Total Pageviews

Sponsored Ads

Sunday, 30 June 2019

Prime auxiliary verbs คือ..?


Prime auxiliary verb คือ กริยาช่วยที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาแท้ให้เป็นไปตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. Verb to be  มีดังนี้

หลักการใช้ verb to be ในรูปกริยาช่วย มีดังนี้

1. ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้าง Continuous Tenses เพื่อแสดงให้เห็นว่า กำลังทำเช่น 
  • Robin is listening to CDs. (โรบินกำลังฟังซีดี)
  • Susan was playing the piano at 1 pm. yesterday. (ซูซานกำลังเล่นเปียโนเวลา 13.00 น. เมื่อวาน)
  • We will be leaving for Bangkok in 10 minutes. (เรากำลังจะออกเดินทางไปกรุงเทพในอีก 10 นาที)
  • Is she doing her homework? (เธอกำลังทำการบ้านใช่มั้ย)
  • Mom is not cooking dinner. (แม่ไม่ได้กำลังทำอาหารเย็น)
จะเห็นได้ว่า verb to be กริยาแท้ (Finite verb) ในรูปกริยาช่วย ได้ผันเปลี่ยนไปตามประธาน (Subject) และกาลเวลา (Tenses) 

ส่วนกริยาเติม ing ซึ่งเป็นกริยาไม่แท้ (Non-finite verb) ในรูปกริยาแท้เติม ing ซึ่งเราเรียกว่า Present Participle จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม Tenses หรือประธาน (Subject) จะคงอยู่ในรูปเดิม

2. ใช้ในโครงสร้างประโยค Passive voice  ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ  มีโครงสร้างหลัก ดังนี้  Verb to be+V3  
  • The room is cleaned every day. (ห้องถูกทำความสะอาดทุกวัน)
  • They were sold as pets. (พวกมันถูกขายเป็นสัตว์เลี้ยง)
  • Insects are being eaten by bats. (แมลงกำลังถูกกินโดยค้างคาว)
  • Was John painted the house last week?  (จอนทาสีบ้านอาทิตย์ที่แล้วใช่มั้ย)
  • The restaurant was not renovated in 2018. (ร้านอาหารไม่ได้ถูกปรับปรุงในปี 2018)
โดย verb to be ตามโครงสร้างนี้ จะผันเปลี่ยนไปตามประธาน (Subject) และ Tenses  และจะต้องตามด้วย V3 (Past Participle) หรือกริยาเติม ed

2. Verb to do  มีดังนี้

หลักการใช้ verb to do ในรูปกริยาช่วย

1. ใช้เป็นกริยาช่วย โดยใช้ร่วมกับกริยาหลัก (Main verb) เพื่อสร้างประโยคคำถาม หรือปฎิเสธ  

โครงสร้างประโยคคำถาม
                Do/Does/Did+subject+V1    เช่น
  • Does Jane like spicy food? (เจนชอบอาหารรสเผ็ดมั้ย)
  • Do you know the way to his house? (คุณรู้จักทางไปบ้านเขามั้ย)
  • What do they do? (พวกเขาทำงานอะไร)
  • Did Tim watch the news last night? (ทิมดูข่าวเมื่อคืนหรือเปล่า)
โครงสร้างประโยคปฎิเสธ
                Subject+do/does/did+not+V1     เช่น 
  • I don’t know you. (ผมไม่รู้จักคุณ)
  • Jim doesn’t like sport. (จิมไม่ชอบกีฬา)
  • He didn’t go to school yesterday. (เขาไม่ได้ไปโรงเรียนเมื่อวาน)
หมายเหตุ  Verb1 (Main verb) นี้ จะไม่ผันตามประธาน (Subject) หรือ Tenses ซึ่งจะต้องอยู่ในรูป infinitive เสมอ เพราะในรูปคำถามหรือปฏิเสธนี้ เราผัน do/does/did ตามประธาน Subject หรือ Tenses แล้ว

3. Verb to have มีดังนี้

หลักการใช้ verb to have ในรูปกริยาช่วย คือ ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้าง Perfect Tense  เช่น
  • I’ve got 9 phone calls so far today. (วันนี้จนถึงตอนนี้ผมได้รับโทรศัพท์ 9 สายแล้ว)
  • Jim hasn’t got any brothers or sisters. (จิมไม่มีพี่ชายหรือน้องสาวเลย)
  • Have you got any money? (คุณมีเงินบ้างไหม)
  • If he hadn’t eaten those mushrooms, he wouldn’t have been ill. (ถ้าเขาไม่ได้กินเห็ดพวกนั้น เขาจะไม่ป่วย)
หมายเหตุ  have/has/had ตามโครงสร้าง Perfect Tenses นี้ จะทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยในประโยค ซึ่งไม่ต้องแปลความหมาย และผันไปตามประธาน Subject และ Tenses และจะต้องตามด้วย V3 (Past Participle) หรือกริยาเติม ed ซึ่งทำหน้าที่เป็น กริยาหลัก (Main verb) ของประโยค

จะเห็นได้ว่า Primary auxiliary verbs กริยาช่วยในกลุ่มนี้ ไม่มีความหมายในตัวเอง และไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ จะต้องใช้คู่กับกริยาหลัก (Main verb) เท่านั้น