เนื่องจากคำกริยาวิเศษณ์ Adverbs
นั้น เป็นคำที่นำมาขยายคำหลายประเภท เช่น คำกริยา (Verbs) คำคุณศัพท์ (Adjectives) หรือคำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs)
ทำให้การนำมาวางไว้ในประโยคย่อมแตกต่างกันไป และการวางนั้น
จะต้องขึ้นอยู่กับการเน้นหรือไม่เน้นด้วย คือ ถ้าเน้น
ก็จะต้องนำมาวางไว้หน้าคำที่มันขยาย จึงทำให้ตำแหน่งของกริยาวิเศษณ์ Adverbs
มีหลายตำแหน่ง
ทีนี้.. เรามาดูกันต่อว่า คำกริยาวิเศษณ์ Adverbs นั้น วางไว้ตำแหน่งใดบ้าง..?
1. อยู่หลังคำกริยา (Verbs) ได้แก่ Adverbs of manner, Adverbs of place, Adverbs of time เช่น
- She drives fast. (fast เป็น Adverbs of manner ขยายกริยา drives วางไว้หลัง drives)
- Jane has lived here for many years. (here เป็น Adverbs of place ขยายกริยา lived วางไว้หลัง lived)
- The baby is crying now. (now เป็น Adverbs of time ขยายกริยา crying วางไว้หลัง crying)
2. อยู่หลังกรรม (Object) ได้แก่ Adverbs of manner, Adverbs of place และ Adverbs of time เนื่องจากประโยคนั้น มีกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับ จึงต้องวางกรรม (Object) ไว้หน้าคำที่มาขยาย ซึ่ง Adverbs เหล่านี้ ก็ไม่ได้เน้นอะไรมากนัก จึงต้องวางไว้หลังกรรม Object คำที่มันขยาย ซึ่งเป็นคำที่จำเป็นและสำคัญกว่า เช่น
- She eats fish carefully. (carefully เป็น Adverbs of manner ขยายกริยา eats แต่คำกริยานี้ต้องการกรรมมารองรับเพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจน จึงต้องวางกรรม fish ไว้หน้าคำกริยาวิเศษณ์ carefully)
- He had dinner here. (here เป็น Adverb of place ขยายกริยา had แต่คำกริยานี้ต้องการกรรมมารองรับ เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจน จึงต้องวางกรรม dinner ไว้หน้าคำกริยาวิเศษณ์ here)
- Paul will teach English tomorrow. (tomorrow เป็น Adverbs of time ขยายกริยา teach แต่คำกริยานี้ต้องการกรรมมารองรับ เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจน จึงต้องวางกรรม English ไว้หน้าคำกริยาวิเศษณ์ tomorrow)
3. อยู่หลัง V. to be หรืออยู่หน้าคำกริยา Verbs หรือระหว่างคำกริยา 2 ตัว ได้แก่ Adverbs of frequency และ Adverbs of time เช่น
- She is always late. (always เป็น Adverbs of frequency ขยายคำคุณศัพท์ late เป็นการเน้นย้ำความถี่ จึงต้องวาง Adverb (always) ไว้หน้าคำที่มันขยาย late และหลัง V. to be (is)
- Jane still dislikes Paul. (still เป็น Adverbs of time ขยายกริยา dislikes เป็นการเน้นว่า ยังคงไม่ชอบถึงแม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม จึงต้องวาง still ไว้หน้าคำที่มันขยาย dislikes๗)
- Tim can never understand the problem. (never เป็น Adverb of frequency ขยายกริยาช่วย can (Helping verb)และ understand (Main verb) ซึ่งมีความหมายที่ชัดเจนกว่า จึงต้องวาง Adverbs (never) ไว้หน้า Main verb (understand) แต่เมื่อมีกริยา 2 ตัว จึงต้องวาง Adverbs (never) ไว้หลัง Helping verb (can) อีกทอดหนึ่ง นั่นก็คือวาง Adverbs ไว้ระหว่างกริยา 2 ตัว นั่นเอง)
4. อยู่หน้าคำกริยา ได้แก่ Adverbs of degree เช่น
- I quite agree with you. (quite เป็น Adverbs of degree และเป็นการเน้นในระดับหนึ่ง จึงต้องวางไว้หน้าคำกริยาที่มันขยาย)
- Tom nearly missed the plane. (nearly เป็น Adverbs of degree ขยายกริยา missed และเป็นการเน้นย้ำว่า ยังไม่พลาดเครื่องบิน แต่ก็เกือบ จึงต้องวางไว้หน้าคำกริยาที่มันขยาย)
5. อยู่หลัง V. to be แต่หน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) หรืออยู่หลังคำกริยา (Verb) แต่อยู่หน้าคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ได้แก่ Adverbs of degree เช่น
- Coffee is too cold to drink. (too เป็น Adverbs of degree ขยายคำคุณศัพท์ hot เพื่อบอกระดับความร้อนที่มากในระดับหนึ่ง จนไม่สามารถดื่มได้ เป็นการเน้นย้ำอย่างชัดเจน จึงต้องวาง too ไว้หน้าคำที่มันขยาย hot และหลัง is (V. to be)
- The movie was fairly good. (fairly เป็น Adverbs of degree ขยายคำคุณศัพท์ good เพื่อบอกระดับความดี ว่าพอสมควร พอใช้เป็นการเน้นที่ชัดเจน จึงต้องวาง fairly ไว้หน้าคำที่มันขยาย good และหลัง was (V. to be)
- They played extremely badly. (extremely เป็น Adverbs of degree ขยายคำกริยาวิเศษณ์ badly เพื่อบอกระดับความแย่ ว่าแย่สุดๆ เป็นการเน้นย้ำให้ชัดเจน จึงต้องวาง extremely ไว้หน้าคำที่มันขยาย badly และหลังคำกริยา played
ในกรณีที่มี Adverbs
หลายประเภทในประโยคเดียวกัน มีหลักการเรียงลำดับ ดังนี้>>
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้
เป็นการวางตำแหน่งคำกริยาวิเศษณ์ (Positions of Adverbs) ในตำแหน่งต่างๆ ในประโยค ซี่งเราต้องพยายามจดจำให้ได้
เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง