Total Pageviews

Sponsored Ads

Sunday 30 June 2019

Prime auxiliary verbs คือ..?


Prime auxiliary verb คือ กริยาช่วยที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาแท้ให้เป็นไปตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. Verb to be  มีดังนี้

หลักการใช้ verb to be ในรูปกริยาช่วย มีดังนี้

1. ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้าง Continuous Tenses เพื่อแสดงให้เห็นว่า กำลังทำเช่น 
  • Robin is listening to CDs. (โรบินกำลังฟังซีดี)
  • Susan was playing the piano at 1 pm. yesterday. (ซูซานกำลังเล่นเปียโนเวลา 13.00 น. เมื่อวาน)
  • We will be leaving for Bangkok in 10 minutes. (เรากำลังจะออกเดินทางไปกรุงเทพในอีก 10 นาที)
  • Is she doing her homework? (เธอกำลังทำการบ้านใช่มั้ย)
  • Mom is not cooking dinner. (แม่ไม่ได้กำลังทำอาหารเย็น)
จะเห็นได้ว่า verb to be กริยาแท้ (Finite verb) ในรูปกริยาช่วย ได้ผันเปลี่ยนไปตามประธาน (Subject) และกาลเวลา (Tenses) 

ส่วนกริยาเติม ing ซึ่งเป็นกริยาไม่แท้ (Non-finite verb) ในรูปกริยาแท้เติม ing ซึ่งเราเรียกว่า Present Participle จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม Tenses หรือประธาน (Subject) จะคงอยู่ในรูปเดิม

2. ใช้ในโครงสร้างประโยค Passive voice  ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ  มีโครงสร้างหลัก ดังนี้  Verb to be+V3  
  • The room is cleaned every day. (ห้องถูกทำความสะอาดทุกวัน)
  • They were sold as pets. (พวกมันถูกขายเป็นสัตว์เลี้ยง)
  • Insects are being eaten by bats. (แมลงกำลังถูกกินโดยค้างคาว)
  • Was John painted the house last week?  (จอนทาสีบ้านอาทิตย์ที่แล้วใช่มั้ย)
  • The restaurant was not renovated in 2018. (ร้านอาหารไม่ได้ถูกปรับปรุงในปี 2018)
โดย verb to be ตามโครงสร้างนี้ จะผันเปลี่ยนไปตามประธาน (Subject) และ Tenses  และจะต้องตามด้วย V3 (Past Participle) หรือกริยาเติม ed

2. Verb to do  มีดังนี้

หลักการใช้ verb to do ในรูปกริยาช่วย

1. ใช้เป็นกริยาช่วย โดยใช้ร่วมกับกริยาหลัก (Main verb) เพื่อสร้างประโยคคำถาม หรือปฎิเสธ  

โครงสร้างประโยคคำถาม
                Do/Does/Did+subject+V1    เช่น
  • Does Jane like spicy food? (เจนชอบอาหารรสเผ็ดมั้ย)
  • Do you know the way to his house? (คุณรู้จักทางไปบ้านเขามั้ย)
  • What do they do? (พวกเขาทำงานอะไร)
  • Did Tim watch the news last night? (ทิมดูข่าวเมื่อคืนหรือเปล่า)
โครงสร้างประโยคปฎิเสธ
                Subject+do/does/did+not+V1     เช่น 
  • I don’t know you. (ผมไม่รู้จักคุณ)
  • Jim doesn’t like sport. (จิมไม่ชอบกีฬา)
  • He didn’t go to school yesterday. (เขาไม่ได้ไปโรงเรียนเมื่อวาน)
หมายเหตุ  Verb1 (Main verb) นี้ จะไม่ผันตามประธาน (Subject) หรือ Tenses ซึ่งจะต้องอยู่ในรูป infinitive เสมอ เพราะในรูปคำถามหรือปฏิเสธนี้ เราผัน do/does/did ตามประธาน Subject หรือ Tenses แล้ว

3. Verb to have มีดังนี้

หลักการใช้ verb to have ในรูปกริยาช่วย คือ ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้าง Perfect Tense  เช่น
  • I’ve got 9 phone calls so far today. (วันนี้จนถึงตอนนี้ผมได้รับโทรศัพท์ 9 สายแล้ว)
  • Jim hasn’t got any brothers or sisters. (จิมไม่มีพี่ชายหรือน้องสาวเลย)
  • Have you got any money? (คุณมีเงินบ้างไหม)
  • If he hadn’t eaten those mushrooms, he wouldn’t have been ill. (ถ้าเขาไม่ได้กินเห็ดพวกนั้น เขาจะไม่ป่วย)
หมายเหตุ  have/has/had ตามโครงสร้าง Perfect Tenses นี้ จะทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยในประโยค ซึ่งไม่ต้องแปลความหมาย และผันไปตามประธาน Subject และ Tenses และจะต้องตามด้วย V3 (Past Participle) หรือกริยาเติม ed ซึ่งทำหน้าที่เป็น กริยาหลัก (Main verb) ของประโยค

จะเห็นได้ว่า Primary auxiliary verbs กริยาช่วยในกลุ่มนี้ ไม่มีความหมายในตัวเอง และไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ จะต้องใช้คู่กับกริยาหลัก (Main verb) เท่านั้น




Saturday 1 June 2019

Modal auxiliary verbs คืออะไร..?


