Total Pageviews

Sponsored Ads

Thursday, 15 August 2019

Present participle คืออะไร..? และมีวิธีใช้อย่างไรบ้าง..?


Present participle ก็คือ กริยาเติม ing (v-ing)  คำว่า Present participle ไม่ได้หมายความว่า ปัจจุบัน “ เป็นแต่เพียงชื่อเรียกคำกริยาเติม ing (v-ing) เท่านั้น

ทีนี้.. เรามาดูกันว่า Present participle มีหน้าที่และใช้กันอย่างไร..?

1. ใช้ Present participle ในประโยค Continuous tenses ทั้งในอดีต (Past) ปัจจุบัน (Present) ซึ่งจะต้องตามหลัง verb to be และมีความหมายว่ากริยานั้นกำลังดำเนินอยู่ เช่น
  • She is reading a book in library right now.  (เธอกำลังอ่านหนังสือในห้องสมุดตอนนี้)
  • They were watching the movie at 4 pm. yesterday. (เมื่อวานตอน 16.00 น. พวกเขากำลังดูหนัง)
  • I have been studying English for 5 years. (ผมเรียนภาษาอังกฤษมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว)

2. ใช้ Present participle ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์ (Adjective) มีการใช้ 2 แบบ คือ

- ใช้ขยายคำนาม โดยวางอยู่หน้าคำนามที่มันขยาย เช่น
  • Pim solved the puzzling mystery. (พิมไขเงื่อนงำปริศนาได้)
  • I’ve never watched such a boring film. (ผมไม่เคยดูหนังที่น่าเบื่อเช่นนี้มาก่อน)
  • It’s a really exciting novel. (มันเป็นนินายที่น่าตื่นเต้นจริงๆ)

- ใช้เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยา (Complement of a verb) เพื่อขยายประธานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น  คำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยานี้ มักจะตามหลัง  verb to be เช่น
  • These instructions are very confusing. (คำแนะนำเหล่านี้สับสนมาก)
  • This all must be very overwhelming. (เรื่องทั้งหมดนี้มันเกินกว่าจะรับไหว)
  • My new job is very boring. (งานใหม่ของฉันมาน่าเบื่อหน่ายจริงๆ)

3. ใช้ Present participle ตามหลังคำกริยาแสดงการรับรู้ เช่น see, hear, feel, smell, watch, like, want, get ฯลฯ  ในโครงสร้าง Subject+v+object+present participle ซี่งมีความหมายว่า กริยาหรือการกระทำนั้นกำลังดำเนินอยู่ เช่น
  • I heard my mother singing in the kitchen. (ฉันได้ยินแม่ของฉันกำลังร้องเพลงในครัว)
  • I saw Jim playing piano.  (ผมเห็นจิมกำลังเล่นเปียโน)
  • He kept me waiting so long. (เขาทำให้ฉันรอนานมาก)
จะเห็นได้ว่า Present participle ในประโยคข้างบน ทำหน้าที่คล้าย Adjective คือขยายคำนามหรือสรรพนามที่เป็นกรรมของประโยค

4. ใช้ Present participle ทำหน้าที่คล้าย Adjective clause กล่าวคือ เป็นประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือน Adjective เพื่อขยายคำนามหรือสรรพนามของประโยคหลัก ซึ่งจะช่วยลดรูปของ Adjective clause เช่น
  • The girl singing on the stage is my sister. (ผู้หญิงที่กำลังร้องเพลงบนเวทีเป็นน้องสาวของฉัน) 
ซึ่งมาจากประโยคเต็ม คือ The girl who is singing on the stage is my sister.
* who is singing on the stage คือ Adjective clause ที่ขยาย The girl * ย่อเป็น " singing on the stage "

  • The man talking to my dad is my teacher. (ผู้ชายที่กำลังคุยอยู่กับพ่อคือครูของผม)
ประโยคเต็ม คือ The man who is talking to my dad is my teacher.
* who is talking to my dad คือ Adjective clause ที่ขยาย The man * ย่อเป็น " talking to my dad "

