restaurant near here? (มีร้านอาหารอินเดียใกล้ๆนี้มั้ย)

เราใช้ next to/beside/by  เพื่อบอกว่าสิ่งใดอยู่ติดกับ อยู่ข้างๆ หรืออยู่ถัดจากสิ่งใด ตัวอย่างเช่น
  • His house’s next to my house.  (บ้านของเขาอยู่ถัดจากบ้านของฉัน)
  • My mom's standing beside me. (แม่ยืนข้างๆผม)
  • I’d love to live in a house by the sea. (ผมชอบที่จะอาศัยอยู่ในบ้านติดกับทะเล)

เราใช้ against เพื่อบอกว่าสิ่งใดพาดหรือพิงอยู่กับสิ่งใด ตัวอย่างเช่น
  • Do not lean against the glass wall. (อย่าพิงผนังกระจก)
  • He placed his bike against the wall. (เขาวางจักรยานของเขาพิงกำแพง)

ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็จะเป็น preposition of place คำบุพบทบอกสถานที่ที่พบเห็นกันบ่อยๆ during, over, for, since, till/until, before, after, by, from, between ว่ามีหลักการใช้อย่างไร  คำบางคำสามารถใช้ได้หลายความหมาย เป็นทั้งคำบุพบทบอกสถานที่ และคำบุพบทบอกเวลา หรือคำบุพบทอื่นๆที่ใช้ในความหมายอื่นๆอีก  ซึ่งเราก็ต้องพยายามจดจำ หลักการใช้ ว่าคำบุพบทแต่ละคำนั้น ใช้อย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

ส่วนในกลุ่มที่ 4 ท้ายสุด in, on, at จะขอแยกไปอธิบายอีกต่างหาก เพราะ in, on, at นี้ สามารถเป็นได้ทั้ง Prepositions of place และ Prepositions of time เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะได้อธิบายรวมไปในคราวเดียว








Friday 11 October 2019

Prepositions of time คือ..? คำบุพบทบอกเวลา มีหลักการใช้อย่างไรบ้าง..?


Prepositions of time คำบุพบทบอกเวลา เพื่อบอกให้รู้ว่าบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือในช่วงเวลาใดๆ  

ทีนี้..เราก็มาดูว่า Preposition of time คำบุพบทบอกเวลานั้น มีอะไรบ้างที่พบเห็นและใช้กันบ่อยๆ..?  และมีวิธีการใช้อย่างไร..?  เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ ได้แยกออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้


1. during, over, for, since

เราใช้ during นำหน้าคำนาม (during+noun) เพื่อบอกช่วงเวลาของเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะบ่งบอกช่วงเวลาที่ระบุแน่นอน หรือบ่งบอกช่วงเวลาทั้งหมดของเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น
  • The weather is so hot during summer. (อากาศร้อนมากในช่วงฤดูร้อน)
  • Kim was in Seoul during June. (คิมอยู่กรุงโซลในช่วงเดือนมิถุนายน)
  • No one spoke during the presentation. (ไม่มีใครพูดในระหว่างการนำเสนอ)
  • I have to leave my window open during the night. (ผมต้องเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ในช่วงกลางคืน)

เราใช้ over นำหน้าคำนาม (over+noun) เพื่อบอกช่วงเวลาทั้งหมดของเหตุการณ์ หรือเฉพาะช่วงเวลา ตัวอย่างเช่น
  • I’ll read the report over the weekend. (ผมจะอ่านรายงานในช่วงสุดสัปดาห์)
  • We expect a rise in sales over the next few months. (เราคาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า)
ข้อสังเกต เราสามารถใช้ in แทน over ได้ทั้ง 2 ประโยค โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง

เราใช้  for เพื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นเป็นเวลานานเท่าไรแล้ว ตัวอย่างเช่น
  • I can only come for a few minutes. (ผมมาได้ไม่กี่นาทีเท่านั้น)
  • She has gone out for 2 hours. (เธอออกไปข้างนอกเป็นเวลา 2 ชม.แล้ว)
  • The village was flooded for 10 days. (หมู่บ้านถูกน้ำท่วมเป็นเวลา 10 วัน)
ข้อสังเกต  เรามักใช้ for กับระยะเวลา (for+length of time เช่น for 2 days, for 3 weeks, for 4 months ฯลฯ) เพื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์ได้ดำเนินมานานเท่าไรแล้ว  แต่เราจะไม่ใช้ for กับ all หรือ whole เช่น
  • It rained all/the whole day.

