Total Pageviews

Sponsored Ads

Saturday 22 February 2020

Correlative Conjunctions คือ..?


สืบเนื่องมาจากบทความที่แล้ว Conjunctions คือ สันธาน มีอะไรบ้าง..? อย่างที่ทราบกันมาแล้วว่า Conjunctions คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท

ทีนี้.. เรามาดูกันต่อว่า Conjunctions คำสันธาน ประเภทที่ 3 Correlative Conjunctions นั้น คืออะไร และมีอะไรบ้าง..?


Correlative Conjunctions  เป็นคำสันธานแบบคำคู่ ที่ใช้เชื่อมประโยคอิสระ ประโยคเข้าด้วยกัน เช่น either…or, neither…nor, both…and, not only…but also ฯลฯ ตัวอย่างการใช้ เช่น

Either…or (ไม่...ก็) ใช้เช่นเดียวกันกับ or คือ ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง  ถ้าใช้เชื่อมประธาน 2 ตัว กริยาหลักจะต้องใช้ให้สอดคล้องกับประธานตัวหลัง
  • Either you or I am wrong. (ไม่คุณก็ผมผิด)
  • You can stay either with me or with Janet. (คุณสามารถพักอยู่กับผมหรือไม่ก็เจเน็ต)
  • I’ll either go for a hike or stay home and watch TV. (ผมจะไปเดินป่าหรือไม่ก็อยู่บ้านแล้วดูทีวี)

Neither…nor, nor (ไม่ทั้งสองอย่าง) ใช้เช่นเดียวกับ either…or แต่ต่างกันตรงที่ความหมาย คือ ไม่ทั้งสองอย่าง
  • Neither our families nor our friends know that we’re getting married! (ทั้งครอบครัวและเพื่อนของเราต่างก็ไม่ทราบว่าเรากำลังจะแต่งงาน)
  • Neither Paul nor I am to go. (ทั้งพอลและผมต่างก็ไม่ไป)
  • He Neither came nor called. (เขาไม่มาและไม่โทร)

Both…and (ทั้ง...และ) เป็นคำเชื่อมประโยคที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อแสดงการรวมและการต่อเนื่องของประโยค เหมือน and แต่ต้องใช้คู่กัน เช่น
  • Jane is both intelligent and beautiful. (เจนทั้งฉลาดและสวย)
  • Both Kim and Jim are friends. (ทั้งคิมและจิมเป็นเพื่อนกัน)
  • He must be both scolded and punished. (เขาต้องถูกทั้งตำหนิและลงโทษ)

Not only…but also (ไม่เพียงแต่...เท่านั้น แต่ยัง...อีกด้วย) ใช้ในความหมาย ใช่ทั้งสองอย่าง เช่น
  • She’s not only intelligent but also very funny. (เขาไม่เพียงแต่ฉลาดเท่านั้น แต่ยังตลกมากอีกด้วย)
  • I love not only her but also her family. (ผมไม่เพียงแต่รักเธอเท่านั้น แต่ยังรักครอบครัวของเธออีกด้วย)
  • This kitten needs not only food but also shelter. (ลูกแมวตัวนี้ไม่เพียงแต่ต้องการอาหารเท่านั้น แต่ยังต้องการที่พักพิงอีกด้วย)

ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ เป็น Correlative conjunctions   ที่เราพบเห็นและใช้กันบ่อยๆ ซึ่งเราก็ต้องพยายามจดจำหลักการใช้ ว่าแต่ละคำใช้อย่างไร เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง







Friday 21 February 2020

Subordinating Conjunctions คือ..?


สืบเนื่องมาจากบทความที่แล้ว Conjunctions คือ สันธาน มีอะไรบ้าง..? อย่างที่ทราบกันมาแล้วว่า Conjunctions คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท

ทีนี้.. เรามาดูกันต่อว่า Conjunctions คำสันธาน ประเภทที่ 2  Subordinating Conjunctions นั้น คืออะไร และมีอะไรบ้าง..?


