Total Pageviews

Sponsored Ads

Showing posts with label หลักการใช้ 12 Tenses... Show all posts
Showing posts with label หลักการใช้ 12 Tenses... Show all posts

Thursday 8 November 2018

อธิบาย หลักการใช้ Past Perfect Continuous Tense ชัดเจน เข้าใจง่าย


Past Perfect Continuous Tense คือ อดีตกาลสมบูรณ์แบบกำลังกระทำ ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งมีอีกเหตุการณ์หนึ่งในอดีตเข้ามาแทรก โดยมีโครงสร้างของประโยค ดังนี้


จากโครงสร้างของประโยค จะเห็นได้ว่าเป็นการนำโครงสร้างของ 2 Tenses มารวมกัน คือ Past Perfect Tense ( S+had+v3) และ Present Continuous Tense (S+is,am,are+v-ing) มาเชื่อมต่อรวมกันเป็น Past Perfect Continuous Tense (S+had+been+v-ing) โดยเปลี่ยน is,am,are เป็น been (v3) ตามโครงสร้าง Perfect Tense

ส่วน Infinitive หรือ Verb1 ในโครงสร้าง Continuous Tense นั้น มีหลักการเติม ing ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติม) และมีคำกริยาบางคำที่ไม่สามารถนำมาใช้เติม ing ในรูปของ Continuous Tense ได้ ซึ่งเราเรียกคำกริยากลุ่มนี้ว่า stative verbs คำกริยาแสดงสภาวะ (อ่านเพิ่มเติม)


หลักการใช้ Past Perfect Continuous Tense  

เราใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ในอดีต โดยเหตุการณ์หนึ่งได้เกิดขึ้นก่อน ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเข้ามาแทรก เช่น
  • Book had been drinking milk out the carton when mom walked into the kitchen. (บุ๊คดื่มนมหมดกล่องตอนที่แม่เดินเข้าไปในห้องครัว)
  • I’d been working at the company for 6 years when it went out of business. (ผมทำงานที่บริษัทมาเป็นเวลา 6 ปีเมื่อบริษัทเลิกกิจการ)
  • The program had been working well since 1970 before it was terminated. (โปรแกรมทำงานได้ดีตั้งแต่ปี 1970 ก่อนที่มันถูกยกเลิก)
  • Jane’d been running for 15 kilometers a day before she broke her leg. (เจนวิ่ง 15 กิโลเมตรต่อวัน ก่อนที่เธอจะขาหัก)
จะเห็นได้ว่า  เราใช้ Past Perfect Continuous Tense  กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเข้ามาแทรก เหตุการณ์ที่เข้ามาแทรก เราใช้ Past Simple Tense
  • Peter had been throwing rocks at Joy’s window for 5 minutes before she came out on the balcony and said “ Hi, Peter. “ (ปีเตอร์ขว้างก้อนหินที่หน้าต่างของจอยเป็นเวลา 5 นาที ก่อนที่เธอจะออกไปที่ระเบียงและพูดว่า สวัสดี ปีเตอร์)
  • Had Jane been teaching English in Thailand for more than a year before she left for Laos? (เจนสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมากว่า 1 ปี ก่อนที่เธอเดินทางไปลาวใช่มั้ย)
  • Paul had not been studying Thai very long before he moved to Thailand. (พอลเรียนภาษาไทยไม่นานก่อนที่เขาย้ายไปอยู่ประเทศไทย)
เรามักจะใช้ when (เมื่อ,ขณะที่) before (ก่อน) เป็นตัวเชื่อมประโยคใน Past Perfect Continuous Tense 
  • when และ before ตามหลังด้วย Past Simple Tense

เราใช้ Past Perfect Continuous Tense คู่กับ Past Simple Tense กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้วในอดีตทั้ง 2 เหตุการณ์ โดย Past Perfect Continuous Tense เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งมีอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เป็น Past Simple Tense เข้ามาแทรก

เราใช้ Past Perfect Continuous Tense นี้ เพื่อที่จะเน้นย้ำการกระทำในอดีตที่ได้ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเข้ามาแทรก

นอกจากนี้ เรายังใช้ Past Perfect Continuous Tense บอกถึงสาเหตุและผลของการกระทำในอดีต ได้อีกด้วย เช่น
  • Cindy gained weight because she’d been overeating. (ซินดี้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเพราะเธอกินมากเกินไป)
  • They failed the final test because they had not been attending class. (พวกเขาสอบปลายภาคตก เพราะพวกเขาไม่ได้เข้าชั้นเรียน)

เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เราใช้ Past Simple Tense ร่วมกับ Past Perfect Continuous Tense  นอกจากนี้เรายังใช้คู่กับ Past Perfect Tense และ Past Continuous Tense อีกด้วย โดย Past Simple Tense นี้ จะใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทีหลังเสมอ..