สรุปได้ว่า คำกริยาเติม ing (V-ing) นี้ ทำหน้าที่ได้ 3 แบบ คือ

เพราะฉะนั้น กริยาเติม ing  นี้ เราจะต้องพิจารณาแยกแยะให้ได้ว่า คำๆนั้นเป็น Present participle ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือใช้ในประโยค Continuous Tenses  หรือเป็น Gerunds ทำหน้าที่เป็นอาการนาม




Wednesday, 14 August 2019

Participles คืออะไร..? และใช้อย่างไร..?


Participles คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือที่เรียกว่า “ คุณกริยา “ มี 2 ประเภท คือ


ทีนี้.. เรามาดูหน้าที่และหลักการใช้ Participle 

1. ใช้ Present participle กริยาเติม ing ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ เช่น
  • This movie is very interesting. (ภาพยนต์เรื่องนี้น่าสนใจมาก)
  • She is so boring. (เธอเป็นคนน่าเบื่อมาก)
  • This is an exciting book. (นี่เป็นหนังสือที่น่าตื่นเต้น)
เราใช้ Present participle กริยาเติม ing เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึก ซึ่งจะมีคำว่า น่า “ นำหน้าคำกริยานั้นๆ

2. ใช้ Past participle กริยาเติม ed หรือคำกริยาช่อง 3 ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ เช่น
  • I’m bored.  (ฉันเบื่อ)
  • They were tired. (พวกเขาเหนื่อย)
  • She is excited. (เธอรู้สึกตื่นเต้น)
เราใช้ Past participle กริยาเติม ed หรือกริยาช่อง 3 เพื่อบรรยายถึงความรู้สึกของคน





Tuesday, 13 August 2019

Gerunds คืออะไร..? มีวิธีการใช้อย่างไรบ้าง..?


Gerunds คือ คำกริยา (verb) เติม ing (v-ing) เป็นกริยาไม่แท้ ทำหน้าที่เป็นคำนาม เรียกว่า อาการนาม หรือ กริยานาม (verbal noun) เป็นคำนามที่แสดงออกถึงกริยาอาการกระทำ

ทีนี้.. เรามาดูหน้าที่ของ Gerund กันว่า มีอะไรบ้าง..?

1. ทำหน้าที่เป็นประธาน (Subject) ของประโยค
  • Singing at the concert excited Sarah. (การร้องเพลงที่คอนเสิร์ตทำให้ซาร่าตื่นเต้น)
  • Watching sport games does not burn calories.  (การดูเกมส์กีฬาไม่ได้เผาพลาญแคลอรี่)
  • Running is good exercise. (การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ดี)

2. ทำหน้าที่เป็นกรรม (Object) ของประโยค แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

- เป็นกรรมของกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับ (Transitive verbs)
  • Jane loves acting. (เจนรักการแสดง)
  • I enjoy cooking with my mom. (ฉันสนุกกับการทำอาหารกับแม่)
  • Mark likes playing on the team. (มาร์คชอบการเล่นเป็นทีม)
คำกริยา (Transitive verbs) ที่ต้องตามด้วย Gerund เช่น


- เป็นกรรมของบุพบท (Prepositions)
  • She is good at cooking. (เธอทำอาหารเก่ง)
  • I’ve ever read a book about riding a horse. (ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับการขี่ม้า)
  • We arrived in Bangkok after driving all night. (เรามาถึงกรุงเทพฯหลังจากขับรถทั้งคืน)
ตามกฎแล้ว คำบุพบทจะต้องตามด้วยคำนาม (Nouns) แต่ถ้าตามด้วยคำกริยา จะต้องเป็นอาการนาม Gerund คำกริยาที่เติม ing 