Subordinating Conjunctions  คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยค 2 ประโยค ซึ่งมีความสำคัญต่างกัน โดยจะเชื่อมประโยครอง (Subordinate clause) ซึ่งเป็นประโยคไม่อิสระ เข้ากับประโยคหลัก (Main clause) ซึ่งเป็นประโยคอิสระ เพื่อบ่งบอกความสัมพันธ์ของประโยคในลักษณะต่างๆ ซึ่งตรงนี้ เพื่อความสะดวกและง่ายต่อความเข้าใจ จึงได้แยกย่อยออกอธิบาย ดังนี้ 
1. Conjunctions of cause/reason/purpose คำสันธาน ที่ใช้แสดงสาเหตุ ผลหรือความมุ่งหมาย เช่น as, because, in order that, since, so that ตัวอย่างเช่น
  • As it’s late, you should spend the night here. (เพราะว่ามันดึกแล้ว คุณควรค้างคืนที่นี้)
  • She shut her eyes because the light was so strong. (เธอหลับตาเพราะแสงไฟสว่างมาก)
  • I work hard in order that I may live well. (ผมทำงานหนักเพื่อที่ผมอาจจะมีชีวิตที่ดี)
  • Tim was punished since he was late. (ทอมถูกทำโทษ เพราะว่าเขามาสาย)
  • Come closer so that I can see your face. (เข้ามาใกล้ๆเพื่อที่ฉันสามารถเห็นใบหน้าคุณ)

2. Conjunctions of contrast/concession  คำสันธาน ที่ใช้แสดงความตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกัน เช่น though, although, even though, whereas, while ตัวอย่างเช่น
  • Though/Although/Even though he is poor, he is happy. (ถึงแม้ว่าเขายากจน เขาก็มีความสุข)
  • While/Whereas English has just five vowel sounds, some languages have 30 or more. (ในขณะที่ภาษาอังกฤษมีเสียงสระ 5 เสียง บางภาษามี 30 หรือมากกว่า) 

3. Conjunctions of condition คำสันธาน ที่ใช้แสดงเงื่อนไข เช่น if, even if, unless, in case, provided that ตัวอย่างเช่น
  • If he doesn’t change his attitude, he’ll lose his job. (ถ้าเขาไม่เปลี่ยนทัศนคติ เขาจะสูญเสียงานของเขา)
  • I feel tired even if I go to bed early. (ผมรู้สึกเพลีย ถึงแม้ว่าจะเข้านอนเร็ว)
  • They won’t come unless you invite them.  (พวกเขาจะไม่มา เว้นเสียแต่ว่าคุณเชิญพวกเขา)
  • In case I forget, here are the keys to the garage. (ในกรณีที่ฉันลืม นี่คือกุญแจโรงรถ)
  • I’ll call you up, provided that I have time. (ผมจะโทรหาคุณ ถ้าหากว่าผมมีเวลา)

4. Conjunctions of place คำสันธาน ที่ใช้แสดงสถานที่ เช่น where, wherever ตัวอย่างเช่น
  • He sat where he could see his mother.  (เขานั่งที่ซึ่งสามารถเห็นแม่ของเขา)
  • Wherever there are a lot of green trees, the air is fresh. (ที่ไหนก็ตามที่มีต้นไม้สีเขียวมากมาย อากาศก็สดชื่น) 

5. Conjunctions of manner คำสันธาน ที่ใช้แสดงอาการหรือแบบอย่าง เช่น as if, as though, as far as, ตัวอย่างเช่น
  • He acts as if he were a millionaire. (เขาทำตัวราวกับว่าเขาเป็นเศรษฐี)
  • As far as I can tell, this event is interesting.  (เท่าที่ผมสามารถบอกได้ เหตุการณ์นี้น่าสนใจ)
  • She talked as though she had seen an accident. (เธอพูดราวกับว่าเธอเคยเห็นอุบัติเหตุ)
  • As far as I know, she is sensitive.  (เท่าที่ผมรู้ เธอเป็นคนอ่อนไหว)

6. Conjunctions of time คำสันธาน ที่ใช้แสดงเวลา เช่น before, after, until/till, when, as soon as, whenever, while ตัวอย่างเช่น
  • Did he say anything before he left? (เขาพูดอะไรก่อนเขาจากไปมั้ย)
  • Tan arrived after everybody had gone home. (แทนมาถึงหลังจากทุกคนกลับบ้านแล้ว)
  • We’ll wait until/till you arrive. (พวกเราจะรอจนกว่าคุณมาถึง)
  • When you start the engine, there’s a strange noise.  (เมื่อคุณสตาร์เครื่องยนต์ มีเสียงแปลกๆ)
  • I’ll call you as soon as I get home.  (ผมจะโทรหาคุณทันทีที่ผมกลับถึงบ้าน)
  • The baby gets grumpy whenever he’s tired. (ทารกอารมณ์ไม่ดี เมื่อไรก็ตามที่เขาเหนื่อย)
  • While there is life, there is hope. (ในขณะที่มีชีวิต ก็มีความหวัง 