Wednesday 7 November 2018

สรุปหลักการใช้ Present Perfect Continuous Tense and Present Perfect Tense ต่างกันอย่างไร..?



จากหลักการใช้ที่ได้กล่าวไว้ในบทความที่แล้วว่า Present Perfect Continuous Tense นี้ มีหลักการใช้คล้ายๆกันกับ Present Perfect Tense  เมื่อมันมีหลักการใช้ที่คล้ายๆกัน แล้วเราจะรู้ได้ยังงัยหล่ะ ว่าเราจะใช้ Tenses ไหน..?  ซึ่งมันก็มีข้อแตกต่างในการใช้อยู่  

ทีนี้.. เราก็มาดูกันว่า ข้อแตกต่างระหว่าง Present Perfect Continuous Tense กับ Present Perfect Tense นั้น ใช้ต่างกันอย่างไร..? 

Present Perfect Continuous Tense
Present Perfect Tense
1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และดำเนินมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
2. ในปัจจุบัน หรือในขณะที่พูด เหตุการณ์นั้นก็กำลังดำเนินอยู่ คือยังไม่สิ้นสุด
1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต ดำเนินมาระยะหนึ่ง และอาจจะดำเนินมาถึงปัจจุบัน
2. ในปัจจุบัน หรือในขณะที่พูด เหตุการณ์นั้น อาจจะสิ้นสุดแล้ว หรือยังไม่สิ้นสุดก็ได้
  • I’ve been decorating my hours since January this year. ฉันได้ตกแต่งบ้านมาตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ (ในขณะที่พูด ก็ยังตกแต่งบ้านไม่เสร็จ)
  • She’s just painted the bedroom pink. เธอเพิ่งทาสีห้องนอนสีชมพู (ในขณะที่พูด เพิ่งทาสีเสร็จ แต่เรายังเห็นผลของการกระทำ คือเห็นห้องนอนสีชมพู)
  • Paul’s lived here since he was born. พอลอาศัยอยู่ที่นี่ตั้งแต่เขาเกิด (ในขณะที่พูด พอลอาจยังอาศัยอยู่ หรือไม่อาศัยอยู่ก็ได้)
  • Paul’s been living here since he was born. พอลอาศัยอยู่ที่นี่ตั้งแต่เขาเกิด (ในขณะที่พูด พอลก็ยังคงอาศัยอยู่ที่นี่)
  • Jane has already done her project.  เจนทำโครงการของเธอเสร็จเรียบร้อยแล้ว (ในขณะที่พูด การกระทำเพิ่งจะเสร็จสิ้นสุดลง)
  • Jane’s been doing her project for 3 months. เจนทำโครงการของเธอเป็นเวลา 3 เดือน (ในขณะที่พูด เจนก็ยังทำโครงการของเธอไม่เสร็จ)

จะเห็นได้ว่าหลักสำคัญของ Present Perfect Continuous Tense นั้น ก็คือ จะต้องเป็นเหตุการณ์หรือการกระทำ (ในปัจจุบัน, ในขณะที่พูด) ที่ยังไม่เสร็จสิ้น คือยังไม่จบ เท่านั้น ส่วนจะกระทำตลอดโดยไม่หยุดพัก หรือจะกระทำบ้าง หยุดบ้าง พักบ้าง ตรงนี้ใช่สาระสำคัญ 

เพราะสาระสำคัญของ Present Perfect Continuous Tense ก็คือ ต้องเป็นการกระทำที่ยังไม่เสร็จสิ้น ยังไม่จบ เท่านั้น

ส่วน Present Perfect Tense นั้น การกระทำอาจจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังส่งผลมาถึงปัจจุบัน หรือเพิ่งจะเสร็จสิ้น หรือการกระทำนั้นอาจจะยังไม่สิ้นสุดก็ได้  ซึ่งต่างกับ Present Perfect Continuous Tense ที่การกระทำนั้นยังคงกระทำอยู่ ยังไม่สิ้นสุด

หลักการใช้ทั้ง 2 Tenses ไม่ยากใช่มั้ยค่ะ..?  ถ้าเราเข้าใจ เราก็สามารถนำหลักนี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องทั้ง 2 Tenses..:)



Tuesday 6 November 2018

อธิบาย หลักการใช้ Present Perfect Continuous Tense อย่างเข้าใจได้ ง่ายสุด


Present Perfect Continuous Tense คือ ปัจจุบันกาลแบบสมบูรณ์กำลังกระทำ  ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต และดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และจะดำเนินต่อไปในอนาคต  โดยมีโครงสร้างของประโยค ดังนี้ 


