Verb to have คือ
กริยากลุ่มหนึ่งที่เป็นได้ทั้งกริยาหลัก (Main verbs) และกริยาช่วย (Prime auxiliary verbs)
โดยมีหลักการใช้ Verb
to have ดังนี้
Verb to have ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก
(Main Verbs) ถ้าใช้ในความหมายว่า “ มี
“ จะเป็น Stative verbs แสดงความเป็นเจ้าของ
จะใช้ใน Continuous Tenses (v-ing) ไม่ได้ แต่ถ้าใช้ในความหมายว่า “ ทาน/รับประทาน/ดื่ม “ ถือว่าเป็น Dynamic verbs สามารถใช้ใน Continuous Tenses (v-ing) ได้ ยกตัวอย่างเช่น
- I have an idea. (ผมมีความคิด)
- The baby has blue eyes. (เด็กทารกมีดวงตาสีฟ้า)
- They have 2 kids. (พวกเขามีลูก 2 คน)
- He had a motorcycle last year. (เขามีรถมอเตอร์ไซค์ปีที่แล้ว)
- Chai and Joy are having dinner right now. (ชัยและจอยกำลังทานอาหารเย็นตอนนี้)
- Nid will be having breakfast at 7 am. tomorrow. (นิดจะกำลังทานอาหารเช้าเวลา 07.00 น. พรุ่งนี้)
- He had coffee for breakfast last month. (ผมดื่มกาแฟเป็นอาหารเช้าเมื่อเดือนที่แล้ว)
เมื่อ verb to have ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (Main verb) จะต้องนำ verb
to do มาช่วยในประโยคคำถามและปฎิเสธ เช่น
- She doesn’t have a car. (เธอไม่มีรถ)
- I don’t have time to do it. (ผมไม่มีเวลาทำมันเลย)
- Where do you have lunch? (คุณทานอาหารเที่ยงที่ไหน)
- Does he have a clue? (เขามีเบาะแสมั้ย)
- Did Jai have a terrible dream last night? (ใจฝันร้ายเมื่อคืนที่แล้วใช่มั้ย)
หมายเหตุ Verb to have (Main verb) ในประโยคคำถาม/ปฎิเสธนี้ จะต้องไม่ผันตามประธาน (Subject) หรือ Tenses
คือจะต้องอยู่ในรูป infinitive คือ have
เสมอ เพราะในรูปคำถาม/ปฏิเสธนี้ เราผัน do/does/did
ตามประธาน Subject หรือ Tenses แล้ว
verb to have ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย
โดยมีหลักการใช้ ดังนี้ คือ
1. ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้าง
Perfect Tense เช่น
- Pim has lived here all her life. (พิมอาศัยอยู่ที่นี่มาตลอดชีวิตของเธอ)
- We haven’t forgotten our Korean friends. (พวกเรายังไม่ลืมเพื่อนชาวเกาหลีของพวกเรา)
- Have they tried to help you? (พวกเขาพยายามช่วยคุณหรือเปล่า)
- Where has she gone? (เธอไปไหน)
- Had Jack met her before the party. (แจคได้พบเธอก่อนงานปาร์ตี้มั้ย)
- If he had not been lazy, he would have passed the exam. (ถ้าเขาไม่ขี้เกียจ เขาจะสอบผ่าน)
หมายเหตุ
have/has/had ตามโครงสร้าง Perfect
Tenses นี้ จะทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยในประโยค
ซึ่งไม่ต้องแปลความหมาย และผันไปตามประธาน Subject และ Tenses
และจะต้องตามด้วย V3 (Past Participle) หรือกริยาเติม
ed ซึ่งทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (Main verb) ของประโยค
2. ใช้ has/have/had to ในความหมายว่า “ ต้อง “ เช่น
- Children have to go to school. (เด็กๆต้องไปโรงเรียน)
- She doesn’t have to see the doctor. (เธอไม่ต้องไปหาหมอ)
- John has to wear a tie at work. (จอนต้องผูกเนคไทที่ทำงาน)
- I had to work yesterday. (ผมต้องทำงานเมื่อวาน)
ข้อสังเกต Have/has/had
to ในความหมายว่า “ ต้อง “ นี้มีความหมายคล้ายกันกับ must “ ต้อง “ ที่เป็น Modal auxiliary verb ซึ่งกริยาที่จะตามหลัง
to นั้น จะต้องเป็น v1 (infinitive) ที่ไม่ผันตามประธาน
(Subject) หรือ Tenses
นอกจากนี้ verb
to have ยังใช้ในประโยค Causative forms ที่แสดงถึงการกระทำที่ผู้พูดไม่ได้เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง
ซึ่งมีอยู 2 กรณี คือ
1. ให้ใครทำบางอย่างให้กับผู้พูด have
someone do something โดยมีโครงสร้างดังนี้ Subject+have/has/had+someone+v1+something เช่น
- The teacher has the students write a test. (ครูให้นักเรียนเขียนข้อสอบ)
- He’ll have his assistant call you with the details. (เขาจะให้ผู้ช่วยของเขาโทรหาคุณพร้อมรายละเอียด)
- Did she have the electrician repair the TV. (เธอให้ช่างซ่อมทีวีแล้วยัง)
- I had my son clean the house yesterday. (ฉันให้ลูกชายทำความสะอาดบ้านเมื่อวาน)
2. ให้ใครทำบางอย่างให้
โดยไม่พูดถึงผู้กระทำ have
something done โดยมีโครงสร้างดังนี้ Subject+have/has/had+something+v3
เช่น
- The students have their essays checked. (บทความของนักเรียนได้รับการตรวจ-มีคนตรวจให้)
- I had my house cleaned. (บ้านของฉันสะอาด-มีคนทำให้)
- John will have his house painted. (จอนจะทาสีบ้าน-มีคนจะทาให้)
- I’ll have my hair cut tomorrow. (ฉันจะตัดผมพรุ่งนี้-มีคนจะตัดให้)
เรายังใช้ Have
ในสำนวนบางสำนวน เช่น Have a nice day, Have fun, Have a
good time, Have a safe trip เป็นต้น