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็น Subordinating Conjunctions ที่เราพบเห็นและใช้กันบ่อยๆ ซึ่งเราก็ต้องพยายามจดจำหลักการใช้ ว่าแต่ละคำใช้อย่างไร เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง





Thursday 20 February 2020

Coordinating Conjunctions คือ..?


สืบเนื่องมาจากบทความที่แล้ว Conjunctions คือ คำสันธาน มีอะไรบ้าง..? อย่างที่ทราบกันมาแล้วว่า Conjunctions คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท

ทีนี้.. เรามาดูกันต่อว่า Conjunctions คำสันธาน ประเภทที่ 1 Coordinating Conjunctions นั้น คืออะไร และมีอะไรบ้าง..?

Coordinating Conjunctions  ก็คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคอิสระ 2 ประโยค ซึ่งมีความสำคัญเท่าๆกัน เข้าด้วยกัน  


For (เพราะ, เพราะว่า) ใช้แสดงสาเหตุหรือเหตุผล
  • I failed, for I was very ill this year. (ผมล้มเหลว เพราะผมป่วยมากในปีนี้)
  • They felt no fear, for they were brave soldiers. (พวกเขาไม่รู้สึกกลัว เพราะเป็นทหารที่กล้าหาญ)
  • Tom’ll be late to work, for he has a dental appointment. (ทอมจะไปทำงานสาย เพราะเขามีนัดกับทันตแพทย์)
For มีความหมายเหมือน because  และตำแหน่ง for จะต้องอยู่กลางประโยคเท่านั้น โดยวางไว้หน้าอนุประโยคที่เป็นเหตุ และมีเครื่องหมาย , คั้นระหว่างอนุประโยคทั้งสอง

So (ดังนั้น) ใช้แสดงเหตุผล
  • He’s very hungry, so he ate all the cake. (เขาหิวมาก ดังนั้น เขาจึงกินเค้กทั้งหมด)
  • I’ve drunk 6 cups of coffee today, so I’ve got a headache. (ผมดื่มกาแฟ 6 ถ้วยวันนี้ ดังนั้น ผมจึงปวดหัว)
  • I’m a vegetarian, so I don’t eat any meat. (ฉันเป็นมังสวิรัติ ดังนั้น ฉันจึงไม่กินเนื้อสัตว์)

And (และ) ใช้เชื่อมประโยคที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อแสดงการรวมและการต่อเนื่องของประโยค
  • Jane and Judy are going back New York. (เจนและจูดี้กำลังกลับนิวยอร์ค)
  • You look tired and pale. (คุณดูเหนื่อยและซีด)
  • His two favorite sports are football and basketball. (กีฬาโปรด 2 อย่างของเขาคือฟุตบอลและบาสเก็ตบอล)

Or (หรือ) ใช้แสดงการเลือกหรือการให้เลือก
  • Tom or Paul will go with me.  (ทอมหรือพอลจะไปกับผม)
  • Shall I give money to Jack or John.  (ผมจะให้เงินกับแจคหรือจอห์น)
  • You can eat your cake with a spoon or fork. (คุณสามารถกินเค้กด้วยช้อนหรือส้อม)

But, yet (แต่) ใช้เชื่อมประโยคที่มีความขัดแย้งกัน
  • I worked hard, but I failed. (ผมทำงานหนัก แต่ก็ล้มเหลว)
  • She hates John, but she has to go with him.  (เธอเกลียดจอห์น แต่เธอต้องไปกับเขา)
  • I wanted to go to the beach, but Marry refused. (ฉันต้องการไปที่ชายทะเล แต่แมรี่ปฎิเสธ)
  • He’s seventy-two, yet he still swims and runs regularly. (เขาอายุ 72 แต่เขายังว่ายน้ำและวิ่งอย่างสม่ำเสมอ)
  • Jane’s allergic to cats, yet she has three of them. (เจนแพ้แมว แต่เธอมี 3 ตัว)
  • Sam plays tennis well, yet his favorite sport is soccer. (แซมเล่นเทนนิสได้ดี แต่กีฬาโปรดของเขาคือฟุตบอล)