3. เป็นส่วนเติมเติม (Complement) ของประโยค จะตามหลัง verb to be เช่น
  • The group's main goal is eliminating poverty. (เป้าหมายหลักของกลุ่มคือขจัดความยากจน)
  • His job is driving a taxi.  (งานของเขาคือขับรถแท็กซี่)
  • What I love most is traveling around the world. (สิ่งที่ฉันชอบมากที่สุดคือการเดินทางรอบโลก)

นอกจากนี้ เรายังใช้ Gerund ตามหลังคำคุณศัพท์ (Adjective)กับคำบุพบท (Preposition) บางคำ เช่น afraid of (กลัว), fond of (ชอบ), proud of (ภูมิใจ), interested in (สนใจ) ฯลฯ
  • I’m afraid of losing you. (ผมกลัวการสูญเสียคุณ)
  • She’s proud of being a nurse. (เธอภูมิใจในการเป็นพยาบาล)
  • They’re fond of going to parties. (พวกเขาชอบไปงานปาร์ตี้)
  • Jack’s interested in writing poems. (แจคสนใจในการเขียนบทกวี)
ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็เป็นหน้าที่หลักๆของ Gerund ว่ามีวิธีการใช้อย่างไรบ้าง 

ข้อสังเกต Gerund กริยาเติม ing ที่เป็นอาการนามนี้ จะมีรูปร่างเหมือนกับ Present participle กริยาเติม ing ใน Continuous Tenses ซึ่งเราจะต้องพิจารณาแยกแยะให้ได้ว่า คำๆนั้นเป็น Gerund หรือ Present  participle








Monday, 12 August 2019

Linking verbs คือ..? มีอะไรบ้าง..?


Linking verbs คือ กริยาเชื่อม ที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างประธาน (Subject) กับคำนาม (Nouns) หรือคำคุณศัพท์ (Adjective) เพื่อขยายประธาน เป็นการบ่งบอกสภาวะหรือสภาพของประธาน โดยแสดงอาการ การรับรู้ หรือความรู้สึกของประธานในประโยค 

ทีนี้.. เรามาดูกันว่าคำกริยาในกลุ่ม Linking verbs ที่พบเห็นและใช้กันบ่อยๆ  มีอะไรบ้าง..?
คำกริยาในกลุ่ม Linking verbs นี้ ถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นคำกริยา แต่กลับไม่แสดง อาการกระทำ เหมือนคำกริยาอื่นๆทั่วไป แต่จะทำหน้าที่เป็น ตัวเชื่อม เพื่ออธิบายหรือบอกเกี่ยวกับประธาน ว่ามีสภาพหรือความรู้สึกอย่างไร..?

กริยาในกลุ่ม Linking verbs นี้ ไม่ต้องการกรรมมารองรับ แต่ต้องการคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือคำนาม (Nouns) ที่เป็นส่วนเติมเต็ม (Complement) มาช่วยขยายให้ประโยคนั้นสมบูรณ์และมีความหมายชัดเจนขึ้น..

Linking verbs คำกริยาที่มีหน้าที่เชื่อมคำนาม (Nouns) หรือคำคุณศัพท์ (Adjective) อย่างเดียว ไม่สามารถแสดงอาการกระทำเหมือนคำกริยาอื่นๆ คือ

Verb to be, become, seem เป็น, อยู่, คือ, กลายเป็น, ดูเหมือนว่า
  • Paul is a university president. (ทอมเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย)
  • Sarah was at the theater last night. (ซาร่าห์อยู่ที่โรงละครเมื่อคืนนี้)
  • Is she very smart. (เธอฉลาดมากใช่มั้ย)
  • Tom became an outstanding student. (ทอมกลายเป็นนักเรียนดีเด่น)
  • She doesn’t seem happy. (เธอดูเหมือนไม่มีความสุข)
คำกริยาเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็น Linking verbs ได้อย่างเดียว โดยไม่สามารถแสดงอาการกระทำเหมือนคำกริยาอื่นๆ