จากโครงสร้างของประโยค จะเห็นได้ว่าเป็นการนำโครงสร้างของ 2 Tenses มารวมกัน คือ Present Perfect Tense  (S+has/have+v3) และ Present Continuous Tense (S+is,am,are+v-ing) มาเชื่อมต่อรวมกันเป็น Present Perfect Continuous Tense (S+has/have+been+v-ing) โดยเปลี่ยน is,am,are เป็น been (v3) ตามโครงสร้าง Perfect Tense

ส่วน Infinitive หรือ Verb1 ในโครงสร้าง Continuous Tense นั้น มีหลักการเติม ing ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติม) และมีคำกริยาบางคำที่ไม่สามารถนำมาใช้เติม ing ในรูปของ Continuous Tense ได้ ซึ่งเราเรียกคำกริยากลุ่มนี้ว่า stative verbs คำกริยาแสดงสภาวะ (อ่านเพิ่มเติม)


หลักการใช้ Present Perfect Continuous Tense นั้น

เราใช้หลักการเดียวกันกับ Present Perfect Tense ในข้อที่ 1 คือ ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต และการกระทำหรือเหตุการณ์นั้น ได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  และจะดำเนินต่อเนื่องไปในอนาคต เช่น
  • I have been thinking about us for some time. (ผมคิดเรื่องของเรามาพักหนึ่งแล้ว) ในขณะที่พูด ก็ยังคิดอยู่
  • We’ve been waiting here for 2 hours.  (เรารออยู่ที่นี่มาเป็นเวลา 2 ชม.แล้ว) ในขณะที่พูด ก็ยังรออยู่
  • Ben has not been practicing his Thai for 1 year. (เบนไม่ได้ฝึกภาษาไทยมา 1 ปีแล้ว) ในขณะที่พูด ก็ยังไม่ได้ฝึกภาษา
  • Jim and Jane have been teaching English in Thailand since 2017.  (จิมและเจนสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2017) ในขณะที่พูด ก็ยังสอนอยู่
  • Nancy’s been feeling a little depressed recently. (ช่วงนี้แนนซี่รู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ) ในขณะที่พูด ก็ยังรู้สึกอยู่
  • Have you been exercising lately? (ระยะนี้คุณออกกำลังกายบ้างมั้ย) ในขณะที่พูด ยังออกกำลังกายอยู่หรือเปล่า
  • He's been watching The Walking Dead for 1 year. (เขาดู The Walking Dead มาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว) ในขณะที่พูด ก็ยังคงดูอยู่ คือซีรีย์ยังมีตอนต่อๆไป ยังไม่จบ

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า เราใช้ Present Perfect Continuous Tense เพื่อที่จะเน้นย้ำการกระทำ ว่าได้กระทำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน  และการกระทำนั้นก็ยังคงดำเนินอยู่ คือยังไม่เสร็จสิ้น ยังไม่จบ และก็จะดำเนินต่อไปในอนาคต  

เราสามารถใช้ Present Perfect Continuous Tense โดยไม่ระบุช่วงเวลา (for) หรือจุดเวลา (since) ก็ได้ โดยเราสามารถที่จะใช้ lately หรือ recently (ช่วงนี้, ระยะนี้) แทนก็ได้

จากหลักการใช้ที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า Present Perfect Continuous Tense นี้ มีหลักการใช้คล้ายๆกันกับ Present Perfect Tense เมื่อมันมีหลักการใช้ที่คล้ายๆกัน แล้วเราจะรู้ได้ยังงัยหล่ะ ว่าเราจะใช้ Tenses ไหน..?  ซึ่งมันก็มีข้อแตกต่างในการใช้อยู่  



Monday 22 October 2018

อธิบาย หลักการใช้ Future Perfect Tense ชัดเจน เข้าใจง่าย




Future Perfect Tense คือ อนาคตกาลสมบูรณ์แบบ  ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในอนาคต โดยมีโครงสร้างประโยค ดังนี้


จากโครงสร้างของประโยค จะเห็นได้ว่าเป็นการนำโครงสร้างของ 2 Tenses มารวมกัน คือ Future Simple Tense ( S+will+v1) และ Present Perfect Tense (S+have/has+v3) มาเชื่อมต่อรวมกันเป็น Future Perfect Tense (S+will+have+v3) โดยเราใช้ have กับประธานทุกตัว ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์  เนื่องจากตามหลัง will ซึ่งเป็นกริยาช่วย (Auxiliary or helping verbs) ที่มีหลักว่ากริยาที่ตามหลังจะต้องเป็นรูปธรรมดา (infinitive) ที่ไม่ผันเปลี่ยนรูปตามประธาน นั่นก็คือ have ซึ่ง have ก็ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยเช่นเดียวกัน และไม่ต้องแปลความหมายในประโยค

ส่วน verb3 (Past Participle) นั้น มีหลักการเปลี่ยนคำกริยาเช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนคำกริยา verb2 (Simple Past) เป็น Past Tense


