สืบเนื่องมาจากบทความที่แล้ว
เราทราบกันแล้วว่า การที่จะเปลี่ยนประโยค Active
voice เป็น Passive voice โดยการสลับตำแหน่งกัน
ระหว่างประธานกับกรรม โดยการนำกรรมของประโยค Active voice มาอยู่ในตำแหน่งประธานและทำหน้าที่ประธานของประโยค Passive voice นั้น มีหลักอย่างไร..?
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ใช่จะเปลี่ยนประโยค Active
voice เป็น Passive voice ได้ทั้งหมดทุกประโยค
ยังมีเงื่อนไขข้อยกเว้นอื่นๆประกอบอีก
ทีนี้.. เรามาดูกันต่อว่า
มีข้อห้ามหรือข้อยกเว้นอะไรบ้าง..? ที่ไม่สามารถเปลี่ยนประโยค Active
voice เป็น Passive voice ได้
ข้อยกเว้น ก็คือ มีคำกริยาบางคำที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น
Passive
voice ได้ คือ
1. คำกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ (Intransitive
verbs)
- He runs very fast.
- I slept well last night.
- Jane drives to school every day.
คำกริยากลุ่มนี้
ไม่สามารถนำมาทำเป็นประโยค Passive voice ได้เลย
2. คำกริยาที่มีกรรมมารองรับ (Transitive
verbs) บางคำ ก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นประโยค Passive
voice ได้ เช่น belong,
have, own, possess, fit, lack, resemble, suit เป็นต้น
- Jim has a Thai Bangkaew dog.
A Thai Bangkaew dog is had by Jim.- This coat doesn’t fit me.
I am not fitted by this coat.- She resembles a princess. (เธอคล้ายกับเจ้าหญิง)
A princess is resembled by her.- Jim lack tact. (จิมขาดไหวพริบ)
Tact is lacked by Jim.- This house belongs to me. (บ้านหลังนี้เป็นของผม)
I am belonged by this house.
3. คำกริยาที่ไม่สมบูรณ์ความ (Verb of incomplete Predication) คำกริยาในกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ แต่จะไม่มีใจความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง กล่าวคือ จะต้องมีคำอื่นๆ (Complement) มาประกอบหรือขยายความให้ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น is, am, are, was, were, look, become, seem เป็นต้น
- Jim became a doctor.
A doctor was become by Jim.- I am an English teacher.
An English teacher is been by me.- She looks very sad.
Very sad is looked by her.
คำกริยาในกลุ่มนี้ ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเป็น
Passive
voice ได้เลย เพราะคำที่ตามหลังคำกริยาเหล่านี้ ไม่ใช่กรรม
แต่เป็นส่วนเติมเต็ม (Complement) ที่มาช่วยขยายให้ได้ใจความสมบูรณ์เท่านั้น
No comments:
Post a Comment