Dynamic verbs และ Stative
verbs นั้น ต่างกันอย่างไร..?
คำกริยาในภาษาอังกฤษนั้น เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า คือ อาการกระทำ ซึ่งมีอยู่เยอะแยะมากมาย แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มหลายประเภท เช่น regular verbs, irregular verbs, infinitive verbs, past verbs, past participle verbs, helping verbs หรือ auxiliary verbs แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำกริยาอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. Dynamic
verbs หรือ Action verbs (คำกริยาแสดงอาการ)
2. Stative
verbs หรือ State verbs (คำกริยาแสดงสภาวะ)
Dynamic verbs หรือ Action
verbs เป็นคำกริยาที่แสดงอาการกระทำออกมา มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งคำกริยาในกลุ่มนี้มีเยอะแยะมากมาย เช่น play, rain, watch, buy, work, meet, drink,
run, speak, start, pay, study ฯลฯ
- She plays tennis every Friday. (เธอเล่นเทนนิสทุกวันศุกร์)
- It’s raining at this moment. (ฝนกำลังตกอยู่ในตอนนี้)
- Last night, he got angry at me because I changed the channel while he was watching his favorite show. (เมื่อคืนนี้ เขาโกรธฉัน เพราะว่าฉันเปลี่ยนช่องขณะที่เขากำลังดูรายการโปรด)
- My mother bought a new car last week. (แม่ของผมซื้อรถคันใหม่อาทิตย์ที่แล้ว)
- They have worked since 6 o’clock this morning. (พวกเขาทำงานตั้งแต่ 6 โมงเช้านี้)
- Jake has been studying Thai since 2001. (แจคเรียนภาษาไทยมาตั้งแต่ปี 2001)
** เราจะเห็นได้ว่า คำกริยาในกลุ่ม Dynamic
verbs (คำกริยาแสดงอาการ) นี้ สามารถนำไปใช้ในรูปของ Simple,
Continuous และ Perfect ได้ โดยผันคำกริยาไปตามรูปแบบโครงสร้าง
Tenses ของประโยค
Stative verbs หรือ State
verbs (กริยาแสดงสภาวะ) เป็นคำกริยาที่ไม่ได้แสดงอาการกระทำออกมา แต่แสดงสภาวะต่างๆ เช่น การรับรู้ การแสดงความคิดเห็น ความเชื่อ การแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ รวมไปถึงการวัด การประมาณค่า การแสดงความเป็นเจ้าของ
Stative verbs (คำกริยาแสดงสภาวะ) นี้ เราไม่สามารถนำไปใช้ในรูปของ Continuous Tense ได้ ซึ่งคำกริยาในกลุ่มนี้ เราจะใช้กับ Simple Tense จะไม่นำมาใช้ในรูปเติม –ing ใน Continuous Tense ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นกำลังกระทำหรือดำเนินอยู่ก็ตาม เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เราแบ่งคำกริยากลุ่มนี้ออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้ ดังนี้
Stative verbs (คำกริยาแสดงสภาวะ) นี้ เราไม่สามารถนำไปใช้ในรูปของ Continuous Tense ได้ ซึ่งคำกริยาในกลุ่มนี้ เราจะใช้กับ Simple Tense จะไม่นำมาใช้ในรูปเติม –ing ใน Continuous Tense ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นกำลังกระทำหรือดำเนินอยู่ก็ตาม เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เราแบ่งคำกริยากลุ่มนี้ออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้ ดังนี้
1. กริยาที่แสดงประสาทสัมผัสการรับรู้
- I hear some music playing. (ฉันได้ยินเสียงเพลงบรรเลง)
I’m hearing some music playing.- This perfume smells like rose. (น้ำหอมนี้กลิ่นคล้ายดอกกุหลาบ)
This perfume is smelling like rose.- He seems upset right now. (เขาดูเหมือนว่าอารมณ์เสียอยู่ตอนนี้)
He’s seeming upset right now.
2. กริยาที่แสดงสภาพจิตใจ ความรู้สึกหรืออารมณ์
- They like Durian ice cream. (ฉันชอบไอศครีมทุเรียน)
They’re liking Durian ice cream.- I hope I can do it. (ผมหวังว่าผมสามารถทำมันได้)
I’m hoping I can do it.- She wants money now. (เธอต้องการเงินตอนนี้)
She’s wanting money now.
3. กริยาที่แสดงสภาวะทางความคิด
- I’ve known my best friend since childhood. (ผมรู้จักเพื่อนที่ดีที่สุดของผมมาตั้งแต่เด็กๆ)
I’ve been knowing my best friend since childhood.- We agree with you. (เราเห็นด้วยกับคุณ)
We’re agreeing with you.- He understands the lesson. (เขาเข้าใจบทเรียน)
He’s understanding the lesson.
4. คำกริยาแสดงความเป็นเจ้าของ
* belong (เป็นของ) have/has (มี) own (เป็นเจ้าของ) possess (ครอบครอง,ครอบงำ,เป็นเจ้าของ)
- This book belongs to me. (หนังสือนี้เป็นของฉัน)
This book’s belonging to me.- They have a luxury car. (พวกเขามีรถคันหรู)
They’re having a luxury car.
5. คำกริยาแสดงการวัดหรือประเมินค่า
* weigh (ชั่งน้ำหนัก) measure (วัด) cost (มีราคา) contain (บรรจุ)
- This piece of meat weighs 2 kilograms. (เนื้อชิ้นนี้หนัก 2 กิโลกรัม)
This piece of meat’s weighing 2 kilograms.- It cost 250 baht. (มันราคา 250 บาท)
It’s costing 250 baht.
- This box contains a pair of earrings. (กล่องนี้บรรจุต่างหู 1 คู่)
This box‘s containing a pair of earrings.- Success depends on your efforts. (ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความพยายามของคุณ)
Success’s depending on your efforts.- This class will involve lots of research. (ชั้นเรียนนี้จะเกี่ยวข้องกับการวิจัยมากมาย)
This class will be involving lots of research.
หมายเหตุ ** คำกริยา stative verbs บางคำมี 2 ความหมาย เป็นได้ทั้ง stative verbs (กริยาแสดงสภาวะ) และ dynamic verbs (กริยาแสดงอาการ) ทีนี้ เรามาเรียนรู้กันต่อว่า คำกริยาที่เป็นได้ทั้ง dynamic verbs และ stative verbs นั้น มีอะไรบ้าง..?
agree
ReplyDelete