หลักการใช้  Future Perfect Tense มีดังนี้

1. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต
  • By this time next week, Paul will have worked on his project for 11 months.  (เมื่อถึงเวลานี้ในสัปดาห์หน้า พอลจะทำงานในโครงการของเขาเป็นเวลา 11 เดือน)
  • She’ll have started a new job by next Monday. (เธอจะเริ่มงานใหม่ภายในวันจันทร์หน้า)
  • At 4 o’clock, I’ll have been in this office for 24 hours. (เมื่อถึงบ่าย 4 โมง ผมจะอยู่ที่สำนักงานนี้เป็นเวลา 24 ชม.)
  • By the time I’m 55, I’ll have retired. (ตอนที่ฉันอายุ 55 ปี ฉันจะเกษียณ)
  • By 11 o’clock, I’ll have finished my company financial report. (เมื่อถึงเวลา 11 โมง ผมจะทำรายงานทางการเงินของบริษัทเสร็จ)
  • He’ll not have completed his research by this Friday. (เขาจะทำงานวิจัยไม่เสร็จในวันศุกร์นี้)
  • Will she have saved enough money to study abroad next year? (เธอจะเก็บเงินได้มากพอที่จะเรียนต่อต่างประเทศในปีหน้ามั้ย)
  • Won’t you have sent the document by Wednesday? (คุณจะไม่ส่งเอกสารในวันพุธหรือ)

จะเห็นได้ว่า เราใช้ประโยค Future Perfect Tense นี้ เพื่อที่จะบ่งบอกถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในอนาคต  กล่าวคือ เรากำลังคาดการณ์ถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วและจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต   

เรามักจะใช้คำเหล่านี้   
  • by the time (ในขณะที่,ตอนที่) 
  • by this time tomorrow, next Tuesday, next week, next month (เมื่อถึงเวลานี้ในวันพรุ่งนี้, วันอังคารหน้า, สัปดาห์หน้า, เดือนหน้า)
  • by next Monday, week, month, year (เมื่อถึงวันจันทร์หน้า, สัปดาห์หน้า, เดือนหน้า,ปีหน้า)
  • by this Sunday, March (เมื่อถึงวันเสาร์นี้,เดือนมีนาคมนี้)
  • by tomorrow (ในวันพรุ่งนี้)
  • by tomorrow morning, afternoon (เมื่อถึงเช้าพรุ่งนี้, บ่ายพรุ่งนี้)
  • by midnight, midday (เมื่อถึงเที่ยงคืน, เที่ยงวัน) 
  • by this Friday, week, month, year (ในวันศุกร์นี้, สัปดาห์นี้,เดือนนี้,ปีนี้)     ประกอบอยู่ในประโยค

2. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำ 2 เหตุการณ์ที่จะเสร็จสิ้นในอนาคต
  • Before she sees her publisher, Jean will have finished her new novel.  (ก่อนที่เธอไปพบผู้จัดพิมพ์ เจนคงจะเขียนนิยายใหม่เสร็จแล้ว)
  • When we get married, I’ll have known Robert for 5 years. (เมื่อเราแต่งงาน ฉันจะรู้จักโรเบิร์ตเป็นเวลา 5 ปี)
  • We will not have eaten breakfast before we get to the airport tomorrow morning.  (เราจะไม่กินอาหารเช้าก่อนเราไปถึงสนามบินพรุ่งนี้เช้า)
  • Will they have finished decorating the float before the parade starts? (พวกเขาจะตกแต่งขบวนรถแห่เสร็จก่อนขบวนพาเหรดเริ่มมั้ย) 
  • When I get to the airport, the plane will have taken off. (เมื่อฉันไปถึงสนามบิน เครื่องบินคงจะบินขึ้นแล้ว)

จะเห็นได้ว่า เหตุการณ์หรือการกระทำที่เสร็จสิ้นก่อน เราใช้ Future Perfect Tense   ส่วนอีกเหตุการณ์หรือการกระทำที่เสร็จสิ้นทีหลัง เราใช้ Present Simple Tense

ในกรณีนี้ เรามักจะใช้ before (ก่อน) when (เมื่อ, ตอนที่) มาเป็นคำเชื่อมประโยค โดย
  • ประโยคที่อยู่หลัง when, before เราใช้ Present Simple Tense

ข้อสังเกต  จากตัวอย่าง Future Perfect Tense เราจะเห็นได้ว่า เมื่อถึงช่วงเวลาที่เราได้กำหนดไว้ในอนาคต  เราก็จะเห็นเหตุการณ์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์  


Thursday 18 October 2018

อธิบาย หลักการใช้ Past Perfect Tense อย่างชัดเจน เข้าใจง่ายสุด




Past Perfect Tense คือ อดีตกาลสมบูรณ์แบบ  ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำในอดีตที่เกิดขึ้นและเสร็จสิ้นสมบูรณ์  ก่อนที่จะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น  โดยมีโครงสร้างของประโยค ดังนี้


Had  ใช้ได้กับประธานทุกตัว (She had, They had, I had)

หมายเหตุ   had ตามโครงสร้าง Past Perfect Tense นี้ ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย (Auxiliary or helping verbs) ของประโยค ซึ่งไม่ต้องแปลความหมาย  ส่วน verb3 (Past Participle) นั้น มีหลักการเปลี่ยนคำกริยาเช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนคำกริยา verb2 (Simple Past) เป็น Past Tense


หลักการใช้ Past Perfect Tense   

เราใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้วในอดีต  โดยเหตุการณ์หนึ่งได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่ง เช่น
  • The film had started before we arrived.  (ภาพยนตร์เริ่มฉายแล้วก่อนที่เรามาถึง)
  • When he graduated, he had been in New York for five years. (เมื่อเขาจบการศึกษา เขาเคยอยู่นิวยอร์คเป็นเวลา 5 ปี) คือเขามาถึงนิวยอร์ค 5 ปีก่อนที่เขาจะจบการศึกษา และอาศัยอยู่ที่นิวยอร์คจนกระทั่งเขาจบการศึกษา
จะเห็นได้ว่า  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อน เราใช้ Past Perfect Tense  ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดทีหลัง เราใช้ Past Simple Tense
  • They had forgotten the answer until the teacher reminded them.  (พวกเขาลืมคำตอบ จนกระทั่งคุณครูเตือนความจำพวกเขา)
  • After Jane had attended university, she became a police officer. (หลังจากเจนได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแล้ว เธอกลายเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
  • The patient had died before the doctor came. (ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วก่อนที่คุณหมอมาถึง)
  • She had gone before you reached. (เธอออกไปแล้วก่อนที่คุณมาถึง)
  • Jane had not help Jack when he needed her help. (เจนไม่ได้ช่วยแจ๊คเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือจากเธอ)
  • Paul had not told me the truth when I asked him. (พอลไม่ได้บอกความจริงกับฉันตอนที่ฉันถามเขา)
  • Had you finished your work when the manager came here?  (คุณทำงานเสร็จแล้วยังเมื่อผู้จัดการมาที่นี่)
  • By the time we got up, Jim had cooked breakfast. (ตอนที่เราลุกขึ้น จิมทำอาหารเช้าแล้ว)

เรามักจะใช้คำเหล่านี้ เป็นคำเชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน 
before (ก่อน)  after (หลังจาก)  when (เมื่อ, ตอนที่) until (จนกระทั่ง) by the time (ในขณะที่, ตอนที่)

ซึ่งมีหลักการใช้ดังนี้
  • before ตามด้วย Past Simple Tense
  • after ตามด้วย Past Perfect Tense
  • when ตามด้วย Past Simple Tense
  • until ตามด้วย Past Simple Tense
  • by the time ตามด้วย Past Simple Tense

จะเห็นได้ว่า เราใช้ Past Perfect Tense คู่กับ Past Simple Tense กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้วในอดีตทั้ง 2 เหตุการณ์ โดย Past Perfect Tense เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อนอีกเหตุการณ์ที่เป็น Past Simple Tense ซึ่งเกิดขึ้นและสิ้นสุดลงทีหลัง ในประโยคเราจะกล่าวถึงเหตุการณ์ใดก่อนหลังไม่สำคัญ เพราะ Tense จะบอกอย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นหลัง

Past Simple Tense นี้ นอกจากเราจะใช้คู่กับ Past Perfect Tense แล้ว เรายังใช้คู่กับ Past Continuous Tense อีกด้วย..


Tuesday 16 October 2018

อธิบาย หลักการใช้ Present Perfect Tense อย่างละเอียด เข้าใจง่าย



Present Perfect Tense  คือ ปัจจุบันกาลแบบสมบูรณ์  ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต  และส่งผลหรือดำเนินมาถึงปัจจุบัน และอาจมีผลหรือดำเนินต่อไปในอนาคต โดยมีโครงสร้างของประโยค ดังนี้


Have ใช้กับประธานพหูพจน์  (They have, We’ve, I have, you’ve)
Has ใช้กับประธานเอกพจน์  (She has, It’s, Jim has)

หมายเหตุ   have/has ตามโครงสร้าง Present Perfect Tense นี้ ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย (Auxiliary or helping verbs) ของประโยค ซึ่งไม่ต้องแปลความหมาย  ส่วน verb3 (Past Participle) นั้น มีหลักการเปลี่ยนคำกริยาเช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนคำกริยา verb2 (Simple Past) เป็น Past Tense 

ตัวอย่างประโยคตามโครงสร้าง
ประโยคบอกเล่า   She has studied very hard. (เธอเรียนหนักมาก)
ประโยคคำถาม    Has she studied very hard?
ประโยคปฏิเสธ     She has not studied very hard. 


หลักการใช้ Present Perfect Tense มีดังนี้

1. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต และการกระทำหรือเหตุการณ์นั้น ได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และอาจจะดำเนินต่อเนื่องไปในอนาคต เช่น
  • She has worked in the bank for seven years.  (เธอทำงานที่ธนาคารมาเป็นเวลา 7 ปี) กล่าวคือ เธอได้ทำงานที่ธนาคารมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมเป็นเวลา 7 ปี และก็จะทำงานที่ธนาคารต่อไปในอนาคต
  • They haven’t lived in Thailand since they were young. (พวกเขาไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่เด็ก)
  • Jane’s studied Thai for 2 years. (เจนเรียนภาษาไทยมาเป็นเวลา 2 ปี)
  • The workers have built our house for 9 months. (คนงานสร้างบ้างของเรามาเป็นเวลา 9 เดือน)
  • I’ve owned this car since 2007. (ผมเป็นเจ้าของรถคันนี้มาตั้งแต่ปี 2007)
  • Paul hasn’t worked on Friday since he joined the company. (พอลไม่ได้ทำงานในวันศุกร์ตั้งแต่เขาเข้าร่วมงานกับบริษัท)

ข้อสังเกต  เรามักจะใช้ 
  • since (ตั้งแต่) เมื่อไหร่ เวลาไหน วันไหน สัปดาห์ไหน เดือนไหน ปีไหน คือเป็นจุดหนึ่งของเวลา
  •  for (เป็นเวลา)  กี่นาที กี่ชั่วโมง กี่วัน กี่สัปดาห์ กี่เดือน กี่ปี คือตามด้วยช่วงเวลา   ประกอบอยู่ในประโยคด้วยเสมอ

2. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต และเพิ่งจะสิ้นสุดลง และอาจจะส่งผลมาถึงปัจจุบัน เช่น
  • Paul has just received your letter.  (พอลเพิ่งจะได้รับจดหมายของคุณ)
  • I’ve just finished the report. (ผมเพิ่งจะทำรายงานเสร็จ)
  • She’s just bought a new car. (เธอเพิ่งจะซื้อรถคันใหม่)
  • Grandma has already had breakfast. (คุณยายทานอาหารเช้าเรียบร้อยแล้ว) คุณยายทานมื้อเช้าแล้ว แต่อาจจะส่งผลมาถึงปัจจุบัน คือ คุณยายอาจจะยังรู้สึกอิ่มอยู่
  • Jane’s just gone to supermarket. (เจนเพิ่งจะออกไปซุปเปอร์มาร์เกต) เจนได้ออกไปซุปเปอร์มาร์เกตแล้ว ส่งผลมาถึงปัจจุบัน ก็คือยังไม่กลับมา
  • Has Jim found his car key yet? (จิมพบกุญแจรถของเขาแล้วยัง) จิมได้ทำกุญแจรถหาย และส่งผลมาถึงปัจจุบัน ว่าเขาอาจจะพบหรือไม่พบกุญแจที่หาย

3. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งเป็นประสบการณ์ของเรา 
  • I have been to Sydney many times. (ฉันเคยไปซิดนีย์หลายครั้ง)
  • I’ve never been to America yet. (ฉันยังไม่เคยไปอเมริกา)
  • Have you ever seen ghosts? (คุณเคยเห็นผีมั้ย)
  • Jane has run the Bangkok marathon. (เจนเคยวิ่งกรุงเทพมาราธอน)
  • Jim has never eaten a sushi. (จิมไม่เคยกินซูชิ)
  • Those kids haven’t ever played football. (เด็กเหล่านั้นไม่เคยเล่นฟุตบอล)

ข้อสังเกต  นอกจากคำว่า since และ for แล้ว เรายังเห็นคำเหล่านี้ในประโยค Present Perfect Tense อีกด้วย 
ซึ่งจะอยู่ระหว่าง have/has กับ v3 ยกเว้น yet ที่อยู่ท้ายประโยค

จะเห็นได้ว่า  เราใช้ Present Perfect Tense  เพื่อเชื่อมโยงอดีตเข้ากับปัจจุบัน กล่าวคือ เหตุการณ์หรือการกระทำนั้นได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต และได้เสร็จสิ้นไปแล้ว แต่ผลของการกระทำนั้นได้เชื่อมโยงมาถึงปัจจุบัน คือยังเห็นผลของการกระทำนั้นได้ในปัจจุบัน  และการกระทำนั้นก็อาจจะส่งผลต่อไปในอนาคตด้วยก็ได้  โดยการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น เราไม่ได้ระบุเวลาไว้อย่างชัดเจน ว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ซึ่งเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ แต่สาระสำคัญอยู่ที่ผลลัพธ์ของการกระทำที่เชื่อมโยงมาถึงปัจจุบันนั่นเอง..