ส่วนคำกริยาอื่นๆ ในกลุ่ม Linking verbs อาจจะเป็นทั้งกริยาที่แสดงอาการกระทำ หรือเป็นตัวเชื่อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประโยคที่เราใช้พูด  เช่น

look /appear  ดูเหมือนว่า, ดูเหมือน
  • The flower looks wilted. (ดอกไม้ดูร่วงโรย)
  • He appears awkward. (เขาดูเหมือนอึดอัด)
stay, remain  ยังคง, ยังคงเป็น
  • She remains calm. (เธอยังคงสงบ)
  • Everyone stays surprised. (ทุกคนยังคงประหลาดใจ)
turn, get, grow, feel  เริ่ม, กลายเป็น, รู้สึก
  • The dead body turned pale white. (ศพที่ตายแล้วกลายเป็นสีขาวซีด)
  • They got grumpy. (พวกเขาอารมณ์เสีย)
  • She grew tired. (เธอเริ่มรู้สึกเหนื่อย)
  • I feel terrible today.  (วันนี้ฉันรู้สึกแย่มาก)
taste, smell  มีรสชาติ, มีกลิ่น
  • This mango cheese cake tastes awesome. (มะม่วงชีสเค้กนี้รสชาติเยี่ยม)
  • Those eggs smell rotten. (ไข่พวกนั้นส่งกลิ่นเน่าเสีย)
sound ฟังดูเหมือนว่า
  • Jane sounded very sick. (เจนดูเหมือนว่าไม่สบายมาก)
  • His idea sounds good. (ความคิดของเขาฟังดูดี)
ตามตัวอย่าง คำกริยาทั้งหมดจะทำหน้าที่เป็น Linking verbs ทำหน้าที่เชื่อมประธานกับคำนามและคำคุณศัพท์ เพื่อขยายว่าประธานมีความรู้สึก หรือมีสภาพเป็นอย่างไร

เราสามารถตรวจสอบคำกริยาเหล่านี้ โดยนำ verb to be มาแทนที่ในประโยค  ถ้าความหมายไม่เปลี่ยนแปลง คำกริยานั้น ก็ทำหน้าที่ Linking verbs เป็นตัวเชื่อม ไม่ใช่ตัวแสดงอาการกระทำ
  • The flower is wilted. (ดอกไม้ร่วงโรย)
  • He is awkward. (เขาอึดอัด)
  • She is calm.  (เธอสงบ)
  • Everyone is surprised. (ทุกคนประหลาดใจ)
  • The dead body was pale white. (ศพที่ตายแล้วเป็นสีขาวซีด)
  • They were grumpy.  (พวกเขาอารมณ์เสีย)
  • She was tired. (เธอเหนื่อย)
  • I’m terrible today. (วันนี้ฉันแย่มาก)
  • The mango cheese cake is awesome. (มะม่วงชีสเค้กยอดเยี่ยม)
  • Those eggs are rotten. (ไข่พวกนั้นเน่าเสีย)
  • His idea is good. (ความคิดของเขาเป็นความคิดที่ดี)
Linking verbs ที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยาแสดงอาการกระทำ  เช่น
  • I smell the flower. (ฉัมดมดอกไม้) แสดงอาการดม
  • You can taste my cheese cake. (คุณชิมชีสเค้กของฉันได้) แสดงอาการชิม
  • She got money. (เธอได้รับเงิน) แสดงอาการได้รับ
  • We turned left at the traffic light. (เราเลี้ยวซ้ายที่สัญญาณไฟจราจร) แสดงอาการเลี้ยว
  • The kid is looking at the airplane. (เด็กกำลังมองดูเครื่องบิน) แสดงอาการกำลังมองดู
เพราะฉะนั้น เราต้องแยกให้ได้ว่า Linking verbs ตัวนั้น ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม หรือทำหน้าที่เป็นกริยาแสดงอาการกระทำ