เราใช้ since เพื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร  ตัวอย่างเช่น
  • Jane has lived in Phuket since 2001. (เจนอาศัยอยู่ในภูเก็ตตั้งแต่ปี 2544)
  • I haven’t talked to her since Monday. (ผมไม่คุยกับเธอตั้งแต่วันจันทร์)
  • He has been talking since 8 am. (เขาพูดไม่หยุดตั้งแต่ 8 โมงเช้า)
ข้อสังเกต  เรามักจะใช้ since ในกลุ่ม Perfect tenses

2. till/until, before, after, by, from, between

เราใช้ till/until เพื่อบ่งบอกว่าเมื่อไรเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งได้เสร็จสิ้นลง  ตัวอย่างเช่น
  • John’ll teach English here till/until the next semester. (จอนจะสอนภาษาอังกฤษที่นี่จนถึงภาคการศึกษาถัดไป)
  • They drank in the pub till/until closing time. (พวกเขาดื่มในผับจนถึงเวลาปิด)
  • She won’t go to bed till/until midnight. (เธอจะไม่เข้านอนจนถึงเที่ยงคืน)

เราใช้ before/after ไว้หน้าคำนาม เพื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง ตัวอย่างเช่น
  • He came to America before the Civil War. (เขามาอเมริกาก่อนสงครามกลางเมือง)
  • If I get home before 6 pm. we can go to a movie. (ถ้าผมกลับถึงบ้านก่อน 6 โมงเย็น เราสามารถไปดูหนังได้)
  • She cleaned up the room after everyone left. (เธอทำความสะอาดห้องหลังจากทุกคนจากไป)
  • I’ll go for a walk after dinner. (ผมจะไปเดินเล่นหลังอาหารเย็น)
เราสามารถใช้ before/after ขึ้นต้นประโยคได้ โดยยังคงความหมายเหมือนเดิม
  • Before the Civil War, he came to America.
  • After dinner, I will go for a walk.

เราใช้ by เพื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์จะเสร็จสิ้นภายในเวลาใดเวลาหนึ่ง หมายความว่า ไม่เกินกว่าเวลานั้น ตัวอย่างเช่น
  • You should be here by 6 am.  (คุณควรจะมาถึงที่นี่ภายใน 6 โมงเช้า) คือ อย่างช้าไม่เกินกว่า 6 โมงเช้า
  • This report has to be done by Friday. (รายงานนี้ต้องเสร็จภายในวันศุกร์) คือ อย่างช้าไม่เกินกว่าวันศุกร์
ข้อสังเกต  เราสามารถใช้ before แทนได้ โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง

เราใช้ from เพื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเริ่มเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น
  • Tickets for the concert are on sale from Monday. (ตั๋วสำหรับคอนเสิร์ตวางจำหน่ายตั้งแต่วันจันทร์)
  • The finals take place from 1.30 pm. on Sunday. (รอบชิงชนะเลิศเกิดขึ้นตั้งแต่เวลา 13.30 น. ในวันอาทิตย์)
  • He was blind from birth. (เขาตาบอดตั้งแต่เกิด)
เราสามารถใช้ from…to/till/until  เพื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์ได้เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นในเวลาใด ตัวอย่างเช่น
  • We’re open from 8 am. to 7 pm. every day. (เราเปิดทำการตั้งแต่ 8.00 น. ถึง 19.00 น. ทุกวัน)
  • It’s very cold from October to March. (มันหนาวมากตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม)
  • Tim will be on holiday from Monday till/until Friday next week. (ทิมจะหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันจันทร์จนถึงวันศุกร์อาทิตย์หน้า)

เราใช้ between เพื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์ได้เริ่มหลังจากเวลาหนึ่งและก่อนอีกเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
  • They lived in Bangkok between 2000 and 2019. (พวกเขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯระหว่างปี พ.ศ.2543 และ 2562)
  • What were you doing between 5.30 pm. and 7 pm. yesterday. (คุณกำลังทำอะไรระหว่างเวลา 17.30 น. และ 19.00 น. เมื่อวาน)

ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็จะเป็น preposition of time (during, over, for, since, till/until, before, after, by, from, between) ที่พบเห็นและใช้กันบ่อยๆ ว่ามีหลักการใช้อย่างไร เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

ส่วนกลุ่มที่ 3 ท้ายสุด in on at จะขอแยกไปอธิบายอีกต่างหาก เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ








Thursday 10 October 2019

Preposition คือ..? มีอะไรบ้าง..?


Prepositions คำบุพบท คือ คำที่ใช้ทำหน้าที่เชื่อมคำ วลี เข้ากับคำอื่นๆในประโยค เพื่อบ่งบอกถึงเวลา สถานที่ ตำแหน่ง ทิศทาง และอื่นๆ เพื่อให้ประโยคได้ใจความสละสลวยสมบูรณ์ขึ้น

ตัวอย่าง Preposition คำบุพบท ที่ใช้กันบ่อยๆ 


Preposition คำบุพบท แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้ คือ

1. Prepositions of time (บุพบทบ่งบอกเวลา) หมายถึง คำบุพบทที่ใช้เชื่อมคำหรือวลีที่เกี่ยวกับเวลา เช่น in, on, at, before, after, until, till, since, for, during ฯลฯ ตัวอย่างเช่น
  • He always gets up before 6 o’clock. (เขาตื่นก่อน 6 โมงเช้าเสมอ)
  • Don’t talk during the lesson.  (อย่าคุยกันในระหว่างบทเรียน)
  • We must arrive home at noon.  (เราต้องมาถึงบ้านตอนเที่ยง)
  • I’ll come back here in 10 minutes.  (ผมจะกลับมาที่นี่ใน 10 นาที)
  • They have stayed here for 2 months. (พวกเขาพักอยู่ที่นี่เป็นเวลา 2 เดือน)

