Total Pageviews

Sponsored Ads

Saturday, 14 September 2019

Infinitive without to มีหลักการใช้อย่างไรบ้าง..?


สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว Infinitive with to มีหน้าที่และใช้อย่างไร..?  ทีนี้.. เรามาดูกันต่อในส่วน Infinitive without to ว่า คืออะไร..? และใช้อย่างไรบ้าง..?

Infinitive without to ก็คือ คำกริยา (Verb1) ที่ไม่มี to นำหน้า โดยมีหลักการใช้ ดังนี้ 


1. ใช้ Infinitive without to หลังกริยาช่วย (Modal auxiliary verbs) เช่น will, shall, should, can, may, must และ verb to do ตัวอย่างเช่น
  • She should talk to him first. (เธอควรจะพูดคุยกับเขาก่อน)
  • It may rain later in the evening.  (ฝนอาจจะตกภายหลังในตอนเย็น)
  • I do admit that she was wrong. (ผมยอมรับว่าเธอผิดจริงๆ)
  • I do hate him. (ฉันเกลียดเขาจริงๆ)
หมายเหตุ เราใช้ verb to do เพื่อเน้นย้ำคำกริยา หรือการกระทำให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น 

2. ใช้ Infinitive without to หลังกริยาบางคำ เช่น like, let, make, see, know, watch, hear, feel, help ฯลฯ ในโครงสร้าง S+v+obj+infinitive without to  ตัวอย่างเช่น
  • I saw her light the candle. (ฉันเห็นคุณจุดเทียน)
  • Jim watched them play.  (จิมดูพวกเขาเล่น)
  • We heard her sing a song. (เราได้ยินเธอร้องเพลง)
  • She made me wait.  (เธอทำให้ผมรอ)

หมายเหตุ ถ้าเป็นโครงสร้าง Passive voice ต้องใช้ Infinitive with to เช่น
  • She was heard to sing a song.
  • I was made to wait.

3. ใช้ Infinitive without to หลังคำเหล่านี้  rather than, had better, would rather, would sooner  ตัวอย่างเช่น
  • You had better consult the doctor. (คุณควรปรึกษาแพทย์ดีกว่า
  • I would rather go alone.  (ผมอยากไปคนเดียวมากกว่า)

4. ใช้ Infinitive without to หลังคำเหล่านี้ and, or, except, but, than, as, ตัวอย่างเช่น
  • My son does nothing but watch TV. (ลูกชายของผมไม่ทำอะไรนอกจากดูทีวี)
  • We had nothing to do except play cards. (เราไม่มีอะไรทำนอกจากเล่นไพ่)

5. ใช้ Infinitive without to หลัง Why หรือ Why not  ตัวอย่างเช่น
  • Why call when you send them an email? (ทำไมต้องโทรเมื่อคุณส่งอีเมลถึงพวกเขา)
  • Why not try it yourself? (ทำไมไม่ลองด้วยตัวคุณเอง)

ทีนี้.. เราก็รู้แล้วว่า Infinitive with to กับ Infinitive without to มีหน้าที่และใช้ต่างกันอย่างไร..?   ไวยากรณ์ในเรื่องนี้ มีความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและในการทดสอบ  ต้องพยายามจำให้ได้ และพยายามฝึกใช้ ว่าแต่ละคำควรใช้เมื่อไหร่ ใช้คู่กับอะไร เมื่อเราเกิดความเคยชิน เราก็จะใช้คำเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง






Friday, 13 September 2019

Infinitive with to ใช้อย่างไร รู้มั้ย..?


Infinitive with to ก็คือ คำกริยา (Verb1) ที่จะต้องมี to นำหน้า ซึ่งไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ กำหนดว่า คำกริยาเหล่านี้ จะต้องมี to นำหน้า เช่น to go, to watch, to drink, to sleep, to eat เป็นต้น

ทีนี้.. มาดูกันว่า Infinitive with to มีหน้าที่และใช้อย่างไรบ้าง..?

Infinitive with to มีหน้าที่ ดังนี้

1. เป็นคำนาม (Nouns) ทำหน้าที่เป็นประธาน (Subject of a verb) ของกริยาในประโยค คล้าย Gerund เช่น
  • To watch English movies is a good way to learn English. (การดูหนังภาษาอังกฤษเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งในการเรียนภาษาอังกฤษ)
  • To be a superstar is my goal.  (การเป็นดาราดังคือเป้าหมายของฉัน)
  • To beg is a disgraceful act. (การขอเป็นการกระทำที่น่าอับอาย)
2. เป็นคำนาม (Nouns) ทำหน้าที่เป็นกรรม (Object of a verb) ของกริยาในประโยค โดยใช้ตามหลังคำกริยาหลัก (Main verb)
  • He likes to run.  (เขาชอบการวิ่ง)
  • I love to sing(ฉันรักการร้องเพลง)
  • She tried to solve the problem. (เธอพยายามแก้ปัญหา)

3. เป็นคำนาม (Nouns) ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยา (Complement of a verb) เพื่อขยายประธานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น  จะตามหลัง verb to be
  • My desire is to become a doctor. (ความปรารถนาของผมคือการเป็นหมอ)
  • His greatest ambition is to climb Mt. Everest.  (ความใฝ่ฝันอันสูงสุดของเขาคือการปีนภูเขาเอเวอร์เรส)

4. เป็นคำนาม (Nouns) ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท (Object of preposition) จะวางอยู่หลังคำบุพบท เช่น
  • He is about to speak the truth. (เขากำลังจะพูดความจริง)
  • Nothing remained except to fold the tent and go home. (ไม่มีสิ่งใดเหลือนอกจากพับเต็นท์และกลับบ้าน)

5. ทำหน้าที่เสมือนคุณศัพท์ (Adjective) ขยายคำนามหรือสรรพนาม โดยใช้ตามหลังคำนามหรือสรรพนามนั้นๆ  เช่น
  • This is the best time to start.  (นี่เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะเริ่ม)
  • My mom bought me a bike to ride. (แม่ของผมซื้อจักรยานให้ผมขี่)
  • There is nothing to say. (ไม่มีอะไรจะพูด)
6. ทำหน้าที่คล้ายกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ใช้ตามหลังคำกริยาหลัก (Main verb) เพื่อแสดงวัตถุประสงค์หรือเหตุผลในการกระทำกริยานั้น 
  • Jim wants to meet you. (จิมต้องการพบคุณ)
  • He decided to change schools.  (เขาตัดสินใจเปลี่ยนโรงเรียน)
  • Paul locked the door to keep everyone out. (พอลล๊อคประตูเพื่อให้ทุกคนออกไป)
  •  I turned my face to avoid him. (ฉันหันหน้าหลบเขา)
เราสามารถใช้วลี in order to (เพื่อ) หรือ in order not to (เพื่อไม่) ในการแสดงวัตถุประสงค์หรือเหตุผลได้ เช่น
  • I went to Paul’s office in order to meet him. (ผมไปที่สำนักงานของพอลเพื่อพบเขา)
  • He’ll take a taxi in order not to miss the plane. (เขาจะนั่งแท็กซี่เพื่อไม่ให้พลาดเครื่องบิน)  
หมายเหตุ  จะเห็นได้ว่า ในโครงสร้างประโยค S+v+obj+infinitive with to ที่ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ (Adverb) นั้น เราสามารถใช้ in order to ในประโยคได้ 
  • I turned my face to avoid him.
  • To avoid him, I turned my face.
  • I turned my face in order to avoid him.
  • In order to avoid him, I turned my face.
เราสามารถใช้ infinitive with to หรือ in order to ขึ้นต้นประโยคได้ โดยใช้เครื่องหมาย , (comma)

7. ทำหน้าที่เสมือนคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) โดยการตามหลังคำคุณศัพท์ (Adjective) บางคำ เพื่ออธิบายเหตุผล หรือแสดงความคิดเห็น เช่น

  • She was very happy to see him come home. (เธอมีความสุขมากที่เห็นเขากลับบ้าน)
  • Jane is very lucky to have a new job. (เจนโชคดีมากที่ได้งาน ใหม่)
  • He thinks it’s easy to learn a new language.  (เขาคิดว่ามันง่ายในการเรียนรู้ภาษาใหม่)
  • You were clever to find the answer so quickly. (คุณฉลาดในการค้นหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว
  • It’s difficult not to drink. (มันยากที่จะไม่ดื่ม)

ทีนี้.. มาดูกันต่อว่า เมื่อไหร่ที่เราจะใช้ Infinitive with to 
1. เมื่ออยู่หลังคำกริยาเหล่านี้  ในโครงสร้าง S+v+infinitive with to เช่น 

  •  We manage to travel together. (เราจัดการที่จะเดินทางท่องเที่ยวไปด้วยกัน)
  • Jane refused to come with me. (เจนปฎิเสธที่จะมากับผม)
  • I’ll try not to forget. (ผมจะพยายามไม่ลืม)

2. เมื่ออยู่หลังคำกริยาเหล่านี้ ในโครงสร้าง S+v+obj+infinitive with to เช่น

  • John forced me to explain the truth. (จอนบังคับผมให้อธิบายความจริง)
  • He’ll invite Jane to join the party. (เขาจะเชิญเจนร่วมงานปาร์ตี้)
  • Can you remind Paul to call me?  (คุณช่วยเตือนพอลให้โทรหาผมได้มั้ย)

3. เมื่ออยู่หลังคำ ought (ควรจะ) get used (เคยชิน) used (เคย) เช่น
  • Joy ought to go with her sister.  (จอยควรจะไปกับน้องสาวของเธอ)
  • I don’t get used to live in town. (ผมไม่เคยชินกับการอาศัยอยู่ในเมือง)
  • She used to be a long distance runner 5 years ago. (เธอเคยเป็นนักวิ่งระยะไกลเมื่อ 5 ปีที่แล้ว)

4. ใช้ในโครงสร้าง verb to be+infinitive with to หรือ verb to have+infinitive with to ในความหมายว่า ต้อง “ ในการขอร้องหรือออกคำสั่ง เช่น
  • I’m to leave for bank now. (ผมต้องออกไปธนาคารตอนนี้)
  • You have to quit smoking. (คุณต้องเลิกสูบบุหรี่)

5. เมื่ออยู่หลัง Wh questions (Question words)  เช่น what, where, when, why, who, how   เป็นต้น
  • Please tell me where to leave my luggage. (กรุณาบอกผมว่าจะฝากกระเป๋าไว้ที่ไหน)
  • This recipe book will teach you how to cook easily. (ตำราอาหารเล่มนี้จะสอนคุณวิธีทำอาหารอย่างง่ายๆ)

ทีนี้.. เราก็รู้แล้วว่า Infinitive with to มีหน้าที่และใช้อย่างไร..?  ต้องพยายามจำให้ได้ และพยายามฝึกใช้ ว่าแต่ละคำควรใช้เมื่อไหร่ ใช้คู่กับอะไร เมื่อเราเกิดความเคยชิน เราก็จะใช้คำเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง








Thursday, 12 September 2019

Infinitive คืออะไร..?



Infinitive คือ คำกริยา (Verb1) รูปปกติในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ที่ไม่ผันไปตามประธาน (Subject) หรือกาล (Tenses) ไม่มีการเติม s, es, ies, ing หรือ ed รวมทั้งไม่เปลี่ยนรูปเป็น V2 หรือ V3 (Irregular) 

ดังนั้น  Infinitive  ก็คือ คำกริยาในรูปปกติ (V1) ที่ไม่มีการเติมเสริมแต่งอะไรใดๆทั้งสิ้น 
Infinitive มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ

1. Infinitive with to คือ คำกริยา (Verb1) ที่จะต้องมี to นำหน้า เช่นto know, to drive, to go ฯลฯ ซี่งไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ กำหนดว่า คำกริยาเหล่านี้จะต้องมี to นำหน้า ตัวอย่างเช่น
  • I want know. (ผมต้องการรู้) ภาษาไทยเข้าใจ แต่ผิดไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
  • I want to know. (ผมต้องการรู้) ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
2. Infinitive without to  คือ คำกริยา (Verb1) ที่ไม่มี to นำหน้า เช่น go, come, play, swim ฯลฯ  ซึ่งไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ กำหนดว่า คำกริยาเหล่านี้จะต้องไม่มี to นำหน้า ตัวอย่างเช่น
  • She can swim.  (ผมว่ายน้ำเป็น)
  • She can to swim.  ผิดหลักไวยากรณ์
ทีนี้.. เรามาดูกันต่อว่า Infinitive with to กับ Infinitive without to มีหลักการใช้ต่างกันอย่างไร..?




Wednesday, 11 September 2019

Verbs เติม ed หรือ ing เป็น Adjective ใช้ต่างกันอย่างไร..?


สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว Verbs เติม ed หรือ ing เป็น Adjective ได้อย่างไร..?   มีคำกริยา Verbs แสดงความรู้สึกกลุ่มหนึ่ง ที่มีความหมายทำให้เกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนำมาเติม ed หรือ ing แล้วจะกลายเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective)

ทีนี้.. เรามาดูคำกริยา Verbs แสดงความรู้สึก ที่เปลี่ยนเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยการเติม ed หรือ ing ว่าใช้ต่างกันอย่างไร..?


คำกริยาแสดงความรู้สึกกลุ่มนี้ ที่สามารถเปลี่ยนเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยการเติม ed หรือ ing นั้น จะมีข้อแตกต่างในการใช้ ดังนี้

1. Adjective ที่มาจากคำกริยาโดยการเติม ed จะมีความหมายไปในทางแสดงความรู้สึก ดังนั้น ประธานจะต้องเป็นสิ่งมีชีวิต ถึงจะแสดงความรู้สึกได้ เช่น
  • I’m satisfied with my business partner. (ผมพอใจกับพันธมิตรทางธุรกิจของผม)
  • Jane’s terrified of losing me. (เจนรู้สึกกลัวมากๆที่จะสูญเสียผมไป)
  • That dog’s very horrified. (สุนัขตัวนั้นรู้สึกหวาดกลัวมากๆ)

2. Adjective ที่มาจากคำกริยาโดยการเติม ing เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึก จะมีคำว่า “ น่า “ นำหน้าคำกริยานั้นๆ เช่น
  • Jane is very touching. (เจนเป็นคนน่าประทับใจมากๆ)
  • This movie was so exciting.  (ภาพยนตร์เรื่องนี้น่าตื่นเต้นมาก)
  • That Pitbull is very terrifying. (พิทบูลตัวนั้นน่ากลัวมากๆ)
ข้อสังเกต ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้ จะทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป เช่น
  • I’m bored. (ผมเบื่อ, ผมรู้สึกเบื่อ)
  • I’m boring. (ผมน่าเบื่อ, ผมเป็นคนน่าเบื่อ)

จะเห็นได้ว่า ความหมายเปลี่ยนไปจาก " ผมรู้สึกเบื่อ " กลายเป็น " ผมเป็นคนน่าเบื่อ "  เพราะฉะนั้น จะต้องระวังเวลานำคำคุณศัพท์ (Adjective) กลุ่มนี้ไปใช้ จะได้ใช้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดความหมาย

หมายเหตุ เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น จึงได้สรุปความแตกต่างระหว่างคำกริยาที่เติม ed และ ing ว่าใช้แตกต่างกันอย่างไร..?









Thursday, 5 September 2019

Verbs เติม ed หรือ ing เป็น Adjective ได้อย่างไร..?



Participles  คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์  โดยการนำคำกริยา (Verbs) มาทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยการเติม ed หรือ ing

มีคำกริยาแสดงความรู้สึกกลุ่มหนึ่ง ที่มีความหมายทำให้เกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนำมาเติม ed หรือ ing แล้วจะกลายเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective)

ทีนี้.. เรามาดูคำกริยาแสดงความรู้สึก ที่สามารถเปลี่ยนเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยการเติม ed หรือ ing ว่ามีอะไรบ้าง..?


คำกริยา Verbs แสดงความรู้สึกกลุ่มนี้ ที่สามารถเปลี่ยนเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยการเติม ed หรือ ing นั้น จะมีข้อแตกต่างในการใช้ 

ทีนี้.. เรามาดูกันว่า จะมีข้อแตกต่างในการใช้อย่างไร..







Tuesday, 3 September 2019

Past participle คือ..?


Past participle คือ คำกริยาช่อง 3 ไม่ว่าจะเป็นคำกริยาเติม ed หรือคำกริยาเปลี่ยนรูป (Irregular verbs)

ทีนี้.. เรามาดูกันว่า Past participle มีหน้าที่และใช้อย่างไร..?

1. ใช้ Past participle ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) มี 2 แบบ คือ

- ใช้ขยายคำนาม โดยวางอยู่หน้าคำนามที่มันขยาย เช่น
  • The escaped prisoner was arrested. (นักโทษหลบหนีถูกจับ)
  • The spoken language is informal language. (ภาษาพูดเป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการ)
  • That dog has the broken leg. (สุนัขตัวนั้นขาหัก)

- ใช้เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยา (Complement of verbs) เพื่อขยายประธานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น  คำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยานี้ มักจะตามหลัง  verb to be เช่น
  • I’m so excited to see you. (ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เจอคุณ)
  • Some students are tired. (นักเรียนบางคนเหนื่อยล้า)
  • She’s interested in you. (เธอสนใจในตัวคุณ)

2. ใช้ Past participle ในโครงสร้าง Perfect Tenses โดยวางไว้หลัง have/has ที่ต้องผันเปลี่ยนไปตามกาล Tenses
  • Paul has studied Thai for 6 months. (พอลเรียนภาษาไทยมา 6 เดือนแล้ว)
  • Our family has been living here since I was born. (ครอบครัวของเราอาศัยอยู่ที่นี่ตั้งแต่ผมเกิด)
  • She will have been in London by next Tuesday. (เธอจะอยู่ในลอนดอนวันอังคารหน้า)
  • The match had started before we arrived.  (การแข่งขันเริ่มขึ้นก่อนที่พวกเรามาถึง)

3. ใช้ Past participle ในโครงสร้าง Passive voice โดยวางไว้หลัง verb to be ซึ่งต้องผันเปลี่ยนตามกาล Tenses เพื่อแสดงให้เห็นว่าประธาน (Subject) เป็นผู้ถูกกระทำ
  • The gifts are given to me on my birthday every year. (ของขวัญถูกมอบให้ผมในวันเกิดของผมทุกๆปี)
  • Their house was built by our company. (บ้านของพวกเขาถูกสร้างโดยบริษัทของเรา)
  • The new contract will be signed soon. (สัญญาใหม่จะได้รับการลงนามเร็วๆนี้)

สรุปได้ว่า Past participle คำกริยาช่อง 3 นี้ ทำหน้าที่ได้ 3 แบบ คือ
  • ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective)
  • ใช้ในโครงสร้าง Perfect Tenses
  • ใช้ในโครงสร้าง Passive voice

เพราะฉะนั้น  Past participle คำกริยาช่อง 3 นี้ ไม่ว่าจะเป็นคำกริยาเติม ed หรือคำกริยาเปลี่ยนรูป (Irregular verbs) เราจะต้องพิจารณาแยกแยะให้ได้ว่า คำๆนั้นทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือใช้ในประโยค Perfect Tenses  หรือใช้ใน Passive voice