Friday 12 October 2018

Future Simple Tense กับ Future Continuous Tense ต่างกันอย่างไร..?



หลักการใช้ระหว่าง Future Simple Tense กับ Future Continuous Tense นั้น จะแตกต่างกันตรงที่การกระทำ โดย 
  • Future Simple Tense จะเป็นความคิดที่จะกระทำในอนาคต แต่อาจจะไม่กระทำก็ได้  ส่วน Future Continuous Tense นั้น จะเป็นการบ่งบอกแบบเน้นย้ำไปเลยว่าจะกระทำแน่ๆในอนาคต

ตัวอย่าง
  • I will watch Who wants to be a Millionaire tonight.
  • I will be watching Who wants to be a Millionaire tonight.

ประโยคแรก Future Sim. เป็นเพียงความคิดที่จะดูรายการ Who wants to be a Millionaire  ซึ่งเมื่อถึงเวลาอาจจะดูหรือไม่ดูก็ได้  ส่วนประโยคที่สอง Future Con. เป็นการระบุบ่งบอกแน่ชัดไปเลยว่า ผมจะกำลังดูรายการ Who wants to be a Millionaire แน่ๆคืนนี้  คือเมื่อถึงเวลาก็จะเห็นผมกำลังดูรายการอยู่

จะเห็นได้ว่าประโยคใน Future Con. นั้น จะเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือเข้าไปว่า ฉันจะกระทำแน่ๆเมื่อเวลาที่ระบุไว้ในอนาคตมาถึง คือเมื่อถึงเวลานั้น ก็จะเห็นฉันกำลังกระทำอยู่


ดังที่กล่าวไว้ในบทที่แล้วว่า Future Continuous Tense นี้ จะไม่ค่อยมีการนำมาใช้พูดในหลักภาษาไทยเรา จะกำลังกระทำส่วนมากเราก็จะใช้แต่ในรูปของ Future Simple Tense “ จะทำหรือการใช้ในรูปของ be going to จะทำหรือ กำลังจะทำ ”  แต่เมื่อเราต้องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เราก็จำเป็นต้องเรียนรู้หลักของ Tense นี้ไว้ รวมทั้งความแตกต่างในการใช้  เผื่อมีโอกาสได้ใช้หรือได้ยินได้ฟังจากชาวต่างชาติ เราก็จะได้เข้าใจความหมาย  สามารถสื่อสารได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง..:)



Wednesday 10 October 2018

อธิบาย หลักการใช้ Future Continuous Tense อย่างชัดเจน แบบเข้าใจได้ง่ายสุด



Future Continuous Tense คือ อนาคตกาลที่จะกำลังกระทำ  ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะกำลังเกิดขึ้นหรือจะกำลังกระทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต โดยมีโครงสร้างของประโยคดังนี้


จากโครงสร้างของประโยค จะเห็นได้ว่าเป็นการนำโครงสร้างของ 2 Tenses มารวมกัน คือ Future Simple Tense ( S+will+v1) และ Present Continuous Tense (S+is,am,are+v-ing) มาเชื่อมต่อรวมกันเป็น Future Continuous Tense (S+will+be+v-ing) โดยเปลี่ยน is,am,are เป็น be เนื่องจากตามหลัง will ซึ่งเป็นกริยาช่วย ที่มีหลักว่ากริยาที่ตามหลังจะต้องเป็นรูปธรรมดา (infinitive) ที่ไม่ผันเปลี่ยนรูปตามประธานหรือ Tense นั่นก็คือ verb to be ซึ่งเป็นรูปธรรมดาของ is,am,are/was,were/been นั่นเอง

ส่วน Infinitive หรือ verb1 ในโครงสร้าง Continuous Tense นั้น มีหลักการเติม ing ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติม) และมีคำกริยาบางคำที่ไม่สามารถนำมาใช้เติม ing ในรูปของ Continuous Tense ได้ ซึ่งเราเรียกคำกริยากลุ่มนี้ว่า stative verbs คำกริยาแสดงสภาวะ (อ่านเพิ่มเติม)

ตัวอย่างประโยคตามโครงสร้าง 
ประโยคบอกเล่า   They will be announcing the results of the elections after 6 am. tomorrow.  (พวกเขาจะกำลังประกาศผลการเลือกตั้งหลังจาก 6 โมงเช้าวันพรุ่งนี้)
ประโยคคำถาม    Will they be announcing the results of the elections after 6 am. tomorrow?
ประโยคปฎิเสธ     They will not/won’t be announcing the results of the elections after 6 am. tomorrow.


