คำกริยาแท้ Verb1
(infinitive) ในโครงสร้าง Continuous Tense นั้น มีหลักการเติม -ing ดังนี้
1. คำกริยาโดยทั่วไปเติม -ing
ท้ายคำกริยาได้เลย
- cook-cooking (ทำอาหาร)
- draw-drawing (วาด)
- do-doing (ทำ)
- eat-eating (กิน)
- treat-treating (เลี้ยง, รักษา, ปฏิบัติต่อ)
- pour-pouring (ริน)
- speak-speaking (พูด)
- start-starting (เริ่ม)
- answer-answering (ตอบ)
- listen-listening (ฟัง)
- visit-visiting (เยี่ยมเยียน)
2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e
ให้ตัด e ออกแล้วเติม –ing
- hope-hoping (หวัง)
- ride-riding (ขี่)
- make-making (ทำ)
- write-writing (เขียน)
- bake-baking (อบ)
- smile-smiling (ยิ้ม)
3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ee,
ye และ oe ให้เติม –ing ได้เลย
- agree-agreeing (เห็นด้วย)
- see-seeing (เห็น)
- flee-fleeing (หนี)
- dye-dyeing (ย้อมสี)
- tiptoe-tiptoeing (เดินย่อง, เดินด้วยปลายเท้า)
4. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ie
ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม
–ing
- die-dying (ตาย)
- tie-tying (ผูก, มัดให้แน่น)
- lie-lying (โกหก)
5. คำกริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระเสียงสั้นตัวเดียว
ตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัว แล้วเติม –ing
- stop-stopping (หยุด)
- plan-planning (วางแผน)
- fit-fitting (พอดี,ติดตั้ง)
- beg-begging (ขอ)
- swim-swimming (ว่ายน้ำ)
- shut-shutting (ปิด)
- cut-cutting (ตัด)
- sit-sitting (นั่ง)
- run-running (วิ่ง)
- jog-jogging (วิ่งเหยาะๆ)
6. คำกริยา
2 พยางค์ที่ลงท้ายด้วยสระตัวเดียว
และออกเสียงเน้นหนักพยางค์หลัง ให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัว แล้วเติม –ing
- prefer-preferring (ชอบมากกว่า)
- refer-referring (อ้างอิง)
- admit-admitting (ยอมรับ, รับเข้าไว้)
- commit-committing (ทำความผิด, มอบหมายให้)
- permit-permitting (อนุญาต)
- occur-occurring (เกิดขึ้น)
- begin-beginning (เริ่มต้น)
** แต่ถ้าออกเสียงเน้นหนักพยางค์หน้า
ไม่ต้องเพิ่มตัวสะกดตัวท้าย ให้เติม -ing ได้เลย
- inherit-inheriting (รับมรดก)
- target-targeting (ตั้งเป้าหมาย)
- cover-covering (คลุม, ปิดบัง)
- open-opening (เปิด)
ซึ่งก็คือคำกริยาโดยทั่วไปที่เติม –ing
นั่นเอง แต่มีคำกริยาบางคำที่ไม่สามารถนำมาใช้เติม ing ในรูปของ Continuous Tense ได้ ซึ่งเราเรียกคำกริยากลุ่มนี้ว่า Stative verbs คำกริยาแสดงสภาวะ