2. Prepositions of place (คำบุพบทบ่งบอกสถานที่) หมายถึง คำบุพบทที่ใช้เชื่อมคำหรือวลีเกี่ยวกับสถานที่ ตำแหน่ง เช่น in, on, at, inside, outside, near, above, behind, around, by (beside), opposite, under, among ฯลฯ ตัวอย่างเช่น
  • Paul is standing by Tim. (พอลกำลังยืนอยู่ข้างทิม)
  • My house is opposite the hospital.  (บ้านของผมอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาล)
  • That dog always sleeps under my car. (สุนัขตัวนั้นมักจะนอนอยู่ใต้รถฉันเสมอ)
  • Don’t sit on the grass. (อย่านั่งบนพื้นหญ้า)
  • She’s waiting at the front door. (เธอกำลังรออยู่ที่ประตูหน้าบ้าน)

3. Prepositions of direction/movement (คำบุพบทบ่งบอกทิศทาง/เคลื่อนไหว) หมายถึง คำบุพบทที่ใช้เชื่อมคำหรือวลีในเรื่องเกี่ยวกับทิศทาง เช่น to, into, toward, up, down, over, through , along, across, from ฯลฯ ตัวอย่างเช่น
  • He jumped into the river. (เขากระโดดลงไปในแม่น้ำ)
  • The walked toward the police station. (พวกเขาเดินตรงไปยังสถานีตำรวจ)
  • Let’s walk along the beach. (เดินเล่นตามชายหาดกันเถอะ)
  • We have to walk through the park. (เราต้องเดินผ่านสวนสาธารณะ)
  • Jim went to Phuket yesterday. (จิมไปภูเก็ตเมื่อวาน)

4. Prepositions of manner (คำบุพบทแสดงลักษณะอาการ) คือ คำบุพบทที่ใช้เชื่อมคำหรือวลีในเรื่องเกี่ยวกับการแสดงอาการ บ่งบอกผู้กระทำ วิธีกระทำ การแสดงความเป็นเจ้าของ การแสดงวัตถุประสงค์ ความเห็น ความสัมพันธ์ เช่น in, by, of, for, with, to, about ฯลฯ ตัวอย่างเช่น
  • They are in a hurry. (พวกเขารีบเร่ง) แสดงอาการท่าทาง
  • This story was written by Jack. (เรื่องนี้เขียนโดยแจค) แสดงผู้กระทำคือแจค
  • He goes to school by bus. (เธอไปโรงเรียนโดยรถโดยรถประจำทาง) แสดงวิถีทาง
  • I go to university for a lecture. (ผมไปมหาวิทยาลัยเพื่อฟังคำบรรยาย) แสดงวัตถุประสงค์
  • The window of the house was broken. (หน้าต่างของบ้านแตก) แสดงความเป็นเจ้าของ
  • The girl with short hair is my sister.  (หญิงสาวที่มีผมสั้นเป็นน้องสาวของผม) แสดงความสัมพันธ์
ข้อสังเกต คำบุพบท Prepositions นั้น มักจะใช้ตามหลังคำนาม (Noun) คำกริยา (Verb) หรือคำคุณศัพท์ (Adjective)

ในการอธิบาย ได้แยกย่อยคำบุพบท (Prepositions) ออกเป็นหมวดหมู่หลักๆ เพื่อความสะดวกในการจดจำ  แต่ประเด็นสำคัญ ก็คือ การนำคำบุบพท (Prepositions) ไปใช้  เราจะใช้คำบุพบทแต่ละคำอย่างไร ให้ถูกต้อง ซึ่งเราก็ต้องอาศัยการสังเกตุและจดจำ อีกทั้งคำบุพบทบางคำ ยังนำไปใช้คู่กับคำชนิดอื่นๆอีก อย่างเช่น คู่กับคำกริยา, คำคุณศัพท์, คำนาม ซึ่งกำหนดแน่ชัดว่าคำบุพบทคำไหนใช้คู่กับคำอะไร  จึงได้ทำการแยกย่อยอธิบายแต่ละหัวข้อ แต่ละประเด็น  เพื่อที่จะได้เข้าใจง่ายขึ้น.. 

ในการนำคำบุพบท (Prepositions) มาใช้คู่กับคำนาม (Nouns) คำกริยา (Verbs) หรือคำคุณศัพท์ (Adjective) เราเรียกกลุ่มคำที่ใช้ร่วมกันนี้ว่า Collocation  โดยแยกอธิบายได้ดังนี้