Modal auxiliary verbs คือ กริยาช่วยที่มาช่วยขยายความหมายของกริยาแท้ให้มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น will, would, shall, should, can, could, may, might, must

Modal verbs กริยาช่วยในกลุ่มนี้ มีลักษณะการใช้ ดังนี้ 

Will (จะ) ใช้ในการตัดสินใจ ข้อเสนอ ข้อสัญญา การขอร้อง หรือการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น เช่น
  • I will do my laundry tomorrow. (ฉันจะซักผ้าพรุ่งนี้)
  • I’ll go with you if you want. (ผมจะไปกับคุณถ้าคุณต้องการ)
  • I promise I won’t forget you. (ผมสัญญาผมจะไม่ลืมคุณ)
  • Will you pick me up at 7 pm. (คุณจะไปรับฉันเวลา 15.00 น.ได้มั้ย)
  • I think she won’t come. (ผมคิดว่าเธอจะไม่มา)
Shall (จะ) ใช้เสนอความช่วยเหลือ หรือข้อเสนอแนะ เช่น
  • Shall I drive for you? (ผมจะขับรถให้มั้ย)
  • Shall we go for a walk. (เราจะไปเดินเล่นกันมั้ย)
หมายเหตุ  will/shall นี้ นอกจากจะเป็น Modal auxiliary verbs แล้ว ยังเป็น Primary auxiliary verbs กริยาช่วยที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาแท้ให้เป็นไปตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ในกลุ่ม Future Tenses อีกด้วย 

can (สามารถ) ใช้อธิบายความสามารถในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในปัจจุบัน หรือการขอร้อง ขออนุญาตแบบทั่วๆไป เช่น
  • Jane can speak a little Thai. (เจนสามารถพูดภาษาไทยได้นิดหน่อย)
  • Can I have a cup of coffee? (ผมขอกาแฟสักแก้วได้มั้ย)
  • Can I borrow your car? (ฉันขอยืมรถคุณได้มั้ย)
Could (สามารถ) ใช้อธิบายความสามารถในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในอดีต หรือการขอร้อง ขออนุญาตแบบสุภาพ เช่น
  • Really sorry, I couldn’t go to your house yesterday. (ขอโทษจริงๆ ผมไม่สามารถไปบ้านคุณได้เมื่อวานนี้)
  • Could you help me? (คุณช่วยฉันได้มั้ย)
  • Could I smoke? (ผมขอสูบบุหรี่ได้มั้ย)
Must (ต้อง) ใช้แสดงถึงความจำเป็น กฎข้อบังคับ ข้อห้าม หรือแสดงความเชื่อมั่น เช่น
  • I must go now. (ฉันต้องไปแล้วหล่ะ)
  • You must not write on the wall. (คุณต้องไม่เขียนบนกำแพง)
  • She must be over 90 years old. (เธอต้องอายุมากกว่า 90 ปีแน่ๆ)
May (อาจจะ) ใช้แสดงถึงความเป็นไปได้  การร้องขอ หรือการขออนุญาตแบบสุภาพ เช่น
  • Jim may be home late. (จิมอาจจะกลับบ้านดึก)
  • May I sit here?  (ผมขอนั่งที่นี้ได้มั้ย)
  • May I borrow your dictionary? (ฉันขอยืมพจนานุกรมของคุณได้มั้ย)
Might (อาจจะ) ใช้ในการขออนุญาตที่สุภาพกว่า may หรือใช้แสดงความเป็นไปได้ที่มีความเป็นไปได้น้อยกว่า may เช่น
  • Might I borrow your money? (ผมขอยืมเงินของคุณได้มั้ย)
  • He might be there.  (เขาอาจจะอยู่ที่นั่น)
Should (ควรจะ) ใช้ในการเสนอคำแนะนำ ข้อเสนอแนะ หรือเสนอให้ความช่วยเหลือ หรือการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น เช่น
  • You should quit smoking. (คุณควรจะเลิกสูบบุหรี่)
  • Should I call a doctor. (ผมควรจะเรียกหมอดีมั้ย)
  • The proposal should be finished on time. (โครงการควรจะเสร็จตรงเวลา)
Would (จะ) ใช้ในการขอร้อง หรือข้อเสนออย่างสุภาพ หรือการขออนุญาต หรือการเชื้อเชิญ และใน if-sentences ในประโยคที่เป็นไปไม่ได้หรือเพ้อฝัน (Second Conditional)
  • Would you pass me the pepper, please? (คุณช่วยกรุณาส่งพริกไทยให้หน่อยได้มั้ย)
  • Would you like anything else. (คุณจะรับสิ่งอื่นอีกมั้ย)
  • Would you mind if I sat here? (คุณจะรังเกียจมั้ยถ้าผมนั่งที่นี่)
  • Would you like to have dinner with me? (คุณจะทานอาหารเย็นกับผมมั้ย)
  • If I were you, I would say sorry. (ถ้าผมเป็นคุณ ผมจะพูดขอโทษ)
การใช้ Modal verbs นั้น อาจจะแบ่งลักษณะการใช้ออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
  • ใช้แสดงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของความเป็นไปได้ ว่าสิ่งที่กล่าวนั้นเป็นไปได้หรือมีความสามารถแค่ไหน เช่น may, might, can, could
  • ใช้ในการให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ เช่น should
  • ใช้แสดงความจำเป็น กฎข้อบังค้บ เช่น must
  • ใช้แสดงความสุภาพ มารยาททางสังคมต่างๆ เช่น การร้องขอ การขออนุญาต เช่น can, could, may, might, shall, will, would
หมายเหตุ  Modal auxiliary verbs กริยาช่วยในกลุ่มนี้ ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ จะต้องอยู่คู่กับกริยาแท้ (Finite verb) และกริยาแท้ตัวนั้นจะต้องอยู่ในรูป infinitive (Verb1 ที่ไม่ผันตามประธาน Subject หรือกาล Tense) เสมอ