หลักการใช้ Future Continuous Tense มีดังนี้

1. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะกำลังเกิดขึ้นหรือจะกำลังกระทำในช่วงเวลาเวลาหนึ่งในอนาคต โดยระบุเวลาเฉพาะเจาะจงไว้อย่างชัดเจน เช่น
  •  We will be leaving in 15 minutes. (เราจะกำลังออกเดินทางในอีก 15 นาที)
  • At 5 o’clock tomorrow, I’ll be attending a student parent conference. (เวลา 5 โมงเย็นวันพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังเข้าร่วมการประชุมผู้ปกครองนักเรียน)
  • Eric and Dave will be running the marathon this Saturday. (อีริคและเดฟจะกำลังวิ่งมาราธอนในวันเสาร์นี้)
  • She’ll be watching movie in the cinema today at 1 pm. (เธอจะกำลังดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์วันนี้ตอนบ่ายโมง)
  • Jane will be meeting Paul tonight. (เจนจะกำลังพบกับพอลคืนนี้)

2. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะกำลังเกิดขึ้นหรือจะกำลังกระทำในอนาคต แล้วมีอีกเหตุการณ์หนึ่งแทรกเข้ามาขัดจังหวะ เช่น
  • I’ll be waiting for you when your train arrives. (ผมจะกำลังรอคุณเมื่อรถไฟมาถึง)
  • Olga will be working when celebration starts. (ออลก้าจะกำลังทำงานเมื่องานเลี้ยงสังสรรค์เริ่มขึ้น)
  • Don’t phone grandpa now, he’ll be having dinner. (อย่าโทรหาคุณปู่ตอนนี้ ท่านจะกำลังทานอาหารเย็น)
  • When you come tomorrow evening, they’ll be cooking dinner. (เมื่อคุณมาในวันพรุ่งนี้ตอนเย็น พวกเขาจะกำลังทำอาหารเย็น)
หมายเหตุ  * เหตุการณ์แรกที่จะกำลังเกิดขึ้นนั้น เราใช้ Future Continuous Tense จะเป็นการกระทำที่สามารถกระทำหรือดำเนินอยู่ได้ในเวลานานๆ  และอีกเหตุการณ์หนึ่งที่แทรกเข้ามาขัดจังหวะ เราใช้ Present Simple Tense  ซึ่งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในเวลาอันสั้นและสิ้นสุดลงก่อนเหตุการณ์แรกที่จะกำลังเกิดขึ้น
  •  The band will be playing when the president enters. จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์แรก คือ วงดนตรีจะกำลังเล่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่จะกำลังกระทำและสามารถดำเนินอยู่ได้ในเวลานานๆ เราใช้ Future Con. แล้วอีกเหตุการณ์หนึ่ง ประธานเข้ามา เป็นเหตุการณ์ที่เข้ามาขัดจังหวะในเวลาอันสั้นและสิ้นสุดลงก่อน เราใช้ Present Sim.  

3. ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่จะกำลังเกิดขึ้นพร้อมกันในอนาคต
  • I’ll be working hard next week while you’ll be relaxing on the beach. (ผมจะกำลังทำงานหนักในสัปดาห์หน้า ในขณะที่คุณจะกำลังพักผ่อนอยู่บนชายหาด)
  • At the concert tomorrow, Ben will be playing the piano while Sarah will be singing.  (ณ คอนเสิร์ตวันพรุ่งนี้ เบนจะกำลังเล่นเปียโน ในขณะที่ซาร่าห์จะกำลังร้องเพลง)

เราใช้ while, as และ when มาเป็นคำเชื่อมประโยค  
  • ประโยคที่อยู่หลัง while และ as (ในขณะที่) จะเป็น Future Con.
  • ประโยคที่อยู่หลัง when (เมื่อ, ตอนที่) จะเป็น Present Sim.

หลักการใช้ Future Continuous Tense นี้ จะเห็นได้ว่าไม่มีการนำมาใช้พูดในหลักภาษาไทยเรา จะกำลังกระทำ ส่วนมากเราก็จะใช้แต่ในรูปของ Future Simple Tense “ จะทำ หรือการใช้ในรูปของ be going toจะทำหรือ กำลังจะทำ ”  แต่เมื่อเราต้องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เราก็จำเป็นต้องเรียนรู้หลักของ Tense นี้ไว้ เผื่อมีโอกาสได้ใช้หรือได้ยินได้ฟังจากชาวต่างชาติ เราก็จะได้เข้าใจความหมาย  สามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง..:)

ข้อสังเกต  จากตัวอย่าง Future Continuous Tense เราจะเห็นได้ว่า เมื่อถึงช่วงเวลาที่เราได้กำหนดไว้ในอนาคต เราก็จะเห็นเหตุการณ์นั้นกำลังดำเนินอยู่  ทีนี้.. แล้วมันจะแตกต่างกันอย่างไรกับ Future Simple Tense หล่ะ..? (อ่านต่อ)