Past participle คือ
คำกริยาช่อง 3 ไม่ว่าจะเป็นคำกริยาเติม ed
หรือคำกริยาเปลี่ยนรูป (Irregular verbs)
ทีนี้.. เรามาดูกันว่า Past
participle มีหน้าที่และใช้อย่างไร..?
1. ใช้ Past participle ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) มี 2 แบบ คือ
- ใช้ขยายคำนาม โดยวางอยู่หน้าคำนามที่มันขยาย
เช่น
- The escaped prisoner was arrested. (นักโทษหลบหนีถูกจับ)
- The spoken language is informal language. (ภาษาพูดเป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการ)
- That dog has the broken leg. (สุนัขตัวนั้นขาหัก)
- ใช้เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยา
(Complement of verbs) เพื่อขยายประธานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
คำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยานี้
มักจะตามหลัง verb to be เช่น
- I’m so excited to see you. (ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เจอคุณ)
- Some students are tired. (นักเรียนบางคนเหนื่อยล้า)
- She’s interested in you. (เธอสนใจในตัวคุณ)
2. ใช้ Past participle ในโครงสร้าง Perfect Tenses โดยวางไว้หลัง have/has ที่ต้องผันเปลี่ยนไปตามกาล Tenses
- Paul has studied Thai for 6 months. (พอลเรียนภาษาไทยมา 6 เดือนแล้ว)
- Our family has been living here since I was born. (ครอบครัวของเราอาศัยอยู่ที่นี่ตั้งแต่ผมเกิด)
- She will have been in London by next Tuesday. (เธอจะอยู่ในลอนดอนวันอังคารหน้า)
- The match had started before we arrived. (การแข่งขันเริ่มขึ้นก่อนที่พวกเรามาถึง)
3. ใช้ Past participle ในโครงสร้าง Passive voice โดยวางไว้หลัง verb
to be ซึ่งต้องผันเปลี่ยนตามกาล Tenses เพื่อแสดงให้เห็นว่าประธาน
(Subject) เป็นผู้ถูกกระทำ
- The gifts are given to me on my birthday every year. (ของขวัญถูกมอบให้ผมในวันเกิดของผมทุกๆปี)
- Their house was built by our company. (บ้านของพวกเขาถูกสร้างโดยบริษัทของเรา)
- The new contract will be signed soon. (สัญญาใหม่จะได้รับการลงนามเร็วๆนี้)
สรุปได้ว่า Past participle คำกริยาช่อง 3 นี้ ทำหน้าที่ได้ 3 แบบ คือ
- ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective)
- ใช้ในโครงสร้าง Perfect Tenses
- ใช้ในโครงสร้าง Passive voice
เพราะฉะนั้น Past participle คำกริยาช่อง 3 นี้ ไม่ว่าจะเป็นคำกริยาเติม
ed หรือคำกริยาเปลี่ยนรูป (Irregular
verbs) เราจะต้องพิจารณาแยกแยะให้ได้ว่า
คำๆนั้นทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective)
หรือใช้ในประโยค Perfect Tenses หรือใช้ใน Passive voice
No comments:
Post a Comment