Nor (ไม่ทั้งสองอย่าง) ใช้แสดงการไม่เลือกทั้งสองอย่าง
  • He doesn’t eat cake, nor does he eat biscuits. (เขาไม่กินทั้งเค็กและขนมปังกรอบ)
  • Bill refuses to eat peas, nor will he touch carrots. (บิลปฎิเสธไม่กินถั่ว อีกทั้งจะไม่แตะแครอท)
  • Sarah does not like to swim, nor does she enjoy cycling. (ซาร่าห์ไม่ชอบว่ายน้ำและไม่ชอบปั่นจักรยาน)

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ for, so, and, or, but, yet, nor เป็น Coordinating Conjunctions ซึ่งเราก็ต้องพยายามจดจำหลักการใช้ ว่าแต่ละคำใช้อย่างไร เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง










Wednesday 19 February 2020

Conjunctions คือ คำสันธาน มีอะไรบ้าง..?


Conjunctions คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ทีนี้.. เรามาดูกันต่อว่า Conjunctions คำสันธาน นั้น มีอะไรบ้าง..?


ประเภทของ Conjunctions มีดังนี้

1. Coordinating Conjunctions  เป็นคำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคอิสระ 2 ประโยค ซึ่งมีความสำคัญเท่าๆกัน เข้าด้วยกัน  เช่น  for, so, and, or, but, yet, nor เช่น
  • She's not a painter. She's a writer. ใช้ but (แต่) เชื่อมประโยคเป็น She's not a painter but a writer.
บางครั้งการเชื่อมประโยคเข้าด้วยกันนั้น จะมีคำหลายคำซ้ำซ้อนกัน คำที่ซ้ำซ้อนเหล่านั้นจะถูกตัดออก จึงดูเหมือนกับการเชื่อมคำต่อคำ 
  • She is beautiful.  She is clever. ใช้ and (และ) เชื่อมประโยค เป็น She is beautiful and clever.
  • He may stay here. I may stay here. ใช้ and (และ) เชื่อมประโยคเป็น He and I may stay here.

2. Subordinating conjunctions  เป็นคำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคที่ไม่อิสระ คือมีความสำคัญต่างกัน จะมีประโยคหนึ่งเป็นประโยคหลัก (Principle clause) อีกประโยคหนึ่งเป็นประโยครอง (Subordinate clause) เช่น because, although, when, as, if, till, until, unless, since, so, as if, whether, before  เพื่อแสดงความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ อย่างเช่น เวลา สถานที่ เหตุผล จุดประสงค์ การขัดแย้งหรือแตกต่าง การเปรียบเทียบ กิริยาอาการ คำสันธานในกลุ่มนี้  ตัวอย่างเช่น
  • She doesn’t have lunch. (ประโยคหลัก) She has no money. (ประโยครอง) ใช้ because (เพราะว่า) เชื่อมประโยค เป็น She doesn’t have lunch because she has no money.
  • I will be glad. (ประโยคหลัก) She comes. (ประโยครอง) ใช้ if (ถ้า) เชื่อมประโยค เป็น I’ll be glad if she comes.

3. Correlative Conjunctions  เป็นคำสันธานแบบคำคู่ ที่ใช้เชื่อมประโยคอิสระ 2 ประโยคเข้าด้วยกัน เช่น both…and, whether…or, either…or, neither…nor, not only/but also ตัวอย่างเช่น
  • Jane likes singing. Jane likes dancing. ใช้ both…and (ทั้ง...และ) เชื่อมประโยค เป็น Jane likes both singing and dancing.
  • I want a car. I want a house. ใช้ not only/but also เชื่อมประโยค เป็น I want not only a car but also a house.

เพื่อความสะดวกในการจดจำ จึงได้ทำการแยกย่อยคำสันธาน (Conjunctions) แต่ละประเภท ออกอธิบายแยกต่างหาก แต่ละหัวข้อ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ..