Total Pageviews

Sponsored Ads

Friday, 25 January 2019

Direct object กรรมตรง Indirect object กรรมรอง คืออะไร


สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว Functions of Nouns หน้าที่ของคำนาม  ในส่วนที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (Object of a verb) ซึ่งแบ่งออกเป็น Direct object (กรรมตรง) และ Indirect object (กรรมรอง) นั้น ทำหน้าที่อย่างไรบ้าง..?

วันนี้.. เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Direct object กรรมตรง และ Indirect object กรรมรอง นั้น คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร..?


Direct object กรรมตรง หมายถึง คน สัตว์ สิ่งของที่ถูกกระทำโดยตรง เป็นผู้รับการกระทำโดยตรงจากกริยา เช่น
  • Jim repaired his car. (his car คือกรรมตรงของกริยา repaired)
  • Mother punished her son.  (her son คือกรรมตรงของกริยา punished)
  • Paul built a sandcastle on the beach. (sandcastle คือกรรมตรงของกริยา built)

คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง Direct object จะวางอยู่หลังกริยาเสมอ และรับการกระทำโดยตรงจากกริยา และที่สำคัญ เราจะต้องรู้ว่า ใครหรือสิ่งใด ถูกทำอะไร..?


Indirect object กรรมรอง เป็นผู้ถูกกระทำทางอ้อม และมักจะได้รับผลประโยชน์จากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งจากประธาน เช่น
  • John bought his mother a new car. (a new car คือกรรมตรงของกริยา bought ส่วน his mother เป็นกรรมรอง ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากกริยา bought ของประธาน John)
  • Jim gave Jane his laptop. (his laptop คือกรรมตรงของกริยา gave ส่วน Jane เป็นกรรมรอง)
  • Ben told Jack the truth. (the truth คือกรรมตรงของกริยา told ส่วน Jack เป็นกรรมรอง)
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง Indirect object จะวางอยู่ระหว่างคำกริยากับกรรมตรง Direct object  นั่นก็คือ อยู่หลังคำกริยาอยู่หน้ากรรมตรง นั่นเอง

ข้อสังเกต  ในประโยคที่มีกรรมรอง Indirect object จะต้องมีกรรมตรง Direct object เสมอ จะมีแต่กรรมรองอย่างเดียวไม่ได้ และส่วนมากกรรมรอง Indirect object จะเป็นคน กรรมตรง Direct object จะเป็นสิ่งของเสมอ

รูปประโยคอีกแบบของ Indirect object กรรมรอง ซึ่งสามารถตามหลังคำบุพบท Preposition ได้ เช่น
  • John bought a new car for his mother. (his mother เป็นกรรมรอง Indirect object และกรรมของบุพบท for ส่วน a new car เป็นกรรมตรง Direct object)
  • Jim gave his laptop to Jane.
  • Ben told the truth to Jack.

จะเห็นได้ว่า คำนามที่ตามหลัง Preposition คำบุพบท for, to นั้น เป็นทั้งกรรมรอง Indirect object และกรรมของคำบุพบท Object of preposition ในขณะเดียวกัน

ข้อสังเกต  ถ้ากรรมตรง Direct object อยู่หลังคำกริยา จะต้องมีคำบุพบท for, to อยู่หน้ากรรมรอง Indirect object (หรือกรรมของบุพบท Object of preposition)